ไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ในปี 2565 ตามการคาดการณ์ของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช. หรือสภาพัฒน์ฯ) ขณะเดียวกันผู้สูงอายุในไทยมีลักษณะ ‘แก่ก่อนรวย’ ด้วยสภาพสังคมที่แทบไม่ได้มีสวัสดิการใด ๆ รองรับ มีเพียงสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลผ่านระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกอบกับสภาพสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูงทำให้ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก ต้องทำงานตลอดชีวิตด้วยค่าแรงขั้นต่ำ เงินเก็บออมที่มีต้องเก็บไว้ใช้จ่ายยามเกษียณ และต้องพึ่งพิงค่าใช้จ่ายจากสวัสดิการของรัฐ อย่างเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยคนพิการ หรือเงินสงเคราะห์อื่น ๆ จากรัฐมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม อัตราเบี้ยยังชีพในปัจจุบันจ่ายให้กับผู้สูงอายุ 600 – 1,000 บาทต่อเดือนเท่านั้น ซึ่งแทบจะไม่พอใช้จ่าย โดยเงินดังกล่าวให้กับผู้สูงอายุทุกคนที่อายุ 60 ปีขึ้นไป ยกเว้นคนที่ได้รับบำนาญจากรัฐ ทั้งนี้ ไทยจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี 2536 ให้เฉพาะผู้สูงอายุที่ยากจน ถูกทอดทิ้ง จนเปลี่ยนมาจ่ายเบี้ยยังชีพแบบถ้วนหน้าในปี 2552
จากรายงานสถานการณ์ความยากจนและการกระจายรายได้ของสภาพัฒน์ฯ ยังพบว่า การเปลี่ยนระบบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จากเดิมที่ให้เฉพาะคนยากไร้มาเป็นให้แบบถ้วนหน้าช่วยลดจำนวนผู้สูงอายุที่ยากจนลงถึง 700,000 คน หรือร้อยละ 29 ภายใน 3 ปี (ปี 2551 – 2554)
ขณะเดียวกันสภาผู้บริโภคจึงเห็นว่าการผลักดันให้เกิดบำนาญถ้วนหน้าเป็นสิ่งที่รัฐต้องทำให้เกิดขึ้นให้ได้ เพราะหากทำให้ถ้วนหน้า ทุกคนจะได้รับเงินทั้งหมด ลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างแท้จริง และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนทุกคน
ในการเลือกตั้ง 2566 ที่จะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคมนี้ นักการเมืองและพรรคการเมืองหลายพรรคได้ออกนโยบายเกี่ยวกับเรื่องการสนับสนุนผู้สูงอายุและการจัดการกับปัญหาบำนาญถ้วนหน้า รวมถึงการพัฒนาสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งสภาผู้บริโภค ได้รวบรวมนโยบายของ 12 พรรคการเมืองในเรื่อง ‘บำนาญถ้วนหน้า’ เพื่อให้ผู้บริโภคมีข้อมูลในการตัดสินใจเลือกพรรคที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค
ตามไปดู ตามไปอ่าน นโยบายของพรรคการเมืองด้วยกันว่าแต่ละพรรคจะมีนโยบายบำนาญถ้วนหน้าอย่างไรบ้าง…
นโยบายของพรรคใดตอบโจทย์ โดนใจผู้บริโภคมากที่สุด วันอาทิตย์ ที่ 7 พฤษภาคม 2566 (วันเลือกตั้งล่วงหน้า) และวันอาทิตย์ ที่ 14 พฤษภาคม 2566 นี้ ! สภาผู้บริโภคสนับสนุนชาวไทยทุกคนออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งนักการเมืองที่คุ้มครองผู้บริโภคด้วยกัน
*ทั้งนี้ นโยบายข้างต้นเป็นข้อมูลจากการรวบรวมของสภาผู้บริโภคเท่าที่สำรวจได้ ณ วันที่ 11 เม.ย. 66 หากมีข้อมูลผิดพลาดหรือต้องการให้เพิ่มเติมนโยบายของพรรคใดเพิ่มเติม สามารถแจ้งมาที่สภาผู้บริโภค