ทุกวันนี้มีเพจปลอมถูกเปิดใหม่ทุกวัน และหน่วยงานภาครัฐที่มีอำนาจไม่สามารถดำเนินการปิดเพจปลอมเหล่านี้ได้อย่างทันท่วงที และเมื่อผู้บริโภคตกเป็นเหยื่อมิฉาชีพแล้ว โอกาสที่จะได้เงินคืนก็ดูเหมือนจะไม่ง่ายนัก ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดคือการป้องกันตัวจากการถูกหลอก วันนี้สภาผู้บริโภคเลยมี 4 ขั้นตอน ตรวจสอบเพจในเฟซบุ๊กว่าเป็นเพจปลอมหรือไม่ มาฝากกัน
- เช็กว่าเป็นเพจเจ้าของแบรนด์หรือไม่
> ดูว่ามี verify badge ไหม หรือ
> ดูว่าใช่เฟซบุ๊กเดียวกับที่อยู่ในเว็บของบริษัทหรือเปล่า
ทั้งนี้ สำหรับเพจที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่มี verify badge ก็สามารถเช็กได้จาก 3 ข้อด้านล่าง - เช็กดูคอมเมนต์และการกดถูกใจ :ถ้าปิดคอมเมนต์หรือมีคนกดโกรธ สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าเพจนี้โกง!
- เช็กชื่อบัญชีธนาคาร : ลองนำชื่อบัญชีธนาคารที่ต้องโอนเงินไปเสิร์ชในกูเกิ้ล อาจจะมีประวัติการโกงก็ได้นะ
- เช็กประวัติคนโกงอีกหนึ่งรอบ : นำชื่อหรือเลขที่บัญชีธนาคาร ไปเสิร์ชใน www.blacklistseller.com หรือ www.ฉลาดโอน.com
สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการปรึกษา – ร้องเรียนปัญหา สามารถติดต่อสภาผู้บริโภคได้ ตามช่องทางด้านล่างนี้
📬ร้องเรียนผ่านเว็บไซต์ : https://crm.tcc.or.th/?entryPoint=Portal&action=complain…
📬 ไลน์ออฟฟิเชียล (Line Official) : @tccthailand หรือคลิกลิงก์ https://lin.ee/uhDyO1U
📬 อีเมล : [email protected]
📬 โทรศัพท์ : 02 239 1839 กด 1, 081 134 9215 หรือ 081 134 9216
📬 อินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก (Facebook Inbox) : สภาองค์กรของผู้บริโภค