มีหลายประเด็นสำหรับสถานการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับปัญหาด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นอาหารไม่ปลอดภัย อาหารปนเปื้อน มาตรฐานความปลอดภัยของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ การยกเลิก แบนสารเคมี หรืออาหารดัดแปลงพันธุกรรม GMOs ที่มีการถกเถียงกันอย่างแพร่หลายในเรื่องของความปลอดภัยและผลกระทบในระยะยาว สภาผู้บริโภค จึงพยายามผลักดันให้มีการติดฉลากสำหรับอาหารที่ผลิตด้วยการดัดแปลงพันธุกรรม รวมถึงการเฝ้าระวังการจำหน่ายอาหารที่ผลิตด้วยวิธีดังกล่าว นอกจากนั้น ยังมีประเด็นเรื่องของโครงการวิจัยวัคซีนในเด็ก ในส่วนของรายละเอียดการได้รับอนุมัติให้วิจัยในมนุษย์ยังคงเป็นที่สงสัยว่าสามารถตรวจสอบได้หรือไม่ และการคุ้มครองสิทธิของเด็กที่ได้รับวัคซีนว่ามีค่าตอบแทนหรือรับผิดชอบในกรณีที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์อย่างไร ทั้งยังมีประเด็น CPTPP ว่าด้วยผลประโยชน์สำหรับการเข้าร่วมของประเทศไทย จากประเด็นสำคัญข้างต้น สภาผู้บริโภคยื่นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการจัดเวทีเสวนาเพื่อนำเสนอข้อมูลแก่ผู้บริโภค
ข้อเสนอนโยบาย และมาตรการที่เกี่ยวข้อง
ขอสนับสนุนตัวอย่างข้าวจากทุกโรงสี ทุกโกดังเพื่อตรวจสอบคุณภาพข้าวสาร
สถานการณ์ สภาผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค เกี่ยวกับกรณีที่รัฐบาลจะนำข้าวดังกล่าวออกมาจำหน่าย โดยผู้บริโภคตั้งข้อสังเกตว่าเป็นเวลาหลายวันแล้วที่มีการเผยแพร่ข่าวดังกล่าวก็ยังไม่พบว่าจะมีหน่วยงานของรัฐหน่วยงานใดออกมาชี้แจงว่าจะตรวจสอบข้าวสาร 10 ปี ดังกล่าว จึงร้องเรียนมาที่สภาผู้บริโภคเพื่อขอให้เป็นตัวแทนของประชาชน ให้ดำเนินการเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค จากสถานการณ์ข่าวข้าวสาร 10 ปี ว่ามีความปลอดภัยต่อการบริโภคหรือไม่ อย่างไร พร้อมได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค เพื่อขอให้เป็นตัวแทนประชาชน ในการดำเนินการเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคตามกฎหมาย การดำเนินงาน สภาผู้บริโภคจึงทำหนังสือด่วนที่สุดถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อขอเข้าเก็บตัวอย่างข้าวสารชุดที่ถูกเก็บค้างโกดัง 10 ปี จากโรงสีทุกแห่ง เพื่อส่งห้องปฏิบัติการที่ได้รับรอง ISO17025 ตามมาตรฐานการส่งอออกข้าวและพร้อมเผยแพร่ผลการทดสอบต่อสาธารณะ ข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภค สภาองค์กรของผู้บริโภค ทำหนังสือถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 1. ขอเก็บตัวอย่างข้าวสารจากทุกโรงสี ทุกโกดังที่เก็บข้าวเพื่อตรวจสอบคุณภาพข้าวสารตามมาตรฐานการสุ่มตัวอย่างที่น่าเชื่อถือเพื่อส่งตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยจากห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO17025 2. ขอเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทนร่วมแถล…
ข้อเสนอต่อการพัฒนาระบบ Post-Market : กรณีความไม่ปลอดภัยของไส้กรอกผสมสารกันเสีย
สถานการณ์ จากกรณีที่เป็นข่าวในช่วงต้นปี 2565 โดยเฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘Ramathibodi Poison Center’ ให้ข้อมูลเตือนภัยผู้บริโภค ระบุว่ามีเด็กป่วยด้วยภาวะเมทฮีโมโกลบินนีเมีย (Methemoglobinemia) จำนวน 6 ราย ใน 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เพชรบุรี สระบุรี ตรัง และกาญจนบุรี ซึ่งเด็กทั้งหมดมีประวัติรับประทานไส้กรอกไม่มียี่ห้อและไม่มีเอกสารกำกับ ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้ ถูกเผยแพร่ต่อในช่องทางสื่อต่าง ๆ มากมาย ทำให้ผู้บริโภคเกิดความไม่มั่นใจในความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ไส้กรอก ตลอดจนระบบการตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพหลังออกสู่ท้องตลาด (Post-Marketing) ทั้งนี้ ภาวะเมธฮีโมโกลบินในเลือดหรือ ‘เมธฮีโมโกลบินนีเมีย’ (Methemoglobinemia) เป็นภาวะที่ ‘ฮีโมโกลบิน’ ในเม็ดเลือดแดงทำปฏิกิริยากับสารเคมีกลายเป็น ‘เมธฮีโมโกลบิน’ ซึ่งในภาวะปกติฮีโมโกลบินจะทำหน้าที่จับกับออกซิเจน เมื่อกลายเป็นเมธฮีโมโกลบินจะไม่สามารถจับกับออกซิเจนได้ ทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดออกซิเจน และสีเม็ดเลือดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ สารเคมีที่ทำให้เกิดภาวะเมธฮีโมโกลบินนีเมียในกรณีนี้ คาดว่าได้แก่ อาหารที่มีปริมาณดินประสิว (Potassium nitrate) เกินขนาด ซึ่งสารไนไตรท์-ไนเตรทเป็นสารเคมีที่นิยมใช้เป็นสารกันเสีย และทำให้เกิดสีในเนื้อสัตว์เป็นสีแดงอมชมพูในผลิตภัณฑ์เนื้อแปรรูป หากได้รับในปริมาณที่สูงเกินจะเกิดผลต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก ก…
