ASEAN+3 Conference THAILAND 2024

Consumer Protection in the Digital Economy an AI

สภาองค์กรของผู้บริโภค
สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมาเลเซีย
มูลนิธิผู้บริโภคอินโดนีเซีย

สานพลังอาเซียนบวกสาม เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในเศรษฐกิจดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์

การค้าโลกในปัจจุบันมีลักษณะเป็นการค้าที่ไร้พรมแดน เนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทัลที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ธุรกิจดิจิทัลไม่ใช่แค่การซื้อขายออนไลน์ทั่วไป แต่กำลังเข้าสู่ระยะของการปฏิวัติของปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันและถูกนำมาใช้ในบริการแพลทฟอร์มจิทัลมากขึ้น AI ได้กลายเป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถเข้าใจในความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วทั้งยังสามารถคิดค้นรูปแบบวิธีการตอบสนองต่อผู้บริโภคแต่ละรายได้อีกด้วย

อย่างไรก็­ตาม การใช้ AI ในแพลตฟอร์มดิจิทัลก็ได้สร้างปัญหาการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคได้ในหลายรูปแบบ เช่น การฉ้อโกง การหลอกลวง การเผยแพร่ข้อมูลเท็จ การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และการใช้อำนาจผูกขาดของผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม ส่งผลให้ในแต่ละประเทศต้องมีนโยบายหรือการกำกับดูแลที่สมดุลระหว่างการส่งเสริมทางธุรกิจและการควบคุมดูแลเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค เพื่อสร้างระบบนิเวศหรือพื้นที่ดิจิทัล (Digital Space) ที่มีความปลอดภัย มีระดับการแข่งขันที่เหมาะสม และเหมาะสมต่อการพัฒนานวัตกรรมใหม่

ในปี พ.ศ.2540 ได้มีกรอบความร่วมมือของกลุ่มประเทศ “อาเซียนบวกสาม” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกสมาคมประชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) กับประเทศอื่นนอก กลุ่มอาเซียนอีก 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก และนำไปสู่การจัดตั้งชุมชนเอเชียตะวันออก (East Asian Community) โดยชุมชนเอเซียตะวันออกนี้มีประชากรรวมกันมากกว่า 1 ใน 4 ของประชากรโลก และมีพฤติกรรมการบริโภคผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นลำดับต้น ๆ ของโลกจึงมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมแพลตฟอร์ม E-Commerce ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการกำหนดแนวทางความร่วมมือขององค์กรผู้บริโภคในชุมชนเอเซียตะวันออก ในการดำเนินการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคจากธุรกิจแพลตฟอร์ม E-Commerce และการใช้ AI ให้มีมาตรฐานในการแสดงความรับผิดชอบ ต่อผู้บริโภคด้วยความเป็นธรรม

สภาองค์กรของผู้บริโภค (สภาผู้บริโภค) ในฐานะเป็นกลไกผลักดันนโยบายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ.2562 มีอำนาจคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคในทุกด้าน เห็นความสำคัญเรื่องนี้จึงจัดทำโครงการประชุม สานพลังอาเซียนบวกสาม ยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคในเศรษฐกิจดิจิทัล และปัญญาประดิษฐ์ ขึ้น เพื่อเป็นเวทีความร่วมมือแลกเปลี่ยนความรู้ในการคุ้มครองผู้บริโภคและการใช้ AI ที่เป็นธรรม ขององค์กรของผู้บริโภค หน่วยงานรัฐ หน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย ร่วมกับกลุ่มองค์กรของผู้บริโภคในภูมิภาค “อาเซียนบวกสาม” เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางความร่วมมือในการคุ้มครองผู้บริโภคจากการใช้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์ม และการใช้ AI ที่เป็นธรรม


ในฐานะผู้ริเริ่ม เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในเศรษฐกิจดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ สภาองค์กรของผู้บริโภค ร่วมกับ มูลนิธิผู้บริโภคอินโดนีเซีย (YLKI) และ สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมาเลเซีย (FOMCA) ในฐานะผู้ประสานงานหลักขององค์กรคุ้มครองผู้บริโภค 21 องค์กรในภูมิภาคอาเซียน ได้ร่วมกันดำเนินโครงการสานพลังอาเซียนบวกสาม เพื่อเป็นเวทีในการหารือประเด็นปัญหา ความท้าทาย รวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิผู้บริโภคจากเศรษฐกิจดิจิทัล และปัญญาประดิษฐ์ โครงการนี้มุ่งส่งเสริมความร่วมมือ และการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค และเอไอ ระหว่างองค์กรผู้บริโภค รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภาคเอกชนในประเทศไทย และประเทศ “อาเซียนบวกสาม” โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างการคุ้มครองผู้บริโภค และส่งเสริมแนวปฏิบัติที่มีความรับผิดชอบในการใช้สื่อดิจิทัล

