ข้อเสนอเพิ่อแก้ไขปัญหาค่าไฟฟ้าแพง

สถานการณ์

ค่าไฟฟ้าถูกปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 3.76 บาท ต่อหน่วย ขึ้นมามากกว่า 4 บาทต่อหน่วย และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต โดยที่เหตุของการปรับขึ้นค่าไฟฟ้ายังมีปัจจัยอื่น ๆ นอกจากภาวะสงครามหรือราคาก๊าซธรรมชาติขยับสูงขึ้นตามที่หน่วยงานรัฐด้านพลังงานกล่าวอ้างเท่านั้น การแก้ไขปัญหาค่าไฟฟ้าแพงควรดำเนินการด้วยความรอบคอบรอบด้าน สภาองค์กรของผู้บริโภคจึงไ้ด้มีข้อเสนอเพื่อการแก้ไขปัญหาค่าไฟฟ้าแพงไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน


การดำเนินงาน

1. ส่งหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเมื่อว้นที่ 21 มีนาคม 2565

2. จัดงานเสวนาออนไลน์ และถ่ายทอดผ่าน FB Live เรื่อง “การพึ่งพาตนเองด้านพลังงาน ทางออกค่าไฟแพง?” (28 เมษายน 2565)


ข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภค

1. ดำเนินการสนับสนุนการพึ่งตนเองด้านพลังงานไฟฟ้าของประชาชนอย่างเต็มที่ ด้วยการส่งเสริมให้ประชาชนผลิตไฟฟ้าด้วยระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาตามโครงการโซลาร์ภาคประชาชนให้เพิ่มขึ้น เพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าและเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน โดยให้ (ก) จากเดิมกำหนดราคารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของกลุ่มครัวเรือนไว้ที่ 2.20 บาท/หน่วย ให้เปลี่ยนราคารับซื้อเป็นระบบ net metering หรือระบบการคิดค่าไฟฟ้าแบบหักลบกลบหน่วยตามจริง เพื่อสร้างแรงจูงใจในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แก่ประชาชน (ข) ขยายระยะเวลาการับซื้อไฟฟ้าของโซลาร์ภาคประชาชน จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 10 ปี เป็น 20 – 25 ปี หรือตามอายุการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์

2. ยับยั้งและทบทวนการคิดค่า Ft ใหม่โดยด่วน โดยให้ดำเนินการดังนี้ (ก) ลดการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็กที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งทำให้มีค่าซื้อไฟฟ้าสูงถึง 4.00 บาทต่อหน่วย ให้มีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าเท่ากับการผลิตของโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าลงได้ประมาณ 8,860 ล้านบาทต่อปี (ข) เจรจากับโรงไฟฟ้าขนาดเล็กเพื่อหารือถึงความเป็นไปได้ในการปรับลดเงินประกันกำไรของโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็กที่ใช้ก๊าซธรรมชาติให้อยู่ที่ร้อยละ 1.75 ให้ใกล้เคียงกับเงินประกันกำไรของโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ (ค) กำหนดเพดานราคาก๊าซธรรมชาติในสูตรการคำนวณค่าผ่านท่อไว้ที่ 200 บาทต่อล้านบีทียู และกำหนดและค่าประสิทธิภาพที่ร้อยละ 2 ต่อปี เพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าได้ถึง 587 ล้านบาทต่อปี (ง) ปรับโครงสร้างราคา Pool Gas ใหม่ โดยนำปริมาณก๊าซธรรมชาติที่เข้าสู่โรงแยกก๊าซธรรมชาติและถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมารวมอยู่ในราคา Pool Gas ด้วย ซึ่งจะช่วยทำให้ราคา POOl ก๊าซลดลง และคาดว่าจะช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 40,000 ล้านบาทต่อปี

3. ชะลอการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ทั้งในและต่างประเทศที่ยังมิได้เซ็นสัญญาออกไป ทั้งนี้ ให้คำนึงคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อชุมชนใกล้เคียงในการได้มาซึ่งพลังงานไฟฟ้าทั้งในและนอกประเทศด้วย

4. ตระหนักถึงความมีธรรมาภิบาลอย่างสูงสุด และต้องป้องกันมิให้เกิดปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนจากการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง ในการการดำเนินนโยบายด้านและพลังงานและการกำกับกิจการพลังงานของประเทศ


ความคืบหน้า