เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ความเสียหายต่อบ้าน อาคาร หรือสำนักงาน หากมีประกันภัยที่ครอบคลุม สามารถยื่นเคลมเพื่อขอค่าชดเชยได้ แนะเช็กกรมธรรม์ เก็บหลักฐานให้ครบถ้วน

วิธีเคลมประกันแผ่นดินไหว
1. ตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัย
- ตรวจสอบกรมธรรม์ ครอบคลุมความเสียหายจากเหตุภัยพิบัติอะไรบ้าง
- ดูเงื่อนไข วงเงินคุ้มครอง และข้อยกเว้น
2. แจ้งเหตุให้บริษัทประกันภัย ตามช่องทางของบริษัท
- ระบุ วันที่ เวลา สถานที่
- อธิบาย ลักษณะความเสียหาย
3. เก็บหลักฐานความเสียหาย
- ถ่ายภาพ – วิดีโอ
- ทำรายการทรัพย์สินเสียหาย แนบใบเสร็จหรือหลักฐานการซื้อ (ถ้ามี)
4. ยื่นคำร้องขอเคลมประกัน
5. ให้บริษัทประกันภัยตรวจสอบ
6. รอการพิจารณาและรับเงินเคลม
พบปัญหาหรือถูกปฏิเสธเคลมประกัน
ร้องเรียนที่ สายด่วน คปภ. 1186 หรือ สายด่วนสภาผู้บริโภค 1502
กรมธรรม์ที่เกี่ยวข้อง กับการเคลมประกันภัยสำหรับแต่ละประเภททรัพย์สิน
บ้านเดี่ยว
กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย หรือกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทุกชนิด (All Risks) ที่ซื้อความคุ้มครองแผ่นดินไหวเพิ่มเติม หรือกรมธรรม์ที่มีความคุ้มครองภัยพิบัติ
คอนโดมิเนียม
- ห้องชุดส่วนตัว: ประกันอัคคีภัยหรือประกันภัยสำหรับห้องชุดที่มีคุ้มครองภัยแผ่นดินไหว
- พื้นที่ส่วนกลาง: ประกันภัยอาคารชุด (Industrial All Risks – IAR)
สำหรับการเคลมประกัน “คอนโดมิเนียม” จะแยกส่วนตัว-ส่วนกลาง โดย ห้องชุดส่วนตัว (ความเสียหายภายในห้อง) ให้เจ้าของห้องชุด เป็นผู้เคลมกับบริษัทประกันที่ตนเองซื้อไว้โดยตรง
พื้นที่ส่วนกลาง (โครงสร้างอาคาร, โถงทางเดิน, ลิฟต์, สระว่ายน้ำ ฯลฯ): นิติบุคคลอาคารชุด เป็นผู้ดำเนินการเคลมกับบริษัทประกันที่ทำประกันอาคารส่วนกลาง (IAR) ไว้ เจ้าของห้องต้องแจ้งความเสียหายส่วนกลางให้นิติบุคคลทราบทันที
รถยนต์
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1, 2+ หรือ 3+ ที่ซื้อความคุ้มครองภัยธรรมชาติเพิ่มเติม
ทรัพย์สินส่วนตัว (ภายในบ้านหรือคอนโดมิเนียม)
กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยหรือกรมธรรม์สำหรับห้องชุดที่ซื้อความคุ้มครองภัยแผ่นดินไหวเพิ่มเติม
สำหรับผู้ที่ไม่มีประกันภัย
สำหรับผู้ที่ไม่ได้ซื้อประกันภัยแผ่นดินไหว สามารถขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐ
- กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สายด่วน 1784 ช่วยเหลือด้านที่พัก อาหาร น้ำดื่มเบื้องต้น
- กรุงเทพมหานคร (กทม.) สนับสนุนที่พักชั่วคราว การดูแลรักษาพยาบาล และวัสดุสำหรับซ่อมแซมบ้าน
- กระทรวงแรงงาน สายด่วน 1506 ช่วยเหลือลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ
ข้อมูลอ้างอิง