รายงานวิจัย “เปรียบเทียบดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตระหว่างไทยและต่างประเทศ”

โครงการวิจัยเปรียบเทียบดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตระหว่างไทยและต่างประเทศมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ ประการแรก ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลการกาหนดอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมของบัตรเครดิต รวมถึงวิเคราะห์และเปรียบเทียบแนวทางการกากับดูแลการคิดอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตของไทยและต่างประเทศ (ประเทศมาเลเซีย จีน เกาหลีใต้ เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา) และประการสอง เพื่อเสนอแนะแนวทางการกำหนดอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตที่เหมาะสมกับประเทศไทย

รายงานฉบับนี้เป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ ที่ได้รวบรวมข้อมูลธุรกิจบัตรเครดิตในช่วงปี พ.ศ. 2561 – 2565 โดยครอบคลุมกลุ่มธุรกิจธนาคาร (Bank) และธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-bank) แหล่งข้อมูลสาคัญ คือ งบการเงินที่ได้รวบรวมมาจากธนาคารกลาง World Bank, Bloomberg, Orbis, Business Online (BOL) และฐานข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) อย่างไรก็ตามคณะผู้วิจัยมีข้อจำกัด 2 ประการ คือ การวิเคราะห์ครั้งนี้ ไม่ได้ใช้ผู้เล่นในธุรกิจบัตรเครดิตทั้งหมดในตลาด และงบการเงินเป็นการใช้งบรวม หมายความว่าไม่สามารถแยกรายการสินเชื่อ/รายได้/ต้นทุน ของบัตรเครดิตออกจากสินเชื่อ/รายได้/ต้นทุนรวม แต่ทั้งนี้การวิเคราะห์ได้เลือกกลุ่มตัวอย่างที่สะท้อนผู้เล่นหลักในตลาดนี้ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-bank) เพราะกลุ่มนี้จะมุ่งทาธุรกิจสินเชื่ออุปโภค บริโภค และมีธุรกิจบัตรเครดิตเป็นองค์ประกอบสาคัญ นอกจากนี้แล้วคณะผู้วิจัยได้ใช้ข้อมูลจากประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย งานวิจัยที่ผ่านมา และการทาอภิปรายสนทนากลุ่ม ประกอบการวิเคราะห์ในงานครั้งนี้

ผลการศึกษาโครงสร้างตลาดธุรกิจบัตรเครดิตในประเทศไทยและต่างประเทศ เป็นการพิจารณาจำนวนผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต การตั้งราคา จำนวนบัญชีบัตรเครดิต (ปริมาณการใช้จ่ายต่อบัญชี) และยอดคงค้างหนี้บัตรเครดิต พบว่า ประเทศไทยมีจานวนผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตแบ่งเป็นธนาคาร14 ราย และ ไม่ใช่ธนาคาร 9 ราย เมื่อพิจารณาตามจานวนบัญชีบัตรเครดิตของผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นธนาคารและไม่เป็นธนาคารพบว่ามีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 38 และ 62 ตามลำดับ โดยมีผู้นำตลาด 5 อันดับสำคัญตามลำดับ คือ ธนาคารกสิกรไทย บริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จากัด บริษัท คาร์ด เอกซ์ จากัด (แยกธุรกิจบัตรเครดิตออกมาจากธนาคารไทยพาณิชย์) ธนาคารกรุงเทพ และบริษัท บัตรกรุงไทย จากัด (มหาชน) ขณะที่ประเทศมาเลเซีย จีน เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นธุรกิจธนาคาร (Bank) ตรงกันข้ามกับประเทศเกาหลีใต้ที่มีธุรกิจบัตรเครดิตอยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-bank) เป็นสำคัญ

เพื่อให้เกิดความคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเหมาะสมเป็นธรรม คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกากับดูแลธุรกิจบัตรเครดิต 4 ประการได้แก่ ประการแรก เสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยกาหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตกาหนดอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมตามความเสี่ยง (Risk-based Pricing) โดยใช้ข้อมูลคะแนนเครดิต ควบคู่กับการกำกับเพดานอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต ประการที่สอง เสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกแนวทางให้ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตเปิดเผยข้อมูลต้นทุนในการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต โดยเฉพาะในส่วนต้นทุนการดำเนินงานซึ่งเป็นต้นทุนที่ค่อนข้างมีสัดส่วนสูงเมื่อเทียบกับต้นทุนประเภทอื่น เพื่อให้เกิดการกำหนดอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม ประการที่สาม การกำหนดวงเงินบัตรเครดิตรวม ในปัจจุบันมีผู้ใช้บัตรเครดิตที่มีวงเงินจากบัตรเครดิตหลายใบรวมกันมากกว่ารายได้เฉลี่ยต่อเดือนเป็นจำนวนมากซึ่งอาจทำให้เกิดหนี้บัตรเครดิตมากเกินไป

คณะผู้วิจัยเสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดวงเงินรวมของผู้ถือบัตรแต่ละรายไว้ในจานวนที่เหมาะสม รวมถึงเสนอให้ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตแบ่งปันข้อมูลวงเงินบัตรเครดิตของผู้ถือบัตรที่มีกับตนเองแก่ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น และประการสุดท้าย การเปลี่ยนประเภทหนี้จาก สินเชื่อหมุนเวียน (Revolving loan) เป็นสินเชื่อที่มีอายุการผ่อนชาระแน่นอน (Term loan) เพื่อแก้ปัญหาลูกหนี้บัตรเครดิตที่เป็นลูกหนี้เรื้อรัง คณะผู้วิจัยเสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการกาหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตต้องนำเสนอเปลี่ยนหนี้บัตรเครดิตที่มีลักษณะ Revolving loan ไปเป็น Term loan ในกลุ่มลูกหนี้ที่มีการผ่อนดอกเบี้ยแต่เงินต้นลดไม่มาก ทำให้มีระยะเวลาการผ่อนยาวนาน