เพจปลอม/เพจมิจฉาชีพที่ผู้บริโภคควรระวัง

ตลอดเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สภาองค์กรของผู้บริโภค (สภาผู้บริโภค) ได้ดำเนินการแจ้งเตือนภัยถึงกลลวงมิจฉาชีพในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการแจ้งเตือนภัยเกี่ยวกับการซื้อสินค้าออนไลน์ โดยในปัจจุบันมิจฉาชีพได้มีการสร้างเพจปลอม 2 รูปแบบ ดังนี้

  1. การสร้างเพจปลอมเลียนแบบเพจจริงที่มีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก
  2. การสร้างเพจปลอมเพื่อหลอกขายสินค้าหรือหลอกให้บริการต่างๆ

ซึ่งในเดือนมีนาคม สภาผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับเพจปลอมของมิจฉาชีพด้วยกันทั้ง 8 บัญชี สภาผู้บริโภคจึงนำมารวมไว้เพื่อเตือนภัยผู้บริโภคอีกครั้งและสภาผู้บริโภคได้ดำเนินการส่งรายชื่อเพจทั้งหมดแจ้งไปยัง Facebook Thailand เพื่อระงับเพจปลอมไม่ให้หลอกลวงผู้บริโภคได้อีก

เพจปลอมสร้างเลียนแบบเพจจริงและเพจมิจฉาชีพ

  • เพจหน่วยงานช่วยเหลือคดีอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต ปลอมเปิดเลียนแบบเพจสภาองค์กรของผู้บริโภค
  • เพจมังคุดคัดของดีเมืองนคร By แม่วรรณี บัญชีธนาคาร เกียรตินาคินภัทร เลขที่บัญชี 202-2-59165-6 ชื่อศุณัณธิณี เนวะมาตย์
  • เพจถังแช่น้ำแข็ง ราคาโรงงาน By พรธิดา คนโต บัญชีธนาคารยูโอบี เลขที่บัญชี 313-322-1423 ชื่อน.ส. เยาวลักษณ์ ศรีเจริญ
  • เพจจำหน่ายไทย-Denmark Milk ธนาคารซีไอเอ็มบี ชื่อบัญชี ปิยะพงษ์ เเขนงแก้ว
  • เพจ Vintage Shop ธนาคารยูโอบี เลขที่ 313-339-418-2 ชื่อนายบุญช่วง วังพิมูล
  • เพจ ผลไม้นำเข้า ต่างประเทศ Fruit Delivery ธนาคารยูโอบี เลขบัญชี 313-358-399-6 ชื่อ น.ส. โสรญา สวัสดิ์วงค์ไชย
  • เพจ Koh Munnork Private Island บัญชีธนาคารยูโอบี เลขที่บัญชี 3133634051 ชื่อนางสาวโสภาภรณ์ ค้นหาสุข
  • เพจลิ้นชักลายลิขสิทธิ์แท้ ธนาคารยูโอบี เลขที่บัญชี 313-3631-346 ชื่อ นายนิวัฒน์ บุญประเสริฐ
  • เพจAEW ชุดโต๊ะแคมป์ปิ้ง ราคาโรงงาน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เลขที่บัญชี 059-9-25010-3 ชื่อกิติศักดิ์ พุ่มฉิม

การป้องกันระวังเพจปลอม

  1. เพจปลอมโดยส่วนมากจะไม่มีการยืนยันตัวตนหรือ verify badge ที่จะปรากฏอยู่ด้านหลังชื่อเป็นเครื่องหมายติ๊กถูกสีขาว
  2. ดูความน่าเชื่อถือของเพจ รีวิวจากผู้ซื้อสินค้า รวมถึงการกดรีแอคชั่นเนื่องจากผู้ขายปิดการคอมเม้นหรือลบคอมเม้นที่ไม่ดีออกไป เช่น หากมีการกดโกรธจำนวนมากอาจหมายถึงผู้ซื้อไม่พึงพอใจในสินค้าที่ได้รับหรือสั่งซื้อสินค้าแล้วไม่ได้รับสินค้า
  3. ควรตรวจสอบสถานะเพจก่อนทุกครั้ง โดยเข้าไปที่ หัวข้อ “เกี่ยวกับ” ดูหมวดหมู่ว่าสอดคล้องกับเนื้อหาภายในเพจหรือไม่  และไปที่ “ความโปร่งใสของเพจ” และกดเลือก “ดูทั้งหมด” ให้สังเกตตรงประวัติ หากพบว่ามีการสร้างขึ้นมาไม่นาน หรือเพิ่งมีการเปลี่ยนชื่อ อาจสงสัยไว้ก่อนว่าเป็นเพจที่สร้างขึ้นมาเพื่อหลอกลวง
  4. ก่อนโอนเงินควรตรวจสอบเลขบัญชีก่อนว่ามีชื่ออยู่ในรายการคนโกงหรือไม่ โดยนำชื่อ-นามสกุลของหรือเลขบัญชีธนาคาร หรือเบอร์พร้อมเพย์ ค้นหาในเว็บไซต์ https://www.blacklistseller.com/  หรือเว็บไซต์ https://www.chaladohn.com/   
  5. หลีกเลี่ยงการซื้อสินค้าผ่านทาง Facebook เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบเจ้าของบัญชีได้โดยง่าย

หากผู้บริโภคได้รับความเสียหาย เช่น สั่งของแต่ไม่ได้รับของ ร้านบล็อกหนี หรือได้รับของไม่ตรงตามที่สั่งไป แนะนำให้ทำตามขั้นตอน ดังนี้

  1. แจ้งความที่สถานีตำรวจใกล้บ้าน และแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า ‘ขอให้ดำเนินคดีถึงที่สุด’ อย่าทำเพียงแค่ลงบันทึกประจำวัน หรือแจ้งความออนไลน์ที่นี่ https://thaipoliceonline.com/ หรือติดต่อไปที่สายด่วนตำรวจไซเบอร์ 1441
  2. สามารถร้องเรียนไปที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับของภาครัฐที่ https://complaint.ocpb.go.th   
  3. ถ้ามีเลขบัญชีธนาคารของร้านค้าหรือผู้ขาย แจ้งธนาคารโดยเร็วที่สุด ขอให้อายัดเงินและระงับบัญชีปลายทาง (ขั้นตอนนี้ยังไม่ต้องมีใบแจ้งความ ถ้าธนาคารถามหา อ้างอิง ‘พ.ร.ก. มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี’ ได้)
  4. กรณีได้รับสินค้าไม่ตรงปกสามารถฟ้องร้องกับศาลแพ่ง ในคดีซื้อขายออนไลน์ ได้ 24 ชั่วโมง คลิกลิงก์ https://efiling3.coj.go.th/eFiling/#/  ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

หรือสามารถแจ้งเบาะแสมายังสภาองค์กรของผู้บริโภคได้ตามช่องทางด้านล่างดังต่อไปนี้

  • ร้องเรียนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ tcc.or.th คลิกลิงก์ https://crm.tcc.or.th/?entryPoint=Portal&action=complain…  
  • ไลน์ออฟฟิเชียล (Line Official) : @tccthailand คลิกลิงก์ https://lin.ee/uhDyO1U
  • อินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก (Facebook Inbox) : สภาองค์กรของผู้บริโภค
  • อีเมล : [email protected]
  • โทรศัพท์ : เบอร์สายด่วน 1502