ข้อเสนอมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค เรื่อง มาตรการจัดการปัญหาภัยทุจริตทางการเงิน

สถานการณ์


การดำเนินงาน

สภาผู้บริโภคได้จัดเวทีความร่วมมือแก้ไขปัญหาภัยทุจริตทางการเงิน เพื่อติดตามการบังคับใช้พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ตลอดจนพัฒนาความร่วมมือระหว่างสภาองค์กรของผู้บริโภคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดการปัญหาภัยทุจริตทางการเงิน โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สมาคมธนาคารไทย สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ซึ่งสภาผู้บริโภคได้รวบรวมข้อมูลข้อคิดเห็นทั้งหมดจากเวทีดังกล่าว และจัดทำข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


ข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภค

1. ธนาคารแห่งประเทศไทย ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลพิจารณาดำเนินการ ดังนี้

1.1 ขอให้ติดตามการทำหน้าที่สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 และให้มีมาตรการลงโทษสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจหากไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.ก. ที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่ผู้บริโภค ตลอดจนให้มีมาตรการรับผิดชอบเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น

1.2 ขอให้กำหนดหลักเกณฑ์การชดเชยเยียวยาความสียหายแก่ผู้บริโภคเต็มจำนวน หากภัยทุจริตทางการเงินนั้นไม่ได้เกิดจากผู้บริโภค ได้แก่ ผู้บริโภคถูกแฮกโอนเงิน ผู้บริโภคถูกหลอกโอนเงิน ผู้บริโภคถูกโอนเงินจากบัญชีฝากประจำ

1.3 ขอให้ออกหลักเกณฑ์ควบคุมการโอนเงินระหว่างประเทศโดยกำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำ ในการโอนเงิน

1.4 ขอให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การเปิดบัญชีเงินผ่านร้านสะดวกซื้อและบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ให้เข้มงวด เพื่อป้องกันการเปิดบัญชีทำธุรกรรมทางการเงินที่ไม่สุจริต (บัญชีม้า)

1.5 ขอให้ออกหลักเกณฑ์กำหนดให้บุคคลมีบัญชีเงินฝากไม่เกิน 5 บัญชี

1.6 ขอให้กำหนดหลักเกณฑ์ให้สถาบันการเงินตั้งกองทุน หรือทำหลักประกันคุ้มครอง ความเสียหายในการฝากเงินกับสถาบันการเงินกรณีเกิดภัยทุจริตทางการเงิน เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ในการดูแลรักษาเงินของผู้บริโภคและสามารถเยียวยาความเสียหายของผู้บริโภคที่จะเกิดขึ้นทันที

1.7 ขอให้จัดให้มีเบอร์โทรสายด่วนแจ้งเหตุภัยทุจริตทางการเงินหมายเลขเดียว แจ้งได้ทุก ธนาคาร และให้มีศูนย์อำนวยการในการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาภัยทุจริตทางการเงินร่วมกันโดยมีเจ้าหน้าที่ของธนาคารแต่ละธนาคาร เจ้าหน้าที่ตำรวจในการสั่งการแก้ไขปัญหาและระงับการทำธุรกรรมทางการเงินภายในเวลาไม่เกิน 3 นาที หลังจากผู้บริโภคแจ้งเหตุภัยทุจริตทางการเงินตลอดจนติดตามเงินคืนให้แก่ผู้บริโภค

1.8 ขอให้มีระบบการแจ้งเตือนหมายเลขบัญชีที่ต้องสงสัยที่ถูกนำไปใช้ในการกระทำความผิด (Hight Risk) ให้แก่ผู้บริโภคทราบก่อนการโอนเงิน เพื่อป้องกันการโอนเงินไปยังบัญชีที่ต้องสงสัย

2. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ขอให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลพิจารณดำเนินการ ดังนี้

2.1 ขอให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการในการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาภัยทุจริตทางการเงิน และมีเบอร์โทรสายด่วนเบอร์เดียว เช่นเดียวกับศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 (ศบค.) เพื่อจัดการปัญหาภัยทุจริตทางการเงินได้อย่างเบ็ดเสร็จทันท่วงที

