เปิดลิสต์ 3 ข้อที่ผู้บริโภคต้องรู้ก่อนซื้อประกันสุขภาพ ต้องเช็กข้อมูลให้ชัวร์ รู้จักระยะเวลารอคอย และดูรายละเอียดสำคัญต่างๆ ของการใช้สิทธิเคลมประกันให้ดี เพื่อป้องกันปัญหาเคลมประกันไม่ได้ และอาจเสียเบี้ยประกันไปฟรี ๆ
สมัยนี้การซื้อประกันสุขภาพไม่ใช่เรื่องยาก ส่วนใหญ่มีระบบให้ซื้อผ่านออนไลน์ได้อย่างสะดวกสบาย แต่ผู้บริโภคก็ไม่ควรชะล่าใจ หากเช็กรายละเอียดและเงื่อนไขต่างๆ ไม่ถี่ถ้วน ก็อาจเกิดช่องว่างการเคลมเงินประกันหรือมีปัญหาเคลมประกันไม่ได้ ซึ่งทุกวันนี้การเคลมประกันสุขภาพยังคงเป็นปัญหาที่ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างต่อเนื่อง ผู้เอาประกันหลายคนมีปัญหาการเคลมประกันด้วยเหตุผลหลากหลายแตกต่างกันไป
ทั้งนี้ สิ่งหนึ่งที่ผู้บริโภคควรรู้ก่อนเคลมประกันสุขภาพ เพื่อให้เบิกประกันสุขภาพได้ตามต้องการก่อนเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจากโรคที่เข้าเกณฑ์กับกรมธรรม์ที่ทำไว้ คือ ให้พิจารณาว่าเป็นกรมธรรม์ใหม่ที่มีอายุสัญญายังไม่ครบ 30 วัน
ถ้าในกรณีที่เป็นโรคฉับพลัน เช่น ไส้ติ่งอักเสบ และเป็นโรคที่ไม่ได้ป่วยมาก่อน ทำประกันและรอคอยได้ บริษัทประกันมีสิทธิปฏิเสธการจ่ายค่ารักษาพยาบาลเกิดจาก 3 กรณี คือ
1. เคยป่วยเป็นโรคที่เคลมประกัน แล้วไม่แจ้งบริษัทประกัน
2. เป็นกรมธรรม์อนุมัติปีแรก ที่ยังมีระยะเวลาหลังอนุมัติไม่ถึง 30 วัน
3. กรมธรรม์ขาดอายุ หรือจ่ายเบี้ยประกันหลังจากระยะเวลาผ่อนผัน ก็ต้องรอให้ครบ 30 วัน ให้กรมธรรม์มีผลบังคับใช้จึงจะเคลมได้
ประกันสุขภาพจะมี ‘ระยะเวลารอคอย’ (WAITING PERIOD) ในกรณีที่ผู้บริโภคซื้อประกันอาจมาซื้อทั้งๆที่ทราบดีว่าเป็นโรคป้องกันโรค หรือ มีอาการที่อาจจะเป็นมาก่อนหน้าการทำประกัน เนื่องจากบางโรคยังไม่แสดงอาการ โดยโรคทั่วไปจะมีระยะเวลารอคอย 30 วัน ซึ่งในกรณีดังกล่าว บริษัทประกันจะไม่รับผิดชอบ
อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี มีโรคที่ระยะเวลาแสดงอาการนาน ซึ่งบริษัทประกันกำหนดให้มีระยะเวลารอคอย 120 วัน คือ โรคต้อเนื้อต้อกระจก โรคไส้เลื่อน โรคทอลซิล โรคไส้เลื่อน
ทั้งนี้ แต่ละโรคอาจมีเงื่อนไขการเคลมประกันที่แตกต่างกัน ผู้บริโภคสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่กรมธรรม์ประกันสุขภาพของท่าน หรือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เบอร์ติดต่อ สายด่วน คปภ. 1186)
หากมีปัญหาเรื่องการเคลมประกันหรือปัญหาผู้บริโภคอื่น ๆ สามารถปรึกษา – ร้องเรียน กับสภาองค์กรของผู้บริโภค ผ่านทางออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ https://www.tcc.or.th/ หรือ ไลน์ออฟฟิเชียล (Line Official) : @tccthailand หรืออินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก (Facebook Inbox) : สภาองค์กรของผู้บริโภค อีเมล : [email protected] หรือโทรศัพท์ : 02 239 1839 กด 1