The Initiative on Joint Collaboration among the ASEAN Consumers Organizations Plus Three Countries on Consumer Protection in the Digital Economy and Artificial Intelligence

In the current landscape of global trade, the rapid advancement of digital technology is reshaping traditional business practices. The emergence of online business transactions signifies a pivotal shift towards a digital economy where artificial intelligence (AI) and machine learning play significant roles in shaping consumer experiences. AI has notably empowered businesses by enabling them to better understand consumer needs and preferences, thereby enhancing their ability to deliver personalized services.

However, the integration of AI into digital platforms has brought along a set of challenges, particularly in terms of consumer protection. Issues such as deceptive practices, dissemination of false information, infringement of personal rights, and monopolistic behavior by platform providers have raised concerns regarding consumer rights violations. Consequently, various countries have been compelled to formulate policies and regulations that strike a balance between fostering business innovation and safeguarding consumer interests. The overarching goal is to foster a secure digital ecosystem that promotes healthy competition while nurturing the growth of innovative solutions.

In 1997, the “ASEAN Plus Three” framework was introduced to enhance collaboration among member countries of the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) and the key nations including China, South Korea, and Japan. This partnership aimed to bolster sub-regional cooperation in East Asia and paved the way for the establishment of the East Asian Community. With a combined population exceeding one quarter of the world’s total population, this community places a strong emphasis on consumer behavior within digital platforms, given the escalating influence of the E-Commerce sector globally. As such, the articulation of cooperative guidelines among East Asian nations becomes imperative to defend and uphold consumer rights within the realm of E-Commerce and AI.

The Thailand Consumers Council, serving as the voice of the Thai consumers, was established in accordance with the Establishment of Consumers Organization Council Act, B.E.2562 (2019). Empowered with the mandate to safeguard and advocate for consumer rights across all domains in Thailand, the Council is spearheading a project “The Initiative on Joint Collaboration among the ASEAN Consumers Organizations Plus Three Countries on Consumer Protection in the Digital Economy and Artificial Intelligence

As the first initiative, Thailand Consumers Council together with The Yayasan Lembaga Konsumen Indonesia (YLKI) and the Federation of Malaysian Consumers Associations (FOMCA), the current coordinator of the ASEAN Consumer Alliance Center of 21 consumer associations in the ASEAN countries have jointly organized a two-day conference as a forum for knowledge sharing and exchanging views on important issues, challenges and solutions on consumer rights’ protection concerning digital economy and AI.

This initiative seeks to foster collaboration and knowledge exchange on consumer protection and AI among consumer organizations and private sector stakeholders in Thailand and across the “ASEAN Plus Three” countries. The focus idea is to strengthen cooperation on consumer protection and to promote responsible practices in the digital realm.


News



บันทึกการถ่ายทอดสด

วันที่ 29 สิงหาคม 2567 (ช่วงเช้า-1)
หัวข้อ “สถานการณ์ปัญหาและการจัดการปัญหาผู้บริโภค ด้านดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์” ในกลุ่มประเทศอาเซียนบวกสาม

วันที่ 29 สิงหาคม 2567 (ช่วงเช้า-2)
หัวข้อ “สถานการณ์ปัญหาและการจัดการปัญหาผู้บริโภค ด้านดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์” ในกลุ่มประเทศอาเซียนบวกสาม

วันที่ 29 สิงหาคม 2567 (ช่วงบ่าย)
หัวข้อ “แนวทางและมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล และปัญญาประดิษฐ์ (AI)”

วันที่ 30 สิงหาคม 2567
การนำเสนอ (ร่าง) แผนความร่วมมือขององค์กรผู้บริโภคอาเซียนบวกสาม / ระดมความคิดเห็น และสรุปแผน


เอกสารการประกอบการนำเสนอ

“แนวทางและมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล และปัญญาประดิษฐ์ (AI)”
29 สิงหาคม 2567