2.2 ขอให้แต่งตั้งผู้แทนสภาองค์กรของผู้บริโภคเป็นกรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตามมาตรา 13 แห่งพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 เพื่อให้ความเห็นในฐานะผู้แทนผู้บริโภคกำหนดแนวทางในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

3. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

ขอให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลผู้ให้บริการโทรคมนาคมดำเนินการ ดังนี้ 3.1 ขอให้ออกหลักเกณฑ์ควบคุมและจำกัดการเปิดใช้ซิมโทรศัพท์เคลื่อนที่หนึ่งหมายเลข ต่อหนึ่งบัตรประชาชน หากมีการเปิดใช้ซิมมากกว่าหนึ่งหมายเลข ต้องแจ้งวัตถุประสงค์ในการเปิดใช้แยกบัญชีบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล 3.2 ขอให้มีมาตรการกำหนดให้ค่ายมือถือ (operator) ต้องรายงานรายชื่อหมายเลข โทรศัพท์ต้องสงสัยมายังกสทช. และให้กสทช. ตรวจรายชื่อผู้เปิดใช้บริการโทรศัพท์ เพื่อขึ้นบัญชีดำ ผู้ต้องเฝ้าระวังในการเปิดใช้บริการเป็นมิจฉาชีพ 3.3 ขอให้มีมาตรการกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาต(operator) มีส่วนรับผิดชอบและเปรียบเทียบปรับสูงสุด หากมีการส่งข้อความสั้น (SMS) แบบไม่ระบุแหล่งต้นตอการส่งข้อความ

4. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

ขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีดำเนินคดีกับมิจฉาชีพในความผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วยอัตราโทษสูงสุด และติดตามเงินคืนให้แก่ผู้บริโภคโดยเร็ว

5. กรมสอบสวนคดีพิเศษ

ขอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษติดตามดำเนินคดีกับการลักลอบใช้ข้อมูลส่วนบุคคลจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน

6. สมาคมธนาคารไทย และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ สมาคมธนาคารไทย และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ดำเนินการ ดังนี้

6.1 ขอให้สถาบันการเงินเปิดเผยบัญชีมิจฉาชีพ (บัญชีม้า) และบัญชีแบล็คลิสให้ผู้บริโภคทราบ และมีระบบการแจ้งเตือนหมายเลขบัญชีที่ต้องสงสัยที่ถูกนำไปใช้ในการกระทำความผิด (Hight Risk) เพื่อแจ้งเตือนก่อนจะมีการโอนเงินไปยังบัญชีมิจฉาชีพเหล่านั้น

6.2 ขอให้วางแนวปฏิบัติและกำชับให้พนักงานของธนาคารปฏิบัติหน้าที่ตามพระราช กำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566 กำหนดไว้อย่าง เคร่งครัดตามมาตรา 7 โดยดำเนินการระงับการทำธุรกรรมนั้นไว้ชั่วคราว พร้อมทั้งนำข้อมูลเข้าสู่ ระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลตามมาตรา 4 เพื่อให้สถาบันการเงินและผู้ ประกอบธุรกิจผู้รับโอนทุกทอดทราบและระงับการทำธุรกรรมดังกล่าวไว้ทันที เพื่อไม่ให้เกิดเสีย ความเสียหายต่อผู้บริโภค

6.3 ขอให้กำหนดหลักเกณฑ์ให้สถาบันการเงินตั้งกองทุน หรือทำหลักประกันคุ้มครอง ความเสียหายในการฝากเงินกับสถาบันการเงินกรณีเกิดภัยทุจริตทางการเงิน เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ในการดูแลรักษาเงินของผู้บริโภคและสามารถเยียวยาความเสียหายของผู้บริโภคที่จะเกิดขึ้นทันที


ความคืบหน้า

อยู่ระหว่างการติดตามข้อเสนอแนะ