เรียกร้องทบทวน Co-payment เพื่อความเป็นธรรมและลดภาระผู้บริโภค

เรียกร้องทบทวน Co-payment เพื่อความเป็นธรรมและลดภาระผู้บริโภค

Co-payment คืออะไร

ระบบประกันสุขภาพแบบร่วมจ่าย หรือ Co-payment มาตรการที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ออกคำสั่งกำหนดมาตรฐานสัญญาประกันสุขภาพสำหรับบริษัทประกันชีวิตและวินาศภัย เพื่อต้องการแก้ปัญหาการเรียกร้องค่าสินไหมเกินความจำเป็น

โดยมี 3 กรณีหลัก คือ กรณีแรก หากเป็นการเจ็บป่วยเล็กน้อยหรือโรคที่ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล และมีการเรียกร้องเกิน 3 ครั้งต่อปีกรมธรรม์ พร้อมกับมีอัตราการเรียกร้องเกิน 200% ของเบี้ยประกัน จะต้องร่วมจ่าย 30% ของค่ารักษาในปีถัดไป กรณีที่สอง หากเป็นโรคทั่วไป (ไม่รวมการผ่าตัดใหญ่และโรคร้ายแรง) และมีการเรียกร้องเกิน 3 ครั้งต่อปี โดยมีอัตราการเรียกร้องเกิน 400% ของเบี้ยประกัน จะต้องร่วมจ่าย 30% ของค่ารักษาในปีถัดไป และกรณีที่สาม หากเข้าข่ายทั้งสองกรณีข้างต้น จะต้องร่วมจ่าย 50% ของค่ารักษาในปีถัดไป

ทำไมต้องชะลอ Co-payment

  • ข้อมูลเงื่อนไขและผลกระทบไม่ชัดเจน
  • ไม่มีการรับฟังความเห็นจากผู้บริโภค
  • ไม่ได้ช่วยลดปัญหาการเรียกร้องค่าสินไหมเกินจริงได้
  • ผู้เอาประกันไม่สามารถวินิจฉัยอาการได้เอง อาจถูกเอาเปรียบ

61% ของผู้บริโภคไม่เห็นด้วยร่วมจ่ายในประกันสุขภาพ

การสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคผ่านเพจเฟซบุ๊ก สภาองค์กรของผู้บริโภคว่า “ทุกคนมีความเห็นยังไงกับ ประกันสุขภาพแบบร่วมจ่าย หรือ Co-payment” (เมื่อวันที่ 22 มกราคม 68) ผลสำรวจจากทั้งหมด 314 เสียง มีถึง 61% ที่ไม่เห็นด้วยกับระบบนี้ ขณะที่ 33% ยังไม่แน่ใจและต้องการข้อมูลเพิ่มเติม และมีเพียง 6% เท่านั้นที่เห็นด้วย สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลของผู้บริโภคต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

ข้อเสนอคุ้มครองผู้บริโภค

  • ชะลอใช้มาตรการ Co-payment เพื่อให้ผู้บริโภคมีเวลาทำความเข้าใจ
  • ทบทวนเงื่อนไขร่วมจ่าย ให้เหมาะสมกับช่วงอายุและความเสี่ยง
  • เปิดรับฟังความคิดเห็นก่อนออกมาตรการ
  • ควบคุม ตรวจสอบราคาค่ารักษาในโรงพยาบาลเอกชน

ทั้งนี้ สภาผู้บริโภคได้ยืนหนังสือถึง คปภ. – สมาคมประกันชีวิตไทย – สมาคมประกันวินาศภัยไทย เรียกร้องให้ชะลอการบังคับใช้ Co-payment ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568  แต่ไม่มีการตอบหนังสือแต่อย่างใด

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง