รายงานผลการศึกษา “วิเคราะห์ทางกฎหมายในปัญหาการควบคมการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร”

มูลค่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั่วโลก มีการประมินว่าอาจสูงถึง 126.64 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 4.4 ล้านล้านบาท) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการทางด้านสุขภาพ และความไว้วางใจต่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เมื่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีมูลค่าการตลาดที่สูง ย่อมต่องมีการแข่งขันเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาด หนึ่งในวิธีการนี้คือการใช้เทคนิคการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีการอวดอ้างเกินจริง เป็นเท็จ ทำให้เข้าใจผิด ย่อมส่งผลต่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค และกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และการดูแลตนเองเมื่อเจ็บปวยจากการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเช่นกัน

การศึกษานี้จึงศึกษามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในประเทศไทย เปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของไทยและต่างประเทศ คือ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุน เกาหลี ไต้หวัน สิงคโปร์ ตลอดจนเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา และมาตรการเพื่อการพัฒนาระบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในประเทศไทย

ผลการศึกษาที่สำคัญ
1. กฎหมายที่ใช้ในการควบคุมโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
2. การควบคุมวิธีการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
3. การควบคุมเนื้อหาโฆษณา
4. การควบคุมช่องทางในการโฆษณา
5. การจัดการเมื่อพบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีปัญหาด้านโฆษณา
6. กระบวนการควบคุมโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร


รายงานผลการศึกษาโดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกร ปรุฬห์ รุจนธำรงค์
ศูนย์สารสนเทศทางยาและคุ้มครองผู้บริโภค
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์