ในยุคดิจิทัล ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อติดต่องาน ดูภาพยนตร์ ถ่ายรูป หาข้อมูลหรือซื้อสินค้าบนอินเทอร์เน็ต สายตาของผู้บริโภคจับจ้องหน้าจอโทรศัพท์เป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน และในบางครั้งยังเห็นข้อความ SMS เด้งขึ้นมา ซึ่งจากสถานการณ์ปัจจุบันในสื่อสังคมออนไลน์และการพูดคุยกันในชีวิตจริง บทสนทนาที่ผู้บริโภคบ่นบ่อยครั้ง คือ ปัญหาเรื่องของ SMS กวนใจ หรือการได้รับข้อความบ่อยครั้งอย่างต่อเนื่อง จนก่อให้เกิดความรำคาญ SMS กินเงิน หรือการได้รับข้อความที่นำส่งข้อมูลข่าวสาร โดยผู้บริโภคไม่ได้ตั้งใจสมัคร หรือสมัครโดยไม่รู้ตัว และ SMS หลอกลวง หรือการได้รับข้อความในลักษณะที่เป็นการส่ง หรือแอบอ้างว่าส่งมาจากธนาคาร หน่วยงานของรัฐ ฯลฯ แม้หน่วยงานภาครัฐที่จัดการดูแลปัญหา SMS พยายามแก้ไข แต่ปัญหายังคงอยู่ ผู้บริโภคยังคงได้รับ SMS ดังกล่าวอยู่เสมอ
สภาองค์กรผู้บริโภคตระหนักถึงปัญหาที่กล่าวไปข้างต้น แม้เป็นปัญหาที่ดูเหมือนจะเล็กน้อย แต่การหลอกลวงเพื่อนำข้อมูลส่วนตัวของผู้บริโภคมาข่มขู่ หลอกลวงเอาเงินจากบัญชี และเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวถือเป็นการละเมิดสิทธิ คณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารและโทรคมนาคมจึงศึกษาข้อมูล ข้อกฎหมาย และแสดงความคิดเห็น เพื่อยื่นข้อเสนอในการคุ้มครองผู้บริโภคต่อหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอนโยบาย และมาตรการที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอให้ กสทช. ใช้อํานาจไม่อนุญาตการควบรวมกิจการระหว่างบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จํากัด (AWN) ในเครือ AIS และบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จํากัด (มหาชน) (3BB)
สถานการณ์ ตามที่ ศาสตราจารย์คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ประธาน กสทช.) ได้ทําหนังสือเชิญประชุมคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(คณะกรรมการ กสทช.) นัดพิเศษ ในวันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2566 เพื่อนําวาระการควบรวมกิจการระหว่าง บริษัท แอดวานซ์ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จํากัด (AWN) ในเครือ AIS และบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จํากัด (มหาชน) (3BB) เข้าพิจารณา ต่อมาได้ปรากฏข่าวการให้ ความเห็นของ ประธาน กสทช. ว่า การดําเนินงานของ กสทช. เรื่องการควบรวมธุรกิจเป็นไปตามประกาศ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2561 และยึดหลักคําพิพากษา ของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ที่ กสทช. ไม่ควรใช้อํานาจเกินขอบเขตที่กฎหมายกําหนด หากฝ่าฝืน เท่ากับเป็นการกระทําที่อาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย กสทช. จึงควรยึดคําพิพากษาทําหน้าที่ของ กสทช. ให้ดีที่สุด ด้วยการออกมาตรการป้องกันและกํากับดูแลเพื่อประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด นั้น การดำเนินงาน สภาองค์กรของผู้บริโภค ในฐานะเป็นตัวแทนผู้บริโภคที่มีอํานาจคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคในทุกด้าน เห็นว่าการให้ความเห็นของประธาน กสทช. ดังกล่าว เป็นการแสดงความเห็นที่ไม่เป็นกลางและชี้นําการ ประชุมที่จะมาถึงให้คณะกรรมการ มีมติ “รับทราบ” เหมือนเช่น…
ข้อเสนอต่อกรณีการควบรวมกิจการ TRUE กับ DTAC
สถานการณ์ จากกรณีที่ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ประกาศควบรวมกิจการโทรคมนาคมกับบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE โดยคาดการณ์ว่าในอนาคตจะร่วมกันจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดการกีดกันทางการค้าและส่งผลให้ผู้บริโภคถูกจำกัดทางเลือกในการใช้งาน การดำเนินงาน 1. จัดทำข้อเสนอต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรื่อง ขอให้ชะลอการพิจารณาลงมติ กรณีการควบรวมกิจการในธุรกิจโทรคมนาคม ระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 2. จัดเวทีสื่อสารกับสาธารณะ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เห็นปัญหา กรณีการควบรวมกิจการบริษัทโทรคมนาคมระหว่าง DTAC และ TRUE เมื่อวันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 โดยจัดเสวนาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Zoom ข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภค ความคืบหน้า อยู่ระหว่างการติดตามนโยบาย
ข้อเสนอต่อกรณี SMS ละเมิดสิทธิผู้บริโภค
