ข้อเสนอต่อปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิงแพง

สถานการณ์

ด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงถือเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงจึงเป็นต้นทุนสำคัญในการดำเนินชีวิตของประชาชนและเป็นต้นทุนสำคัญในภาคขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ประชาชนไม่สามารถเดินทางได้สะดวกและต้องพึ่งพาภาคบริการขนส่งสินค้า บริการต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อเข้าถึงปัจจัยในการดำรงชีวิต หากรัฐบาลปล่อยให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศมีราคาแพง จะยิ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนมากขึ้นตามไปด้วย


การดำเนินงาน

1. ผลิตสื่อจำนวน 3 ชุดในประเด็นการวางแผนการใช้พลังงานอย่างเป็นระบบ (Power Development Plan: PDP) ที่ผิดพลาดของรัฐ

โดยดำเนินการเสร็จแล้วจำนวน 2 ชุด และสื่อสารผ่านทางเฟซบุ๊กแฟนเพจสภาองค์กรของผู้บริโภค จำนวน 3 ครั้ง ในช่วงเดือนกันยายน – พฤศจิกายน 2564

2. จัดเสวนาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับร่างกฎหมายอากาศสะอาดกับเครือข่ายผู้บริโภค และเครือข่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2564 โดยมีผลการดำเนินงาน คือ เครือข่ายผู้บริโภคมีความเข้าใจเกี่ยวกับร่างกฎหมายอากาศสะอาด ร่วมลงนามเพื่อผลักดันให้รัฐพิจารณาร่างกฎหมาย และร่วมกับเครือข่ายอากาศสะอาดในการขับเคลื่อนกระบวนการพิจารณาร่างกฎหมาย

3. ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

เรื่องแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาและจัดการระบบไฟฟ้าของประเทศไทยภาคประชาชน เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564 โดยมีผลการดำเนินงาน คือ มีข้อมูลสำหรับทีมวิจัยในการปรับปรุงการจัดทำแผน PDP ภาคประชาชน เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาล

4. จัดเสวนาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องรวมพลังสะท้อนปัญหาน้ำมันราคาแพง

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 โดยมีผลการดำเนินงาน คือ มีข้อมูลประกอบการจัดทำแนวทางการจัดการราคาน้ำมันแพง เพื่อเสนอต่อรัฐบาล

5. จัดกิจกรรมแถลงข่าวเรียกร้องให้ติดริบบิ้นสีเขียว

เพื่อเป็นสัญลักษณ์สะท้อนปัญหาราคาน้ำมันแพง เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 โดยมีผลการดำเนินงาน คือ สื่อสารให้รัฐบาลและประชาชนเห็นถึงความเดือดร้อนของผู้ใช้น้ำมันจากปัญหาราคาน้ำมันแพง

6. สนับสนุนการศึกษา

เรื่องการศึกษาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาต้นแบบทางธุรกิจส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 270 วัน นับแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565


ข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภค

1. ข้อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) กระทรวงพลังงานและกระทรวงพาณิชย์ ให้กำกับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและราคาสินค้าให้เป็นธรรมต่อประชาชน

2. ข้อเสนอต่อ ครม. กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ยุติการอนุมัติรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าใหม่เข้าระบบ เพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าที่ประชาชนต้องจ่ายเพิ่มจากปัจจุบัน ยุติการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ โดยให้มุ่งเน้นการจัดการพลังงานไฟฟ้าแบบอัจริยะทดแทน ชะลอการรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศทั้งหมด ทบทวนการทำแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย โดยให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกลุ่มผู้บริโภค ทบทวนและปรับปรุงต้นแบบ สัญญาซื้อขายไฟฟ้า

3. ข้อเสนอต่อกระทรวงพลังงาน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และกระทรวงมหาดไทย เรื่องการปรับปรุงโครงการโซลาร์ภาคประชาชน โดยให้ใช้มาตรการคิดราคารับซื้อไฟฟ้าแบบหักลบกลบหน่วยตามจริง (Net metering) แบบพิเศษ ขยายกลุ่มเป้าหมายของโครงการเป็น 1,000,000 หลังคาเรือนภายใน 3 ปี และลดอุปสรรคการเข้าสู่โครงการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาของประชาชน


ความคืบหน้า