โครงการศึกษาแนวคิดและผลกระทบ นโยบายคาร์บอนเครดิต เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติแนวคิด นโยบายคาร์บอนเครดิตในระดับสากลและประเทศไทย 2) ศึกษาข้อถกเถียงและข้อมูลเรื่องคาร์บอนเครดิตต่อการบรรลุเป้าหมายลดปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ 3) ศึกษาคาดการณ์ผลทางเศรษฐกิจ สังคม และนิเวศของประเทศไทยจากนโยบายคาร์บอนเครดิต และ 4) ศึกษาความเป็นไปได้ของทางเลือกเชิงนโยบายที่อาจเหมาะสมว่าการซื้อขายคาร์บอนเครดิต
การศึกษานี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2566 และกาหนดสิ้นสุดวันที่ 4 มิถุนายน 2567 รวมระยะเวลา 270 วัน วิธีการศึกษาเน้นการศึกษาจากข้อมูลเอกสาร ข้อมูลออนไลน์ และการสังเกตการณ์หรือการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวกับคาร์บอนเครดิต
ผลการศึกษามีดังนี้
- ประวัติแนวคิด นโยบายคาร์บอนเครดิตในระดับสากลและประเทศไทย
- ข้อถกเถียงและข้อมูลคาร์บอนเครดิตต่อการบรรลุเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก
- คาดการณ์ผลทางเศรษฐกิจ สังคม และนิเวศของประเทศไทยจากนโยบายคาร์บอนเครดิตและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- ศึกษาความเป็นไปได้ของทางเลือกเชิงนโยบายที่อาจเหมาะสมว่าการซื้อขายคาร์บอนเครดิต
ข้อเสนอแนะต่อสภาองค์กรของผู้บริโภค
ด้วยความที่ระบบเศรษฐกิจการค้าของโลกกำลังผลักดันให้ภาคเอกชนมุ่งจะแสดงความรับผิดชอบลดคาร์บอนในสินค้าและบริการต่าง ๆ ของตน ทาให้สินค้าและบริการต่าง ๆ จะดึงผู้บริโภคให้เข้าสู่ตลาดคาร์บอน การซื้อขายคาร์บอนเครดิตไม่ได้มีข้อมูลรอบด้านให้ผู้บริโภคเห็นว่า ห่วงโซ่ของคาร์บอนเครดิตจะทาให้กลุ่มอุตสาหกรรมปล่อยคาร์บอนรายใหญ่ที่เป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการได้มีความรับผิดชอบลดการปล่อยคาร์บอนของตนเองอย่างเต็มที่หรือไม่ สภาเพื่อผู้บริโภคจึงควรผลักดันให้ภาครัฐและภาคเอกชนต้องให้ข้อมูลรอบด้าน ทั้งระบบแก่ผู้บริโภคว่าจะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการไหนที่รับผิดชอบต่อการลดปล่อยคาร์บอนอย่างแท้จริง
บทสรุป
ทั่วโลกเริ่มตระหนักปัญหาของคาร์บอนเครดิตที่ถูกนาเสนอด้านบวกแต่ขาดข้อมูลด้านผลกระทบ สหประชาชาติจึงให้ความสาคัญต่อปัญหาดังกล่าว ทั้งการออกข้อเสนอแนะที่จะลดการฟอกเขียวด้วยการให้กลุ่มทุนลดปล่อยคาร์บอนในห่วงโซ่การผลิตตนเองให้ได้ก่อน หรือการพยายามแสวงหาแนวทางลดคาร์บอนที่ไม่ใช่กลไกตลาด แต่ภาคประชาชนหลายกลุ่มเห็นว่า การพยายามปรับแก้ระบบตลาดคาร์บอนจะไม่ประสบความสาเร็จ และยังอยู่ในวังวนของการฟอกเขียวต่อไป ทางออกคือการเลิกระบบตลาดคาร์บอน และผลักดันให้กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานและอื่น ๆ ลดเลิกการใช้พลังงานฟอสซิลโดยทันที และไม่มีการเอาการลดเหล่านี้มาสร้างแรงจูงใจที่จะกลับมาเสริมการใช้ฟอสซิลและทาลายนิเวศอีกต่อไป