สถานการณ์ การสร้างความรำคาญและการหลอกลวงผู้บริโภคผ่านการส่งข้อความสั้น หรือที่เรียกว่า SMS ตลอดจนการโทรศัพท์และการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์อื่น ๆ เป็นปรากฏการณ์ระดับโลก ที่หน่วยงานภาครัฐของนานาประเทศตระหนักและออกมาตรการเพื่อจัดการแก้ไขและหาทางป้องกัน ปัญหาดังกล่าวแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะกว้าง ๆ ได้แก่ ลักษณะแรก เป็นการส่งข้อความหรือโทรศัพท์ ที่สร้างความรำคาญหรือไม่พึงประสงค์ต่อผู้บริโภค (spam) ลักษณะที่ 2 เป็นการส่งข้อความหรือโทรศัพท์ที่มุ่งหลอกลวงผู้บริโภค (scam) ซึ่งลักษณะหลัง ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคนับตั้งแต่การสูญเสียข้อมูลส่วนบุคคลและเงินทองจำนวนมาก โดยข้อมูลจากประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนอย่างสิงคโปร์ เมื่อปี พ.ศ.2563 พบกรณีที่ประชาชนโดนหลอกลวงจำนวน 15,700 ราย คิดเป็นเงินถึง 201 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ซึ่งมีทั้งอีคอมเมิร์ซ เงินกู้ ธนาคารและการล่อลวงทางโซเชียลมีเดีย ขณะเดียวกัน ข้ามฟากจากฝั่งเอเชียไปทางทวีปยุโรป ในสหราชอาณาจักรมีความรุนแรงไม่น้อยไปกว่ากัน ปี พ.ศ.2564 มีรายงานว่า ประชากรเกือบ 45 ล้านคนเผชิญกับข้อความสั้นที่เข้าข่ายหลอกลวงผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ หรือการโทรศัพท์เข้ามือถือและโทรศัพท์บ้าน หลายประเทศพบว่า มีการหลอกลวงในรูปแบบที่หลากหลายซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งประเทศไทย มีรายงานข่าวและการแชร์เรื่องราวของผู้ประสบปัญหาไม่แตกต่างกัน แ…
ข้อเสนอต่อเรื่องมาตรฐาน คุณภาพการให้บริการโทรคมนาคม
สถานการณ์ สืบเนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดรับฟังความเห็นของประชาชนต่อ (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรฐานของคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคม ซึ่งมีประเด็นที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการหรือผู้บริโภคโดยตรง การดำเนินงาน สภาผู้บริโภคออกหนังสือเลขที่ สอบ.นย 042/2564 ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2564 เรื่อง ความเห็นต่อ (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรฐานของคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคม ถึง กสทช. ข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภค ความคืบหน้า อยู่ระหว่างการติดตามนโยบาย
ข้อเสนอต่อการกำหนดมาตรการควบคุมโฆษณาแฝงและโฆษณาเกินเวลาทางช่องรายการโทรทัศน์ระบบดิจิทัล
สถานการณ์ จากงานวิจัยเรื่อง “โฆษณาแฝงและการโฆษณาเกินเวลาทางช่องรายการโทรทัศน์ระบบดิจิทัล” จัดทำโดย บุณยาพร กิตติสุนทโรภาศ นักวิจัยอิสระ ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการด้านสื่อและโทรคมนาคม ภายใต้คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) แล มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) โดยสำรวจสถานการณ์ของการโฆษณาในโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบโฆษณาแฝง 7 ประการ ได้แก่ แฝงสปอตสั้นหรือวีทีอาร์ (VTR) แฝงภาพกราฟิก แฝงวัตถุ แฝงบุคคล แฝงเนื้อหา และรายการแนะนำสินค้า ถูกนำมาใช้กันอย่างผสมผสาน และแพร่หลายในรายการโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ซึ่งประเภทของสินค้าหรือบริการไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ผลิตภัณฑ์เสริม อาหารและผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเหมือนเมื่อก่อน แต่กลับพบผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น อสังหาริมทรัพย์ ประเด็นต่อมา คือ การพบเนื้อหารายการที่น้อยกว่า 47 นาที 30 วินาที ซึ่งแสดงว่าใน 1 ชั่วโมง มีโฆษณามากเกินกว่าเกณฑ์ที่ กสทช. กำหนด คือ 12 นาที 30 วินาที ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเฉพาะเนื้อหารายการกับโฆษณา พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 52 นาที 36 วินาที แต่เมื่อพิจารณาโดยแยกเป็น 5 องค์ประกอบ คือ เนื้อหารายการ โฆษณา โฆษณาแฝง รายการแนะนำสินค้า และสปอตโปรโมตรายการ พบว่าค่าเฉลี่ยเนื้อหารายการอยู่ที่ 43 นาที 55 วินาที ซึ่งน้อยกว่า 47 นาที 30 วินาที ขณะที่…
ข้อเสนอต่อ กสทช. ในการออกหลักเกณฑ์เรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้าบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงประจำที่
สถานการณ์ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดทำ (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้าของบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงประจำที่ และจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะนั้น โดยที่มาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติให้ผู้รับใบอนุญาตจะเรียก เก็บเงินประกัน หรือเงินอื่นที่มีลักษณะเป็นเงินประกันมิได้ ส่วนการเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้าต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคหรือประโยชน์สาธารณะ และวรรค 2 กำหนดให้การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ของผู้รับใบอนุญาต ให้ถือว่าเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะ สภาองค์กรของผู้บริโภค (สภาผู้บริโภค) จึงเห็นว่า หลักเกณฑ์การเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้าที่ กสทช. กำหนดจำเป็นต้องเป็นไปตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว นั่นคือเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคหรือประโยชน์สาธารณะเท่านั้น แต่เมื่อพิจารณาร่างประกาศ กสทช. ฉบับดังกล่าว กลับพบว่า เนื้อหาของร่างประกาศฯ เป็นเพียงการอำนวยความสะดวกให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้าได้เท่านั้น แต่ไม่ได้คุ้มครองผู้บริโภคหรือคำนึ…