![](https://www.tcc.or.th/wp-content/uploads/2025/01/รับฟังความเห็น-พรบ-1-1200x675.png)
ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. …..
ประเภทร่าง เสนอโดยประชาชน ไม่เป็นร่างการเงิน
เสนอโดย นางสาวสารี อ๋องสมหวัง กับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 21,111 คน เป็นผู้เสนอ
โดยที่บทบัญญัติเกี่ยวกับความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังไม่ได้ให้ความคุ้มครองผู้ซื้อและผู้ขายอย่างชัดเจนและเพียงพอ โดยเฉพาะกับสินค้าที่ผู้ซื้อไม่อาจพบเห็นความชำรุดบกพร่องของสินค้าได้ในเวลาซื้อขายหรือส่งมอบสินค้า สมควรกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะของความชำรุดบกพร่องของสินค้า สิทธิของผู้ซื้อและผู้ขาย และความรับผิดของผู้ขายตามประเภทของสินค้าให้เกิดความเหมาะสม รวมถึงการเยียวยากรณีสินค้าที่มีความชำรุดบกพร่อง เพื่อให้มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาในปัจจุบัน อันจะเป็นการคุ้มครองผู้ซื้อและผู้ขายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้าเสียใหม่ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติฉบับนี้
1. | ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดเกี่ยวกับคำนิยามที่ใช้ในพระราชบัญญัตินี้ให้เกิดความเข้าใจชัดเจนอันเกี่ยวเนื่องกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคล |
ถาม | เห็นด้วยหรือไม่ กับการให้นิยามที่ชัดเจน เช่น คำว่า “ผู้ซื้อ” “ผู้ขาย” “ความชำรุดบกพร่อง” ในร่างพ.ร.บ.นี้ |
ตอบ | + เห็นด้วย เพราะ จะทำให้ผู้ซื้อผู้ขายไม่ต้องเถียงกันว่าของพังแบบไหนถึงจะเรียกว่า “ชำรุดบกพร่อง” + เห็นด้วย เพราะ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เดิมมีความคลุมเครือในเรื่องนี้อย่างมาก |
2. | ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดเกี่ยวกับสิทธิของผู้ซื้อ วิธีการใช้สิทธิและระยะเวลาใช้สิทธิของผู้ซื้อ การดำเนินการของผู้ขายเมื่อผู้ซื้อใช้สิทธิเรียกร้อง การให้ผู้เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อและผู้รับสินเชื่อตามสัญญาสินเชื่อมีสิทธิเช่นเดียวกับผู้ซื้อ การให้มีสัญญารับประกันระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อที่ต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย |
ถาม | เห็นด้วยหรือไม่ กับการรับรองสิทธิของผู้ซื้อให้ชัดเจน เช่น รูปแบบการเคลม กำหนดระยะเวลา |
ตอบ | + เห็นด้วย เพราะ ผู้ขายจะได้เลิกอ้างว่ารออะไหล่นาน เลยไม่ซ่อมรถให้เสียที ทำให้เสียโอกาสการใช้งาน + เห็นด้วย เพราะ ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายกำหนดว่าผู้ซื้อเรียกร้องอะไรบ้าง เช่น เรียกให้ผู้ขายซ่อมสินค้าภายใน 14 วัน ขอลดราคาสินค้า ขอคืนเงินเต็มจำนวน |
3. | ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดให้ทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับประกอบด้วย สินค้าที่ใช้แล้ว เว้นแต่สินค้าที่อยู่ในระยะเวลาสันนิษฐานความรับผิดของผู้ขาย สัตว์มีชีวิต และสินค้าตามที่กำหนดในกฎกระทรวง |
