การรับฟังความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ. ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ

ในปัจจุบันร่างกฎหมายที่สภาองค์กรของผู้บริโภคได้รวบรวมรายชื่อจากประชาชนเข้าสู่กระบวนการการรับฟังความคิดเห็นกฎหมายแล้วสองร่าง คือ ร่าง พ.ร.บ.ความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า และร่าง พ.ร.บ.อาหาร ซึ่งมีระยะเวลาในการรับฟัง 30 วัน โดยภายหลังปิดรับฟังความคิดเห็นทั้งหมด จะสรุปออกเป็นรายงานเพื่อประกอบการพิจารณาร่างกฎหมายในชั้นรัฐสภา ดังนั้น ความเห็นจากประชาชนจึงมีความสำคัญมาก เพราะจะส่วนประกอบสำคัญในการพิจารณาร่างกฎหมาย การลงความเห็นจึงเป็นประโยชน์ต่อร่าง พ.ร.บ. เป็นอย่างมาก

โดยแบบฟอร์มรับฟังความคิดเห็นของรัฐสภา จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรก จะเป็นคำถามทั่วไปเกี่ยวกับข้อมูลของผู้แสดงความเห็นต่อร่าง พ.ร.บ. และส่วนที่สอง จะเป็นคำถามในเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 2 ฉบับ โดย ร่าง พ.ร.บ.ความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า มีคำถามจำนวน 8 ข้อ และร่าง พ.ร.บ.อาหาร มีคำถามจำนวน 12 ข้อ ทว่าคำถามที่ปรากฏในเว็บไซต์ก็มีความเข้าใจยาก ด้วยภาษากฎหมายที่ต้องรัดกุมและต้องตีความเพื่อให้เข้าใจง่าย ทางสภาผู้บริโภคจึงได้จัดทำสรุปคำถาม พร้อมทั้งแนวทางการตอบ เพื่อให้ใช้ในการลงความเห็นต่อร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 2 ฉบับ เพื่อให้ประชาชนที่มาแสดงความคิดเห็นอ่านแล้วจะเข้าใจได้ง่าย และลงความเห็นได้ทันที โดยท่านสามารถให้ความคิดเห็น ก่อนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568

แสดงความคิดเห็น

ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. …..

ประเภทร่าง เสนอโดยประชาชน ไม่เป็นร่างการเงิน
เสนอโดย นางสาวสารี อ๋องสมหวัง กับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 21,111 คน เป็นผู้เสนอ

โดยที่บทบัญญัติเกี่ยวกับความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังไม่ได้ให้ความคุ้มครองผู้ซื้อและผู้ขายอย่างชัดเจนและเพียงพอ โดยเฉพาะกับสินค้าที่ผู้ซื้อไม่อาจพบเห็นความชำรุดบกพร่องของสินค้าได้ในเวลาซื้อขายหรือส่งมอบสินค้า สมควรกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะของความชำรุดบกพร่องของสินค้า สิทธิของผู้ซื้อและผู้ขาย และความรับผิดของผู้ขายตามประเภทของสินค้าให้เกิดความเหมาะสม รวมถึงการเยียวยากรณีสินค้าที่มีความชำรุดบกพร่อง เพื่อให้มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาในปัจจุบัน อันจะเป็นการคุ้มครองผู้ซื้อและผู้ขายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้าเสียใหม่ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติฉบับนี้


คลิกที่นี่ เพื่อศึกษารายละเอียดคำถามและแนวทางคำตอบ

แสดงความคิดเห็น

ร่างพระราชบัญญัติอาหาร (ฉบับที่ …) พ.ศ. …..

ประเภทร่าง เสนอโดยประชาชน เป็นร่างการเงิน
เสนอโดย นางสาวสารี อ๋องสมหวัง กับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 21,345 คน เป็นผู้เสนอ

โดยที่พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มีบทบัญญัติบางประการที่เป็นข้อจำกัดในการควบคุมความปลอดภัยอาหารและการโฆษณาอาหาร สมควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรการควบคุมอาหารโดยกำหนดควบคุมอาหารตามระดับความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรือผลกระทบต่อผู้บริโภค แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณาอาหารและกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการโฆษณาอาหาร กำหนดให้มีผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ทำหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาอนุญาตอาหารเพื่อให้ทางธุรกิจ กำหนดหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอาหารให้รับผิดชอบต่อผู้บริโภค ตลอดจนแก้ไขบทกำหนดโทษและอัตราค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้


คลิกที่นี่ เพื่อศึกษารายละเอียดคำถามและแนวคำตอบ