ข้อเสนอต่อการนำสินค้าเข้าจากต่างประเทศ ไม่แสดงฉลากภาษาไทย
สถานการณ์ จากการแจ้งเบาะแสของผู้บริโภคว่า พบร้านขายอาหารต่างประเทศที่นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ขายสินค้าไม่แสดงฉลากภาษาไทย ร้านค้าประเภทนี้เป็นที่นิยมมากในกลุ่มสายชอปปิ้ง สายแฟชั่น สายติ่ง รวมไปถึงคนรักเมนูอาหารเกาหลี จีน ญี่ปุ่น โดยเบื้องต้นพบใน 2 ร้านชื่อดัง คือ 1. หวังจงหวังซูเปอร์มาร์เก็ตจีน ที่อยู่: ถนนเทียมร่วมมิตร แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 2. ร้าน JidubanG Market (สถานี Mrt ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ทางออก 4) พบว่า ทั้ง 2 ร้านจำหน่ายอาหารไม่แสดงฉลาก การดำเนินงาน 1. ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารจากร้านหวังจงหวังซุปเปอร์มาร์เก็ตจีน และร้าน JidubanG Market 2. ทำหนังสือถึง นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เรื่องการควบคุมการกำกับดูแลฉลากผลิตภัณฑ์อาหารต่างประเทศที่นำเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักรไทย ข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภค ความคืบหน้า อยู่ระหว่างการตอบกลับจากหน่วยงาน ภายใน 30 วัน
ข้อเสนอต่อปัญหาสารไกลโคแอลคาลอยด์ (glycoalkaloids) สูงกว่าปกติในมันฝรั่งทอดกรอบ
สถานการณ์ จากกรณีเฟซบุ๊ก “ครบเครื่องเรื่องญี่ปุ่น” โพสต์แจ้งข่าวว่าบริษัท Frito-Lay ญี่ปุ่น เรียกคืนขนมมันฝรั่งทอดกรอบแบบแผ่น ยี่ห้อ เลย์ ออริจินัล ที่นำเข้าจากไทย หลังตรวจพบสารไกลโคแอลคาลอย์ ในปริมาณสูงกว่าปกติ และให้ผู้บริโภคสามารถส่งสินค้ากลับเพื่อขอเงินคืนได้นั้น สารไกลโคแอลคาลอยด์ (glycoalkaloids) เป็นกลุ่มของสารพิษที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยในหัวมันฝรั่งจะพบสารกลุ่มไกลโคแอลคาลอยด์ ชนิดโซลานีนและชาโคนีนในบริเวณเปลือกผิว ตา บริเวณที่มีต้นอ่อนงอก บริเวณที่มีรอยช้ำ หรือเป็นรอยแผล และส่วนที่มีสีเขียวมากกว่าส่วนเนื้อผลมันฝรั่ง โดยทั่วไปพบประมาณ 10 – 150 มิลลิกรัมของน้ำหนักผลสด การได้รับสารไกลโคแอลคาลอยด์ในระดับสูง หรือมากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักผลสด จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และท้องร่วง กรณีที่รุนแรง จะมีผลกระทบทางระบบประสาท การปรุงอาหารด้วยความร้อน เช่น การอบ ต้ม ทอด ไม่สามารถลดปริมาณสารดังกล่าวได้ การที่จะลดได้ คือ การปอกเปลือกลึกเข้าไปในเนื้อผลให้มาก ควบคู่กับการเก็บรักษาผลมันฝรั่งสดที่ดีด้วย การดำเนินงาน – ข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภค ความคืบหน้า นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า จากการติดตามตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น ผู้ผลิตแจ้งว่าผลิตภัณฑ์มันฝรั่งทอดดังกล่าว ผลิตเพื่อส่งออกเท่านั้น ไม่มีวางจ…
ข้อเสนอต่อการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเด็ก ตามโครงการ “VACC 2 School” ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
สถานการณ์ โครงการ “VACC 2 School” เป็นโครงการที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ประกาศนำร่องฉีดวัคซีนบริจาค “ซิโนฟาร์ม” ให้กับอาสาสมัครเด็กและเยาวชน อายุระหว่าง 10 – 18 ปี เพื่อศึกษาความปลอดภัยภายหลังการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม BBIBP-CorV (Sinopharm) ขณะที่ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ออกคำแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เฉพาะที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และให้ฉีดในเด็กและวัยรุ่นตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป ซึ่งวันที่ 22 กันยายน 2564 มีวัคซีนเพียงชนิดเดียวที่มีในประเทศไทย คือ ชนิด mRNA ของ Pfizer=BioNTech สำหรับวัคซีนชนิดเชื้อตายของซิโนฟาร์ม และซิโนแวค อยู่ในระหว่างการพิจารณาข้อมูลเรื่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในเด็ก และขณะนี้ยังไม่ได้รับการรับรองให้ใช้ในเด็กและวัยรุ่น การดำเนินงาน 1. ทำหนังสือถึง ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เพื่อสอบถามการคุ้มครองผู้บริโภคจากการเข้าร่วมโครงการวิจัยวัคซีน 2. ทำหนังสือถึงเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อสอบถามเรื่องสิทธิในการรักษาและการช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 ให้กับกลุ่มบุคคลอายุ 10 – ต่ำกว่า 18 ปี ตามโครงการ VACC 2 School ข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภค ความคืบหน้า 1. ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดให้ผู้เข้าฉีดวัคซีนทุกรายได้รับการดูแลรักษาจากโรงพยาบาลโดยไม่ม…
ข้อเสนอต่อการนำเข้าสับปะรดสีชมพู สับปะรด GMOs ต้องห้าม
สถานการณ์ จากการเฝ้าระวังในสื่อสังคมออนไลน์ของสภาองค์กรของผู้บริโภค (สภาผู้บริโภค) ในช่วงเดือนกันยายน 2564 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเครือข่ายสังคมออนไลน์ Facebook อาทิเพจ KCH Freshfruit, Veryfruits ผลไม้เดลิเวอรี่, FRESH Fruiteries, Durian_Mai_Ja, Freshfruit By Gift, Feel’in Fruit ผลไม้นำเข้าพรีเมียม และสวนวิชาพันธุ์ไม้ Wicha Komonkitkaset พบการเผยแพร่โฆษณาจำหน่ายสับปะรดที่มีเนื้อสีชมพู โดยมีชื่อการค้าว่า “Pinkglow” เป็นผลไม้ที่นำเข้าจากประเทศคอสตาริกา สภาผู้บริโภคตรวจสอบรายละเอียดเบื้องต้นพบว่า Pinkglow® pineapple เป็นชื่อการค้าของบริษัท DEL MONTE โดยพัฒนาพันธุ์สับปะรดให้มีเนื้อสีชมพู ด้วยกระบวนการดัดแปรพันธุกรรม (GMOs) หากพิจารณาให้ดีจะทราบว่า อาหารที่เกิดจากการดัดแปรพันธุกรรม ต้องมีการประเมินผลที่ชี้เฉพาะเกี่ยวกับภูมิแพ้ การถ่ายโอนยีน หรือยีนแลกเปลี่ยนกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การบริโภคอาหารที่เกิดจากการดัดแปรพันธุกรรม อาจจะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพได้ และยังเกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตามมาด้วยเช่นกัน อีกทั้งการนำเข้าพืชดัดแปรพันธุกรรม ผู้นำเข้าจะต้องดำเนินการขออนุญาตนำสิ่งต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการค้า โดยต้องผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงของศัตรูพืช ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กักพืช พ.ศ.2507 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม การดำเนินงาน 1. เฝ้าระวังการขายและการรีวิวสับปะรดสีชมพู รวบรวมข้อมูลและ…
ข้อเสนอต่อการทำความตกลงเข้าร่วม CPTPP ของรัฐบาล
สถานการณ์ CPTPP มีชื่อเต็มว่า Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership หรือความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก โดยเป็นความตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุมในเรื่องการค้า การบริการ และการลงทุน เพื่อสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งในประเด็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมถึงกลไกแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติ รัฐบาลไทยมีนโยบายจะที่เข้าร่วม CPTPP มาตั้งแต่ปี 2563 โดยอ้างถึงผลการศึกษาตามแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ ที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดจ้างให้ดำเนินการ สรุปได้ว่าการเข้าร่วม CPTPP จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว โดย GDP จะขยายตัว 0.12% คิดเป็นมูลค่า 13,320 ล้านบาท การลงทุนขยายตัว 5.14% คิดเป็นมูลค่า 148,240 ล้านบาทนั้น อย่างไรก็ดี คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ศึกษา CPTPP สภาผู้แทนราษฎรตั้งข้อสังเกตว่า ผลการศึกษาดังกล่าว ยังมิได้คำนึงถึงบริบททางสังคมและบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่มิใช่รัฐ (Non-state actor) ขณะเดียวกัน ยังมีข้อกังวลอีกหลายประเด็น อาทิ ข้อกังวลในผลกระทบด้านลบต่องบประมาณ หรือค่าใช้จ่ายของประเทศ จากข้อเสนอของสภาเภสัชกรรมต่อคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) เมื่อเดือนมีนาคม 2564 ระบุว่า ประเทศไทยต้องพึ่งพิงย…