วิกฤตภัยการเงินออนไลน์ กับการคุ้มครองผู้บริโภค

สภาผู้บริโภค ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคที่ประสบปัญหาจากภัยออนไลน์ รวมทั้งสิ้น 1,244 เรื่อง โดยแยกเป็นเรื่องภัยทุจริตจากการทำธุรกรรมทางการเงิน จำนวน 421 เรื่อง (ข้อมูลเรื่องร้องเรียนของสภาผู้บริโภค ตั้งแต่วันที่1 ตุลาคม 2566 – 30 เมษายน 2567) สิ่งที่สภาผู้บริโภคทำหลังจากได้รับเรื่องร้องเรียน ได้ดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง และได้มีการทำหนังสือแจ้งเรื่องไปยังสถาบันการเงินเพื่อให้พิจารณาแก้ไขปัญหาหรือเยียวยาความเสียหายให้กับผู้บริโภค แต่ผลตอบรับที่ได้กลับคือ การปฏิเสธรายการค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต และมีผลตอบรับในทางปฏิเสธการชดเชยเยียวความเสียหายให้กับผู้บริโภค

จากข้อร้องเรียนของผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และถูกสถาบันการเงินปฏิเสธการเยียวความเสียหาย ทำให้สภาผู้บริโภคต้องดำเนินการช่วยเหลือผู้เสียหายด้วยการฟ้องคดีให้กับผู้บริโภค รวมจำนวนทั้งสิ้น 14 คดี มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 5.6 ล้านบาท สรุปได้ดังนี้

ฟ้องธนาคารไทยพาณิชย์ จำนวน 3 คดี ฟ้องธนาคารกรุงไทย จำนวน 2 คดี ฟ้องธนาคารกรุงเทพ จำนวน 2 คดี ฟ้องธนาคารกสิกรไทย จำนวน 2 คดี ฟ้องธนาคารทหารไทยธนชาต จำนวน 1 คดี ฟ้องธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำนวน 1 คดี ฟ้องธนาคารกรุงศรี จำนวน 1 คดี และช่วยเหลือผู้บริโภค ที่ถูกฟ้องจากบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 2 คดี

จากปัญหาที่สภาผู้บริโภคได้รับ จึงนำมาสู่ข้อเสนอแนะสกัดภัยการเงินออนไลน์
1. ธนาคารผู้รับฝากเงินคืนเงินฝากให้แก่ผู้เสียหายทันทีตามกฎหมาย เมื่อได้รับแจ้งว่าเงินหายจากบัญชีจากภัยการเงินออนไลน์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคตามสัญญาฝากเงิน
2. กรณีที่ธนาคารจ่ายคืนเงินฝากให้แก่ผู้เสียหายล่าช้า จะต้องจ่ายดอกเบี้ย 5% ของต้นเงินที่คืนล่าช้า นับแต่วันที่ไม่สามารถถอนเงินออกมาให้แก่ผู้เสียหายได้
3. สายด่วน 1441 ต้องประสานธนาคารระงับธุรกรรมทางการเงินแทนผู้เสียหายทันทีเมื่อได้รับแจ้งความ โดยไม่ต้องให้ผู้เสียหายแจ้งธนาคารอีกครั้ง

#ผู้บริโภค #สภาผู้บริโภค #สภาองค์กรของผู้บริโภค