บทเรียนจากออสเตรเลียถึงผู้บริโภคไทย

กรณีการเป็นคดีความระหว่าง บริษัทมาสด้าและผู้บริโภค ในประเทศไทย ซึ่งมีสาเหตุมาจากความชำรุดบกพร่องของสินค้า โดยกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้รถยนต์มาสด้ารุ่นที่เป็นปัญหาได้รวมตัวกันและฟ้องร้อง  ล่าสุดศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้บริษัทมาสด้า เรียกคืนรถยนต์มาสด้า 2 เครื่องยนต์เชื้อเพลิงดีเซล (Mazda 2 Skyactiv D 1.5) ที่ผลิตในปี 2014 – 2018
(ปี พ.ศ. 2557 – 2561) ทุกคัน พร้อมชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้บริโภค

และการฟ้องร้องระหว่างรถยนต์มาสด้าและผู้บริโภคเคยเกิดขึ้นแล้วที่ประเทศออสเตรเลีย ระหว่าง คณะกรรมาธิการด้านการแข่งขันและผู้บริโภคแห่งออสเตรเลีย (Australian Competition and Consumer Commission (ACCC)) ในฐานะตัวแทนผู้บริโภคกับบริษัทมาสด้า ออสเตรเลีย จำกัด (Mazda Australia Pty Ltd. (๒๐๒๑)) อย่างไรก็ตาม กรณีการตัดสินของศาลออสเตรเลียนั้น ประเด็นสำคัญที่ทำให้มาสด้าจะต้องรับผิด คือ การที่มาสด้ามีการนำเสนอที่เป็นเท็จหรือทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดเกี่ยวกับสิทธิของตนภายใต้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการรับประกันตามกฎหมาย ในกรณีที่สินค้ามีความชำรุดบกพร่องร้ายแรง

ประเด็นสำคัญข้อหนึ่ง ที่ทำให้ผู้บริโภคในประเทศออสเตรเลีย ชนะการฟ้องร้องครั้งนี้ เพราะออสเตรเลียมีกฎหมายคุ้มครอง
ผู้บริโภค Competition and Consumer Act 2010 (Cth)  ซึ่งประกาศใช้เมื่อปี 2011  

ซึ่งในประเทศไทย กลุ่มผู้บริโภคได้มีการพยายามผลักดันให้เกิดกฎหมายดังกล่าว ภายใต้ชื่อ พระราชบัญญัติความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. … หรือ รู้จักกันในนามกฎหมายเลม่อน ลอว์ (Lemon Law)  ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่า ขณะนี้(ร่าง) พระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา

สภาองค์กรของผู้บริโภค ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการคุ้มครองผู้บริโภค และผลักดันให้ประเทศไทยมีกฎหมาย พระราชบัญญัติความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า
พ.ศ. … จึงได้สรุปคำพิพากษาของศาลประเทศออสเตรเลีย กรณีที่ผู้บริโภคชนะมาสด้า รวมถึงมีการเปรียบเทียบ หลักการสำคัญของร่างกฎหมายฯของประเทศไทยและประเทศออสเตรเลีย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาลไทยจะผ่าน (ร่าง) พระราชบัญญัติความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. … ให้มีการบังคับใช้ แต่เนื้อหาสาระของกฎหมายนี้ ก็ไม่ได้ทำให้ผู้ผลิตสินค้าต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรถยนต์ จะต้องเพิ่มต้นทุนในการผลิตแต่อย่างใด

 ในทางกลับกัน กฎหมาย Lemon Law  นี้ จะเป็นการช่วยตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของสินค้าให้ได้มาตรฐาน ไม่ต้องมีการฟ้องร้องเกิดขึ้น ซึ่งนั่นอาจจะเป็นวิธีการในการลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคต่อสินค้านั้น ๆ และนั่นคือมาตรฐานในการคุ้มครองผู้บริโภค

ตารางสรุปกรณีศึกษาการเปรียบเทียบบทบัญญัติและการใช้บังคับกฎหมายของประเทศออสเตรเลียกับกฎหมายของประเทศไทยในการคุ้มครองผู้บริโภค

บทบัญญัติและการใช้บังคับกฎหมายในการคุ้มครอง
ผู้บริโภค
ประเทศออสเตรเลียประเทศไทย
1.การรับประกันคุณภาพ
ตามกฎหมาย
มาตรา 54 แห่ง Competition and Consumer Act 2010 (Cth) ที่กำหนดความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า (statutory guarantee)ไว้ว่าหากผู้ใดจำหน่ายสินค้าให้กับผู้บริโภค ซึ่งไม่ใช่การจำหน่ายโดยวิธีการประมูลจะมีการรับประกันตามกฎหมายว่าสินค้านั้นต้องมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับได้โดยจะถือว่าสินค้านั้นมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับได้ ตามเงื่อนไข 5 ข้อมิได้มีการบัญญัติเรื่องการรับประกันคุณภาพของสินค้าตามกฎหมายกำหนดไว้เพียงในเรื่องของสินค้าที่มีความชำรุดบกพร่องซึ่งผู้ขายนั้นจะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2.นิยามของความชำรุดบกพร่องร้ายแรง (Major Failure)มีกำหนดไว้ในมาตรา 260 แห่ง Competition and Consumer Act
2010 (Cth)
กฎหมายไทยไม่มีการกำหนดนิยามของคำว่า “ชำรุดบกพร่อง” ไว้โดยตรงและไม่มีการกำหนดเรื่องของความชำรุดบกพร่องร้ายแรงไว้
อย่างไรก็ดี จากการพิจารณาบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยประกอบกับตีความตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา แล้ว สามารถอนุมานได้ว่า คำว่า “ชำรุดบกพร่อง” ตามกฎหมายไทย

สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
1.การเสื่อมราคากล่าวคือการเสื่อมในมูลค่าของทรัพย์สินที่ซื้อขาย
2.การเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติ และ
3.การเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์ที่มุ่งหมายตามสัญญา
3.ความรับผิดของผู้ขายในกรณีที่สินค้ามีความชำรุดบกพร่องการตกลงยกเว้นความรับผิดในกรณีชำรุดบกพร่องนั้นไม่ปรากฏในกฎหมายออสเตรเลียแต่อย่างใด เนื่องจากกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของออสเตรเลีย โดยมาตรา 259 แห่ง Competition and Consumer Act 2010 (Cth)ได้กำหนดสิทธิของผู้บริโภคในดำเนินการกับผู้จำหน่ายสินค้าในกรณีที่สินค้าไม่เป็นไปตามการรับประกันตามกฎหมายตามที่ระบุไว้ในมาตรา 54 ไว้อย่างชัดเจน เช่นหากเป็นสินค้ามีข้อบกพร่องที่สามารถซ่อมแซมได้และไม่ใช่ข้อบกพร่องร้ายแรง ผู้บริโภคสามารถแจ้งให้ผู้จำหน่ายสินค้าซ่อมแซมสินค้านั้นในระยะเวลาที่เหมาะสมหรือหากผู้จำหน่ายปฏิเสธการซ่อมแซมสินค้า ผู้บริโภคอาจปฏิเสธสินค้า หรือขอให้ผู้จำหน่ายซ่อมแซมสินค้าและจ่ายค่าชดเชยที่เหมาะสมให้กับผู้บริโภคได้ และหากเป็นกรณีที่สินค้าไม่สามารถซ่อมแซมได้หรือมีข้อบกพร่องร้ายแรงกฎหมายก็ได้มีการให้สิทธิผู้บริโภคในการปฏิเสธสินค้าหรือขอให้ผู้จำหน่ายสินค้าจ่ายเงินส่วนต่างเพื่อเป็นการชดเชยได้มาตรา 472 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดให้ผู้ขายจะต้องรับผิดในกรณีที่สินค้ามีความบกพร่องจนเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติหรือเสื่อมประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาไม่ว่าผู้ขายจะรู้ถึงความบกพร่องนั้นหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจากแนวคำพิพากษาศาลฎีกาจะพบว่าความชำรุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ผู้ขายต้องรับผิดจะต้องเป็นความชำรุดบกพร่องที่มีอยู่ก่อนแล้วหรือขณะทำสัญญาซื้อขายหรือในเวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขายเท่านั้นหากเกิดภายหลังส่งมอบแล้วผู้ขายไม่ต้องรับผิดในกรณีดังกล่าว
4.หน้าที่ในการนำสืบถึง
ความชำรุดบกพร่องของสินค้า (Burden of Proof)
ผู้ที่มีหน้าที่นำสืบถึงความขำรุดบกพร่องของสินค้าในกรณีทั่วไป คือ ผู้บริโภคที่ฟ้องร้องให้ผู้ขายต้องรับผิดอย่างไรก็ดี คณะกรรมาธิการฯ (ACCC) อยู่ระหว่างการพิจารณาเสนอให้มีการปฏิรูปกฎหมายให้ผู้ขายจะต้องเป็นผู้ที่มีหน้าที่นำสืบว่าคำกล่าวอ้างของบริโภคเป็นความจริงหรือไม่กรณีที่สินค้ามีความชำรุดบกพร่องตามประมวลแพ่งและพาณิชย์ของไทยนั้น
ภาระการพิสูจน์ถึงความชำรุดบกพร่องของสินค้าดังกล่าวจะตกแก่ผู้ซื้อตามหลัก “ผู้ใดกล่าวอ้างผู้นั้นนำสืบ” ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84/1 ซึ่งในคดีผู้บริโภคก็ยังคงเป็นไปตามตามหลักทั่วไปนี้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดี หากเป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงดังกล่าวอยู่ในความรู้เห็นของผู้ประกอบธุรกิจกฎหมายจะผลักภาระการพิสูจน์ให้กับผู้ประกอบธุรกิจ ตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551
