การรับบริการสุขภาพ การจัดบริการสุขภาพ โดยเฉพาะการจัดระบบหลักประกันสุขภาพ ถือเป็นหัวใจสำคัญในการรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนโดยรัฐ แต่จากสถานการณ์ปัญหาของผู้บริโภคในปัจจุบันกลับพบปัญหาการเข้าไม่ถึงระบบการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นความล่าช้า การวินิจฉัยโรคที่คลาดเคลื่อน การเข้าไม่ถึงสิทธิการรักษาพยาบาล ตลอดจนความเหลื่อมล้ำระหว่างระบบหลักประกันสุขภาพ จากการมีระบบหลักประกันสุขภาพที่แตกต่างกันหลายระบบ โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของโควิด -19 ส่งผลให้ปัญหาการเข้าไม่ถึงสิทธิการรักษาและบริการสุขภาพกลายเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะผู้บริโภคที่มีฐานะยากจนเข้าไม่ถึงการรักษาพยาบาล คนรวยสามารถซื้อคุณภาพการรักษาที่ดีได้
ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่สภาผู้บริโภคตระหนักและพยายามศึกษาข้อมูลเพื่อนำเสนอแนวทางแก้ไข รวมทั้งพยายามส่งเสริมเชิงนโยบายให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพทั่วถึงและเท่าเทียม
การเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประชาชนทุกคน โดยไม่มีการแบ่งแยกชนชั้น เชื้อชาติ หรือฐานะการเงิน ประชาชนควรได้รับการรักษาพยาบาลที่ดีและทั่วถึง การเข้าถึงการรักษาพยาบาลเป็นสิทธิมนุษยชนที่ประชาชนทุกคนในแผ่นดินไทยพึงได้รับจากรัฐ
ข้อเสนอนโยบาย และมาตรการที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอนโยบายและมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค กรณี การส่งต่อผู้ป่วยบัตรทองในเขตกรุงเทพมหานคร
ความเป็นมา / สถานการณ์ ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ดำเนินโครงการคลินิกชุมชนอบอุ่นร่วมกับคลินิกเอกชนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีคลินิกเวชกรรมจำนวนกว่า 300 แห่ง เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการเบื้องต้นหรือผู้ป่วยนอก และสามารถส่งตัวผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลหรือหน่วยบริการที่มีศักยภาพมากกว่า หากจำเป็นต้องเข้ารับการรักษา เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือบัตรทองสามารถเข้ารับบริการสุขภาพในระดับต่างๆ ได้สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึงมากขึ้น จากปัญหาเรื่องการบริหารจัดการเรื่อง ระบบการเบิกจ่ายระหว่างคลินิกชุมชนอบอุ่นและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขตพื้นที่ 13 ทำให้มีการปฏิเสธการออกใบส่งตัวผู้ป่วย การเรียกเก็บค่าออกใบส่งตัว การบังคับบริจาคการออกใบส่งตัว การจำกัดโควต้าการออกใบส่งตัว หรือการส่งตัวที่ล่าช้าทำให้อาจจะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้ป่วย ปัญหาการจ่ายยาให้กับผู้ป่วยโรค NCDs ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน 7 วัน และ 10 วัน ซึ่งปกติจ่ายเป็นเดือน ส่งผลต่อภาระค่าใช้จ่าย และเสียเวลางานในการมารับยา หรือถ้าต้องการยาเพิ่มต้องจ่ายเงินเพิ่มเอง จนทำให้เกิดข้อร้องเรียนซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการเบิกจ่ายตามข้อเสน…
ข้อเสนอต่อมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (COVID-19) ในการสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาค 1 ปีการศึกษา 2564 (เพิ่มเติม)
สถานการณ์ ตามที่สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาประกาศมาตรการการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในการสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาค 1 สมัยที่ 74 ปีการศึกษา 2564 (เพิ่มเติม) โดยกำหนดให้ผู้เข้าสอบต้องดำเนินการตามมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ดังนี้ 1. ให้ผู้เข้าสอบตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้แก่ การตรวจ RT-PCR หรือการตรวจด้วยชุดตรวจเร็ว (Antigen Test Kit) โดยมีเอกสารรับรองผลการตรวจจากสถานบริการทางการแพทย์ หรือหน่วยบริการไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนสอบ 2. ให้ผู้เข้าสอบนำเอกสารรับรองผลการตรวจในข้อ 1 และหลักฐานการได้รับวัคฉีคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 เข็ม มาแสดงพร้อมบัตรประจำตัวผู้เข้าสอบ และบัตรนักศึกษา ณ จุดคัดกรองประจำอาคารสอบในวันสอบด้วย 3. หลังจากวันสอบในแต่ละครั้ง หากผู้เข้าสอบตรวจพบเชื้อในระหว่างก่อนสอบในครั้งถัดไป ให้ผู้เข้าสอบแจ้งแผนกประเมินผล สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาพร้อมผลตรวจทันที โดยขอให้ผู้เข้าสอบปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวอย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นจะมิได้รับอนุญาตให้เข้าสอบ อย่างไรก็ตาม แม้มาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังกล่าว จะเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาในสนามสอบ ขณะเดียวกัน ก็เป็นการกีดกันผู้เข้าสอบกลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่สามารถดำเนินการตามมาตรการในกา…
ข้อเสนอต่อมาตรการตรวจเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ผ่านชุดตรวจคัดกรองโควิดด้วยตนเอง (Rapid Antigen Test Kit) ในโรงพยาบาล
สถานการณ์ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประเทศไทยมีวิธีบริหารจัดการการป้องกันโรคติดเชื้อฯ ผ่านการรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปฉีดวัคซีนต้านเชื้อไวรัสโคโรนา โดยเฉพาะการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและลดอัตราการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อในวงกว้าง แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบผลการวิจัยที่ยืนยันอย่างชี้ชัดว่า วัคซีนแต่ละชนิดนั้นมีความปลอดภัยเพียงพอต่อสุขภาพและชีวิตของผู้คนทุกเพศทุกวัยอย่างไร จากประกาศของโรงพยาบาลยโสธร ที่เชิญชวนให้ประชาชนจังหวัดยโสธร ฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 โดยมีข้อกำหนดที่ระบุว่า กรณีผู้ป่วยนอกของผู้รับบริการโรงพยาบาลยโสธร ต้องได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบ 3 เข็ม หากได้รับวัคซีนไม่ครบ 3 เข็ม ต้องได้รับการตรวจ ATK ก่อนพบแพทย์ โดยต้องชำระค่าตรวจ 400 บาท การตรวจ ATK กรณียินยอมฉีดวัคซีน เข็ม 3 ตรวจฟรี ไม่ต้องชำระเงิน และ กรณีที่ระยะห่างของการฉีดเข็มที่ 2 กับเข็มที่ 3 ยังไม่ครบกำหนดฉีดวัคซีน ต้องได้รับการตรวจคัดกรองโควิดด้วยตนเองก่อนเข้ารับบริการ ตรวจฟรี ไม่ต้องชำระเงิน ประกาศดังกล่าว แม้จะเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปฉีดวัคซีนต้านเชื้อไวรัสโคโรนา เข็มที่ 3 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและลดการแพร่เชื้อ แต่ขณะเดียวกัน การมีเงื่อนไขให้ผู้รับบริการที่ฉีดวัคซีนไม่ครบจำนวน 3 เข็ม ตามที่โรงพยาบาลกำหนด จะต้องชำระค่าตรวจคัดกรองโควิดด้วยตนเอง ซึ่งมีค่าใช้จ่าย…
ข้อเสนอต่อนโยบายเปิดทางเลือกซื้อประกันสุขภาพผ่านบริษัทเอกชน สำหรับการประกันสุขภาพให้กับแรงงานข้ามชาติที่ได้รับอนุญาตทำงาน เพื่อให้ได้รับการคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนด
สถานการณ์ จากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันอังคารที่ 13 กรกฏาคม 2564 และมติ ครม.เมื่อวันอังคารที่ 28 กันยายน 2564 ที่เห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของแรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติ อันได้แก่ กัมพูชา ลาว และเมียนมา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยมีเงื่อนไขสำคัญว่า แรงงานข้ามชาติที่ได้รับอนุญาตทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทย จะต้องทำประกันสุขภาพกับโรงพยาบาลรัฐตามประกาศที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด หรือทำประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัยเอกชน ซึ่งครอบคลุมการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ตามเงื่อนไขที่แต่ละบริษัทกำหนด โดยมีราคาเบี้ยประกันเริ่มตั้งแต่ 990 – 1,175 บาท ระยะเวลาการคุ้มครอง 4 เดือน จากการดำเนินงานตามมติดังกล่าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานอำนวยความสะดวกแก่นายจ้าง โดยได้แนบรายชื่อบริษัทประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย 3 บริษัท ที่รับทำประกันสุขภาพให้กับแรงงานข้ามชาติ ได้แก่ บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัทเอเชียประกันภัย 1950 ซึ่งทั้งหมดเป็นรายชื่อบริษัทที่ขอเลิกกิจการ คืนใบอนุญาต และถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ตามคำสั่งกระทรวงการคลัง เนื่องจากมีฐานะการเงินไม่มั่นคง จ่ายค่าสินไหมทดแทนล่าช้า และมีการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ดังนั้น การสร้างทางเลือกให้…