เงื่อนไข “ร่วมจ่าย” แก้ปัญหาหรือผลักภาระ เมื่อค่ารักษายังไร้การควบคุม

เงื่อนไข “ร่วมจ่าย” แก้ปัญหาหรือผลักภาระ เมื่อค่ารักษายังไร้การควบคุม

ระบบประกันสุขภาพในปัจจุบันกำลังเผชิญกับความท้าทายสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการ “ร่วมจ่าย” Co-Payment ที่ดูเหมือนจะไม่ได้แก้ปัญหาการเคลมประกันเกินความจำเป็น แต่กลับผลักภาระให้กับผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น

เสียงสะท้อนจากผู้บริโภค Co-payment ช่วยแก้ปัญหาหรือซ้ำเติม

“เงื่อนไข Co-payment (ร่วมจ่าย) เหมือนให้ประชาชนช่วยประกันภัยออกค่าใช้จ่าย แต่โรงพยาบาลเอกชนยังคิดค่ารักษาตามใจเหมือนเดิม ส่วนการกำกับดูแลหรอ อย่าไปหวังเลย ประเทศนี้ควบคุมแท็กซี่ยังเอาไม่อยู่ นับประสาอะไรกับค่ารักษาพยาบาลที่ควรเป็นสิทธิพื้นฐานที่ประชาชนเข้าถึงได้” นี่เป็นเสียงสะท้อนจากผู้บริโภครายหนึ่ง ต่อมาตรการร่วมจ่าย หรือ  Co-Payment ที่กำลังเป็นหัวข้อถกเถียงในสังคมที่ร้อนแรง

ไม่ใช่เพียงเสียงสะท้อนจากผู้บริโภครายนี้ แต่ยังมีผู้บริโภคอีกจำนวนไม่น้อยที่มีความเห็นว่า มาตรการร่วมจ่ายไม่ใช่คำตอบในการแก้ปัญหาการเคลมประกันเกินความจำเป็น แต่มองว่า ปัญหาคือ ค่ารักษาพยาบาลที่แพงเกินเหตุ และบริษัทประกันไม่เข้มงวดกับการพิจารณา ปัญหาจึงตกมาอยู่ที่ผู้บริโภค หรือจริง ๆ แล้ว ปัญหาการเคลมประกันเกินความจำเป็นมาจากค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนที่สูงลิ่ว ไม่มีเพดานกำหนด

กรณีศึกษาจริงในระบบประกันสุขภาพ

ประสบการณ์ของผู้บริโภคหลายรายสะท้อนให้เห็นถึงกลไกที่ไม่โปร่งใส บางรายเล่าถึงประสบการณ์ที่โรงพยาบาลแนะนำให้ใช้ประกันควบคู่กัน แต่เมื่อถึงขั้นตอนการชำระเงิน กลับดึงค่าใช้จ่ายจากประกันเต็มจำนวน สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงการแสวงหาผลประโยชน์จากระบบประกันอย่างชัดเจน

“ป่วยครั้งนั้นได้ไปโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งระหว่างรอตรวจ แจ้งว่าประสงค์ที่จะใช้สิทธิประกันสังคม จึงยื่นเพียงบัตรประชาชน เมื่อเจ้าหน้าที่นำบัตรประชาชนไปตรวจสอบ สักพักเดินมาแจ้งว่า วันนี้คนไข้ได้นำบัตรประกันมาด้วยไหมคะ สามารถใช้ควบคู่กันได้นะคะ แต่เมื่อรักษาเสร็จ เซ็นเอกสารใบจ่ายเงิน สรุปค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการรักษานั้นดึงจากประกันทั้งหมด ผู้บริโภคจึงให้ความเห็นว่า สิ่งที่ต้องควบคุมคือค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชน เพราะถ้ามีประกัน โรงพยาบาลเอกชนเลือกที่จะเรียกค่ารักษาพยาบาลจากประกันเต็มที่ตามที่วงเงินที่มี” ผู้บริโภค ระบุ

เปิดตัวเลขค่ารักษาพยาบาล เวชภัณฑ์แพงเกินจริงแค่ไหน

เมื่อเปรียบเทียบตัวเลขราคาเวชภัณฑ์ระหว่างโรงพยาบาลและท้องตลาด พบสิ่งที่น่าตกใจอย่างเห็นได้ชัด ยกตัวอย่างเช่น น้ำเกลือที่มีราคาในโรงพยาบาลเอกชนสูงถึง 919.28 บาท แต่ราคาในท้องตลาดเพียง 45 บาท คิดเป็นส่วนต่างถึง 1,943% หรือสำลีก้อนที่มีราคาในโรงพยาบาล 7 บาท แต่ราคาท้องตลาดเพียง 0.10 บาท ซึ่งมีส่วนต่างสูงถึง 6,900%

อย่างไรก็ตาม บริการสุขภาพควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ผู้บริโภคทุกคนควรได้รับ ไม่ควรถูกมองเป็นเพียงสินค้าที่สามารถเอารัดเอาเปรียบได้ ทุกคนควรได้รับการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพ และราคายุติธรรม สุขภาพของประชาชนไม่ควรถูกลดทอนลงเพียงเพราะระบบที่ไม่เป็นธรรม

เปิดตัวเลขค่ารักษาพยาบาล เวชภัณฑ์แพงเกินจริงแค่ไหน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

หยุดผลักภาระให้ผู้บริโภค ค้าน Co-payment “ร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาล”

Co-payment ร่วมจ่าย 30-50% กระทบเด็ก-คนแก่

สภาผู้บริโภคชี้รัฐละเลยคุมราคา เกิดปัญหา รพ.เอกชน คิดค่ารักษาตามใจ

มาตรการร่วมจ่ายของ คปภ. ควรทบทวนหรือเดินหน้าต่อ

ด้านสภาผู้บริโภคเห็นว่ามาตรการร่วมจ่าย ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการเรียกร้องค่าสินไหมเกินจริงได้ และอาจเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น พร้อมเรียกร้องให้คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พิจารณาทบทวนมาตรการอย่างโปร่งใส และหยุดการบังคับใช้ออกไปจนกว่าจะมีแนวทางที่ชัดเจนในการควบคุมราคาค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชน พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอให้เพิ่มความเข้มงวดในการกำกับดูแลตัวแทนขายประกันร่วมด้วย

ชวนดูข้อมูล ทำไมต้องทบทวน Co-payment