ปัญหาอันดับหนึ่งที่ผู้บริโภคร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่าง ๆ คือปัญหาเรื่องการเงิน การธนาคาร เช่น สัญญาการกู้ยืมเงินที่ไม่เป็นธรรม การทวงหนี้ที่ผิดกฎหมาย คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ถูกฉ้อโกงในรูปแบบต่าง ๆ ในยุคดิจิทัล เงินหายไปจากบัญชีโดยไม่ทราบสาเหตุ ถูกยึดทรัพย์ ขายทอดตลาด นอกจากนั้น ยังมีปัญหาจากการกู้ยืมเงินนอกระบบ ปัญหาเหล่านี้นับวันจะทวีความรุนแรงและแพร่กระจายเป็นวงกว้าง เพราะการเงินเป็นเรื่องใกล้ตัว เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของทุกคน สภาผู้บริโภค เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคเกิดจากสาเหตุหลายประการด้วยกัน ทั้งจากตัวผู้บริโภคเองที่ขาดความรู้ ความเข้าใจ ความระมัดระวังในการทำธุรกรรมทางการเงิน ปัญหาจากผู้ประกอบการที่ขาดความรับผิดชอบและจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม เป็นต้น
สภาผู้บริโภคจึงได้รวบรวมกรณีตัวอย่างปัญหาทางการเงินที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภค แนวทางการแก้ไข และองค์ความรู้สำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคมีความเท่าทันในเรื่องการเงินและการธนาคาร แนวทาง นโยบาย กฎหมายการเงินการธนาคารในต่างประเทศที่เป็นธรรมสำหรับผู้บริโภค รวบรวมไว้เป็นฐานความรู้เพื่อให้ผู้บริโภคศึกษา หยิบใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อไปได้
ข้อเสนอนโยบาย และมาตรการที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอต่อปัญหาการปล่อยสินเชื่อออนไลน์
สถานการณ์ ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้การใช้ชีวิตสะดวกสบายมากขึ้น ทั้งการซื้อสินค้าออนไลน์ การชำระเงินออนไลน์ หรือแม้แต่การกู้เงินออนไลน์ แม้ว่าเทคโนโลยีจะพัฒนาและก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อย ๆ หากแต่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และการเท่าทันต่อความไม่ปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีดังกล่าว ทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเป็นจำนวนมากใช้ช่องโหว่จากความไม่รู้ของผู้บริโภคแสวงหาผลประโยชน์จากผู้บริโภคอย่างผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการปล่อยสินเชื่อผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (Peer to peer lending : P2P) ขณะที่ ในประเทศไทย แม้จะยังไม่มีการเก็บสถิติจำนวนเรื่องร้องเรียนของผู้ได้รับผลกระทบจากการปล่อยสินเชื่อออนไลน์ หากแต่ปรากฏข่าวพบผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยถูกเอาเปรียบจากการปล่อยเงินกู้ผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น NEGU, NICE LOAN, CASH CARD, CASH LOAN เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นการเรียกเก็บดอกเบี้ยที่สูงกว่ากฎหมายกำหนด การทวงหนี้ที่มีการคุกคามและข่มขู่ประจาน รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลในมือถือโดยไม่ได้รับอนุญาต ถึงแม้ว่าผู้กระทำการเหล่านี้จะถูกจับและดำเนินคดีบ้างแล้วก็ตาม แต่ยังมีแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ รวมถึงการใช้โซเชียลมีเดียอื่น ๆ เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ เป็นต้น ชักชวนให้กู้ยืมเงิน ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจที่ปล่อยสินเชื่อเหล่านี้ บางส่วนยังไม่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้ทำบริการปล่อยสินเชื่อดังกล่าวไ…
ข้อเสนอมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค เรื่อง มาตรการจัดการปัญหาภัยทุจริตทางการเงิน
สถานการณ์ – การดำเนินงาน สภาผู้บริโภคได้จัดเวทีความร่วมมือแก้ไขปัญหาภัยทุจริตทางการเงิน เพื่อติดตามการบังคับใช้พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ตลอดจนพัฒนาความร่วมมือระหว่างสภาองค์กรของผู้บริโภคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดการปัญหาภัยทุจริตทางการเงิน โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สมาคมธนาคารไทย สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ซึ่งสภาผู้บริโภคได้รวบรวมข้อมูลข้อคิดเห็นทั้งหมดจากเวทีดังกล่าว และจัดทำข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภค ความคืบหน้า อยู่ระหว่างการติดตามข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะและมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค กรณีหุ้นกู้ STARK
สถานการณ์ จากสถานการณ์หุ้นกู้ STARK ของบริษัท สตาร์คคอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มีพฤติกรรมที่อาจเข้าข่ายไม่โปร่งใส เช่น สภาพการซื้อขายที่ผิดปกติ การนำเงินไปลงทุนในบริษัทต่างประเทศ การทำธุรกรรมต่างๆในต่างประเทศ การไม่ส่งงบการเงินไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 หรือการส่งงบการเงินประจำปี 2565 ไม่ทันกำหนด การประกาศลาออกของกรรมการบริหารทั้งหมด การแต่งงบการเงิน การทุจริตภายใน การให้ข้อมูลอันเป็นเท็จหรือไม่แจ้งข้อมูลอันเป็นสาระสำคัญในการลงทุน ส่งผลให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ขึ้นสถานะห้ามซื้อขายหุ้นดังกล่าวเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566 ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวจะมีผลกระทบวงกว้างและอาจส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ในระบบเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจและการลงทุน และสืบเนื่องไปถึงการจ้างงานได้ หากการระดมเงินทุนในลักษณะดังกล่าวมีความล้มเหลวและขาดความเชื่อมั่นจนกระทั่งบริษัทต่างๆ ต้องปิดกิจการ การดำเนินงาน เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2566 สภาผู้บริโภคและผู้เสียหายกรณีหุ้นกู้ STARK จึงได้เข้ายื่นหนังสือต่อ ก.ล.ต. เพื่อขอให้เร่งตรวจสอบและขอให้เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ดี สภาผู้บริโภคเห็นว่า เหตุการณ์ดังกล่าวจะมีผลกระทบวงกว้างและอาจส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจและการลงทุน และอาจเกิดผลกระทบสืบเนื่องไปถึงการจ้างงานได้ หากการระดมเงินทุนในลักษณะดังกล่าวมีความล้ม…