ถาม | เห็นด้วยหรือไม่ ที่จะไม่ให้บังคับใช้พ.ร.บ.นี้ กับสินค้ามือสอง สัตว์ หรือสินค้าอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะอยู่แล้ว |
ตอบ | + เห็นด้วย เพราะ ผู้ซื้อน่าจะทราบอยู่แล้วว่าการซื้อแบบมือสองมีความเสี่ยงเกี่ยวกับสภาพของสินค้า + เห็นด้วย เพราะ อาจมีปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ในการซื้อสัตว์ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิต |
4. | ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดให้ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้บริโภคที่เกิดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากความชำรุดบกพร่องของสินค้าตามพระราชบัญญัตินี้สามารถฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค |
ถาม | เห็นด้วยหรือไม่ ที่จะให้ผู้บริโภคสามารถฟ้องคดีผู้บริโภคได้ หากพบปัญหาสินค้าชำรุดบกพร่อง |
ตอบ | + เห็นด้วย เพราะ การฟ้องเป็นคดีผู้บริโภค จะเอื้ออำนวยให้ผู้บริโภคมีอำนาจต่อรองกับผู้ขายที่ประกอบธุรกิจได้ + เห็นด้วย เพราะ ปัญหาความชำรุดบกพร่องของสินค้าสัมพันธ์โดยตรงกับเรื่องของผู้บริโภค |
5. | ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดความรับผิดของผู้ขายเมื่อมีความชำรุดบกพร่องของสินค้าทั่วไปหรือสินค้ารถยนต์ในเวลาส่งมอบไม่ว่าผู้ขายจะรู้ถึงความชำรุดบกพร่องนั้นหรือไม่ก็ตาม |
ถาม | เห็นด้วยหรือไม่ ที่จะกำหนดให้ผู้ขายต้องรับผิดชอบ แม้จะไม่รับรู้ถึงความชำรุดบกพร่องก็ตาม |
ตอบ | + เห็นด้วย เพราะ ผู้ขายมีหน้าที่ต้องตรวจสอบสภาพสินค้าก่อนที่จะส่งมอบให้ผู้ซื้ออยู่แล้ว |
6. | ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแก่สัญญาที่ได้ทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย เว้นแต่กรณีรูปแบบและระยะเวลาในการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 19 อายุความตามมาตรา 11 และบทสันนิษฐานตามมาตรา 9 วรรคสองและวรรคสาม |
ถาม | เห็นด้วยหรือไม่ หากจะให้พ.ร.บ.นี้ บังคับใช้กับสัญญาที่เกิดขึ้น ก่อนวันที่พ.ร.บ.นี้มีผล (ยกเว้นบางกรณี) |
ตอบ | + เห็นด้วย เพราะ จะได้ช่วยลดช่องโหว่ในการบังคับใช้กฎหมาย + เห็นด้วย โดยการกำหนดข้อยกเว้นบางกรณี จะทำให้มีความเป็นธรรมระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายมากขึ้น |
7. | ท่านเห็นว่าปัจจุบันกระบวนการคุ้มครองกรณีสินค้ามีความชำรุดบกพร่องมีปัญหาในทางปฏิบัติอย่างไร และการเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้หรือไม่ เพียงใด |
ถาม | ปัจจุบัน การคุ้มครองเรื่องสินค้าชำรุดบกพร่องมีปัญหาอย่างไร พ.ร.บ.นี้จะช่วยแก้ปัญหานั้นได้หรือไม่ |
ตอบ | + เห็นด้วย เพราะ ในปัจจุบันยังมีปัญหาอยู่มาก เช่น นำของไปเคลมแล้วผู้ขายไม่ยอมให้เปลี่ยน แต่พอจะซ่อมยืดเยื้อใช้เวลานาน + เห็นด้วย เพราะ กฎหมายเดิมที่ใช้อยู่ไม่ได้รับการปรับปรุงมาหลายสิบปีแล้ว ควรมีการปรับแก้ให้เข้ากับสภาพสังคมปัจจุบัน |
คลิกเพื่อแสดงความคิดเห็น
ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. …
(เปิดรับฟังตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568)