5.จำนวนเงินที่ผู้บริโภคจะได้รับคืนในกรณีที่สินค้ามีความชำรุดบกพร่องร้ายแรงมีการกำหนดหลักการไว้อย่างชัดเจนและมีการกำหนดให้มีการเยียวยาที่สมเหตุสมผลไว้ในมาตรา 263 แห่ง Competition and Consumer Act 2010 (Cth) ที่ว่าหากผู้บริโภคได้ปฏิเสธสินค้าตามมาตรา ๒๕๙ แล้วนั้นผู้บริโภคจะต้องคืนสินค้าให้แก่ผู้จำหน่ายและผู้จำหน่ายจะต้องคืนเงินที่ผู้บริโภคชำระเป็นค่าสินค้าหรือเปลี่ยนสินค้าใหม่ให้กับผู้บริโภคโดยสินค้าที่เปลี่ยนจะต้องเป็นสินค้าชนิดเดียวกันและมีมูลค่าใกล้เคียงกับสินค้าเดิมกรณีรถยนต์มีความชำรุดบกพร่องตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกำหนดให้มีการหักค่าเสื่อมราคารถยนต์สูงถึงร้อยละ 40 กล่าวคือ หักค่าเสื่อมร้อยละ 20 ในปีที่หนึ่ง ร้อยละ 12 ในปีที่สอง และร้อยละ 8 ในปีที่สามนอกจากนี้ในทางการพาณิชย์คู่สัญญาอาจเขียนข้อกำหนดเรื่องนี้ไว้ในสัญญาซื้อขายที่ทำขึ้นระหว่างกันให้แตกต่างจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายได้ อย่างไรก็ดี มาตรา 39 และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ให้อำนาจแก่ศาลในคดีผู้บริโภคสามารถพิพากษาเกินคำขอในการที่จะบังคับให้ผู้ผลิตหรือผู้ขายชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินหรือให้ผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนสินค้าใหม่ให้แก่ผู้บริโภคแทนการแก้ไขซ่อมแซมสินค้าที่ชำรุดบกพร่องให้แก่ผู้บริโภคหากว่าผู้ผลิตหรือผู้ขายนั้นไม่อาจแก้ไขเหตุชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้นแก่ผู้บริโภคได้
6.อายุความการฟ้องคดีในกรณีสินค้าชำรุดบกพร่องกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีจากเวลาที่ผู้จำหน่ายได้จำหน่ายสินค้าให้กับผู้บริโภคจนถึงเวลาที่เหมาะสมที่สามารถคาดการณ์ได้ว่าข้อบกพร่องจะแสดงออกมา
โดยคำนึงถึง (1) ประเภทของสินค้า (2) การใช้งานของผู้บริโภค (3)ระยะเวลาที่เหมาะสมที่สินค้าถูกใช้งาน
และ (4) จำนวนครั้งที่เหมาะสมที่สินค้านั้นถูกใช้งานก่อนที่ข้อบกพร่องจะแสดงออกมา
อายุความในกรณีสินค้ามีความชำรุดบกพร่องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น มีระยะเวลาเพียง 1 ปี นับแต่ผู้ซื้อสินค้าพบความชำรุดบกพร่องเท่านั้น แต่หากคดีดังกล่าวเป็นคดีผู้บริโภคหรือคดีเกี่ยวกับสินค้าไม่ปลอดภัยกฎหมายจะกำหนดให้มีอายุความยาวขึ้นโดยผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคจะต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายใน 3 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องรับผิด แต่ไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและหากมีการเจรจาเกี่ยวกับค่าเสียหายให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ในระหว่างนั้นจนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะได้บอกเลิกการเจรจา
7. พฤติกรรมของผู้ขายที่ถือว่าขัดกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเมื่อผู้บริโภคแจ้งให้ผู้ขายรับผิดในสินค้าที่มีความชำรุดบกพร่องกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของออสเตรเลียมาตรา 21
ซึ่งกำหนดมิให้ผู้ใดข้องเกี่ยวกับการกระทำ ที่ไม่เป็นธรรมอย่างร้ายแรงในการจำหน่าย
สินค้า (Unconscionable Conduct)
ไม่มีการบัญญัติเรื่องการกำหนดมิให้ผู้จำหน่ายสินค้านำเสนอเกี่ยวกับสินค้า (False or Misleading Representation) โดยทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดในประเด็นเกี่ยวกับการรับประกันสินค้าไว้อย่างชัดเจนหากเทียบกับกฎหมายไทยอาจเทียบได้กับมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ซึ่งบัญญัติให้ผู้ประกอบการทุกคนต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้เสียหายในความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยและสินค้านั้นได้มีการขายให้แก่ผู้บริโภคแล้วไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการหรือไม่ก็ตาม

อกสารโครงการจัดทำข้อสรุปกรณีศึกษาคำพิพากษาศาลออสเตรเลีย ระหว่าง Australian Competition and Consumer Commission (ACCC) กับ Mazda Australia Pty Ltd (๒๐๒๑) ตามหมายเลขเอกสารที่ VID ๑๑๖๙ of ๒๐๑๙ พิพากษาโดย O’CALLAGHAN J และแปลคำพิพากษาในส่วนที่มีความสำคัญ