ข้อเสนอนโยบายและมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค กรณีบริการสินเชื่อที่มีที่ดินเป็นหลักประกันโดยไม่จดจำนอง
สถานการณ์ สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับบริการสินเชื่อที่มีโฉนดที่ดินเป็นหลักประกันโดยไม่จดจำนอง ของบริษัท ศรีสวัสดิ์ คอปอเรช่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ศรีสวัสดิ์พาวเวอร์ 2014 จำกัด ที่มีการทำสัญญาไม่เป็นธรรมและเอาเปรียบผู้บริโภค ดังนี้ 1) ผู้ขอสินเชื่อไม่ได้รับเอกสารคู่สัญญา โดยเจ้าหน้าที่ของบริษัทอ้างว่าเป็นนโยบายของบริษัท 2) ขายประกันชีวิตและประกันวินาศภัยพ่วง โดยไม่ให้สิทธิผู้บริโภคในการปฏิเสธ 3) คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อเดือน 4) ได้รับเงินไม่ครบตามจำนวนที่ขอสินเชื่อ 5) โฆษณาว่าฟรีค่าธรรมเนียม แต่มีการเรียกเก็บ 6) บริษัทจำกัดการชำระเงินต้น ทำให้ผู้บริโภคต้องมีภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 7) กำหนดให้ผู้กู้ชำระเงินให้ครบภายใน 12 เดือน หากไม่สามารถชำระได้ จะให้ทำสัญญากู้ใหม่ และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมอีกครั้งหนึ่ง 8) เรียกเก็บค่าประเมินหลักประกัน เมื่อชำระเงินกู้ครบตามสัญญาแล้ว จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า มีบริษัทให้บริการสินเชื่อบ้านและโฉนดที่ดินโดยไม่จดจำนองหลายบริษัท เช่น บริษัท ศรีสวัสดิ์ คอปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน), บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน), บริษัท สบาย สบาย ลีสซิ่ง จำกัด และจากรายงานประจำปี 2564 ของบริษัท ศรีสวัสด์ คอเปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพียงบริษัททเดียว พบว่า มูลหนี้สินเชื่อหลักประกันโฉนดที่ดิน บ้าน และคอนโด สูง…
ข้อเสนอแนะและมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค กรณีการเคลมประกันภัยโควิด-19
สถานการณ์ สืบเนื่องจาก สอบ. ได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีประกันโควิด-19 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564 ถึง เดือนมกราคม 2565 เป็นจำนวน 1,069 เรื่อง โดยพบว่าเป็นกรณีร้องเรียนปัญหาถูกปฏิเสธการเคลมประกันภัยโควิด การจ่ายเงินตามสัญญาประกันล่าช้า ไม่ได้รับความสะดวกในการแจ้งเคลมประกัน การดำเนินงาน สอบ. จัดทำข้อเสนอแนะถึงเลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภค ความคืบหน้า อยู่ระหว่างการติดตามข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอต่อกรณีสมาคมประกันชีวิตไทย ได้กำหนดแนวปฏิบัติการให้ความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยสุขภาพ สำหรับผู้เอาประกันที่ติดเชื้อไสรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของบริษัทประกันชีวิต
สถานการณ์ จากกรณีสมาคมประกันชีวิตไทย กำหนดแนวปฏิบัติการให้ความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยสุขภาพ สำหรับผู้เอาประกันที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของบริษัทประกันชีวิต ให้สอดคล้องตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคคลากรทางการแพทย์ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการผู้ป่วยโควิด 19 แบบ Home Isolation ฉบับปรับปรุง เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2565 ซึ่งได้กำหนดแนวทางปฏิบัติให้ผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อยให้กักตัวที่บ้าน (Home Isolation) และแนวทางปฏิบัติการส่งต่อหรือการเข้าเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล ส่งผลให้ผู้เอาประกันภัยที่ป่วยเป็นโรคโควิด หากจะเบิกค่ารักษาพยาบาลและเงินชดเชยรายได้จากการนอนโรงพยาบาลหรือฮอสพิเทลได้ ต้องมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ข้อใดข้อหนึ่งใน 5 ข้อ ดังนี้ 1. เมื่อมีอาการไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส ระยะเวลานานกว่า 24 ชั่วโมง 2. หายใจเร็วกว่า 25 ครั้งต่อนาทีในผู้ใหญ่ 3. Oxygen Saturation < 94% 4. โรคประจำตัวที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือจำเป็นต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ตามดุลยพินิจของแพทย์ และ 5. สำหรับในเด็กหากมีอาการหายใจลำบาก ซึมลง ดื่มนมหรือทานอาหารน้อยลง หากผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อยให้กักตัวที่บ้าน (Home Isolation) ซึ่งผู้ป่วยไม่สามารถเบิกค่ารักษาจากบริษัทประกันได้ ทั้งนี้ จะเริ่มใช้แนวปฏิบัตินี้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภ…