สถาบันธรรมาภิวัฒน์ (หน่วยงานประจำจังหวัดลำปาง)

ประวัติความเป็นมา
สถาบันธรรมาภิวัฒน์ก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 (วันวิสาขบูชา) โดยพระอาจารย์สาธิต ธีรปญฺโญ เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นองค์กรสำหรับเผยแผ่พระพุทธศาสนาส่งเสริมการศึกษา และพัฒนาสังคม

  1. ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน,ผู้สูงอายุ,ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส
  2. ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขต่างๆ
  3. ด้านการสนับสนุนส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรปลอดภัย
  4. ด้านการปกป้องและคุ้มครองสิทธิ
  5. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
  6. ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ
  7. ด้านการสนับสนุนส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์
  8. ด้านการสืบสานภูมิปัญญาพื้นบ้านและศิลปวัฒนธรรม
  9. ด้านอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  10. ด้านสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ

วิสัยทัศน์
“เราจะเป็นองค์กรสำหรับเผยแผ่พระพุทธศาสนา ส่งเสริมการศึกษา และพัฒนาสังคม”

พันธกิจ

  1. สร้างความเข้มแข็งผู้บริโภค ผลักดันให้ภาครัฐมีนโยบายหรือมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภค
  2. ส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทุกรูปแบบทุกมิติ
  3. ส่งเสริมการศึกษา จัดการศึกษาสนับสนุนการวิจัย การถ่ายทอดองค์ความรู้ทุกมิติ
  4. พัฒนาสังคมในทุกรูปแบบโดยเน้นการพัฒนาประชาชนให้เป็นผู้บริโภคที่มีคุณภาพ

นโยบาย
“เราจะเป็นองค์กรที่พัฒนาสังคมในทุกรูปแบบ เน้นการพัฒนาประชาชนให้เป็นผู้บริโภคที่มีคุณภาพ สร้างการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างเข้มแข็ง”

รางวัล/ผลงานที่ได้รับการยอมรับ

  1. รางวัลการดำเนินกิจกรรมการน้อมนำพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ กระทรวงมหาดไทย
  2. รางวัลบุคคลดีเด่นด้านการต่อต้านการทุจริต ประจำปี 2566 เนื่องในโอกาสครบรอบ 8 ปี ของมูลนิธิต่อต้านการทุจริต จากศาตราจารย์เกียรติคุณวิชา มหาคุณ ประธานกรรมการมูลนิธิต่อต้านการทุจริต
  3. สนับสนุนและนำเสนอองค์ความรู้การส่งเสริมคุณธรรมอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ภาคเหนือ
  4. รางวัลองค์กรที่มีส่วนร่วมสนับสนุนในการขับเคลื่อน ศูนย์ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมภาคธุรกิจ (CSR) จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ผลงานเด่น

1. ด้านการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคทั้ง 8 ด้าน

  • จัดตั้ง คณะทำงานรับเรื่องร้องเรียน โดยประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ อำเภอแม่เมาะ เพื่อสร้างกลไกการรับฟังและแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
  • จัดตั้ง กลุ่มไลน์เครือข่ายการรับเรื่องร้องเรียน เพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งต่อข้อมูลและประสานงานอย่างรวดเร็ว
  • ในช่วงปี 2565 – 2567 รับเรื่องร้องเรียนผ่านระบบ CRM ของสภาผู้บริโภค รวมทั้งสิ้น 103 เรื่อง ซึ่งได้มีการดำเนินการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม

2. ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส

  • จัดตั้ง ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตฯ ตำบลสบป้าด เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพสำหรับประชาชนในพื้นที่
  • จัดตั้ง โรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลสบป้าด โดยมุ่งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับผู้สูงวัย
  • ร่วมดำเนินโครงการกับ กองทุนพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำปาง เพื่อยกระดับความเป็นอยู่และเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคม

3. ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุข

  • ดำเนินโครงการ เครือข่ายประชาคมงดเหล้าจังหวัดลำปาง เพื่อสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการลดการบริโภคสุราในชุมชน
  • จัดอบรมเพื่อสร้าง ความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาการดื่มสุราและการสูบบุหรี่ โดยมุ่งเน้นการลดนักดื่มหน้าใหม่ในกลุ่มสถานศึกษาในจังหวัดลำปาง

4. ด้านการส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรปลอดภัย

  • จัดตั้ง ศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมวิถี เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในการทำเกษตรแบบยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  • จัดตั้งพื้นที่ แปลงเกษตรปลอดสารพิษ ที่พร้อมเปิดให้ประชาชน ชุมชน และหน่วยงานต่าง ๆ เข้าศึกษาและเรียนรู้เชิงปฏิบัติจริง

5. ด้านสาธารณะประโยชน์และการมีส่วนร่วมของประชาชน

  • รับฟังความคิดเห็นและข้อกังวลของประชาชนเกี่ยวกับ การคัดค้านการทำเหมืองแร่พลวง ในพื้นที่ บ้านแม่เลียง ตำบลเสริมขวา อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชุมชนและสิ่งแวดล้อม
  • ให้การสนับสนุนและดำเนินการยื่นหนังสือแทนประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจาก ฟาร์มหมูในอำเภอแม่ทะ โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาเชิงรุกและลดผลกระทบต่อชุมชน

ติดต่อร้องเรียนได้ที่ :  249/42 ถ.เขลางค์นคร ตำบลหัวเวียง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 52000
โทรศัพท์ : 
054-012274
Facebook : 
https://www.facebook.com/Lampangconsumers