รวมข่าวรายวัน เตือนภัย, ข่าวปลอม, ข้อมูลเท็จ, จับโกง : สิงหาคม

ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 31 สิงหาคม 2565

เตือนภัย : ธนาคารออมสิน ปล่อยสินเชื่อ ผ่านช่องทางไลน์ Official

จากกระแสบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ธนาคารออมสิน เปิดทางไลน์ Official ให้ประชาชนขอกู้สินเชื่อ นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ ธนาคารออมสิน ระบุว่า ธนาคารไม่มีนโยบายปล่อยกู้สินเชื่อส่วนบุคคลให้ประชาชนผ่านช่องทางไลน์ Official ตามที่มีการกล่าวอ้าง อีกทั้งขอให้ประชาชนตระหนักถึงมิจฉาชีพที่มีการแอบอ้างใช้ชื่อและตราสัญลักษณ์ธนาคารในประชาสัมพันธ์ทำให้ประชาชนสับสน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://anbitdl.vv5

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม : กล้วยสุกเต็มที่จะมีสารต้านมะเร็ง

ตามข้อมูลกล่าวอ้างบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นสุขภาพเรื่องกล้วยสุกจะมีสารสำคัญที่สามารถต้านมะเร็งได้ นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

AFP ประเทศไทย ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สำนักโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า กล้วยที่สุกเต็มที่แล้ว จะมีระดับน้ำตาลและแป้งปริมาณที่สูง และไม่มีหลักฐานยืนยันทางวิชาการว่ากล้วยสุกมีสารต้านโรคมะเร็งได้ตามที่มีการกล่าวอ้าง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://settgfnlo

ที่มา : AFP ประเทศไทย

4 วิธี ห่างไกล แก๊งมิจฉาชีพแอปพลิเคชันหาคู่

  1. ผู้บริโภคควรระมัดระวังในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ให้กับคนที่เพิ่งรู้จักในแอปพลิเคชันหาคู่
  2. ผู้บริโภคไม่ควรหลงเชื่อนัดเจอคนที่เพิ่งรู้จักในแอปพลิเคชันหาคู่
  3. ผู้บริโภคไม่ควรโอนเงิน ส่งของมีค่าให้กับการหว่านล้อมของคนที่เพิ่งรู้จักในแอปพลิเคชันหาคู่
  4. ผู้บริโภคควรระวังไว้เสมอว่ารักเป็นเรื่องขอความสัมพันธ์ระหว่างคนสองคน ไม่ใช่เรื่องความเร็ว

ที่มา : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ข่าวปลอม : ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม Kinny​DT Detox สามารถรักษาโรคร้ายได้แม้กระทั่งโรคมะเร็ง โรคตับ

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลผลิตภัณฑ์อาหารเสริม Kinny​DT Detox สามารถรักษาโรคร้ายได้แม้เป็น โรคมะเร็ง โรคตับ นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุว่า ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม Kinny​DT Detox มีการขอจดเลข อย. จริง หมายเลข 12-1-28863-5-0005 แต่ไม่ได้มีการขอจดสรรพคุณในการรักษาโรค เป็นเพียงแค่อาหารเสริม

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://nadaidase

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 30 สิงหาคม 2565

เตือนภัย : หลอกทำงานง่าย ๆ ได้ตัง ท้ายสุดอาจเสียเงินล้าน

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัย มุกมิจฉาชีพหลอกให้ทำภารกิจง่าย ๆ แล้วได้เงิน แต่ท้ายสุดอาจสูญเงินร่วมแสนบาท

ซึ่งมุกนี้ มิจฉาชีพจะเสนองานผ่านระบบออนไลน์ เช่น กรณีที่เหยื่อถูกล่อให้โอนเงินไปยังมิจฉาชีพถึง 9 ครั้ง ความเสียหายสูงถึง ล้านกว่าบาท โดยเหยื่อเล่าว่า ได้รับการชักชวนให้ทำงานผ่านแอปพลิเคชัน ติ๊กต็อก โดยหลอกว่าจะมีรายได้สูงถึงวันละ 5,000 บาท หากสนใจให้เข้าไปในไลน์ เหยื่อเห็นว่าทำงานง่าย ค่าตอบแทนสูง โดยมิจฉาชีพให้กดติดตามติ๊กต็อก ให้ กดไลท์ กดแชร์ ได้ค่าตอบแทนครั้งละ 10 บาท โดยมีค่าสมัคร 100 บาท ภายในวันเดียวของการทำภารกิจนี้ เหยื่อได้เงินกลับคืนมาถึง 600 บาท พอวันที่สอง เหยื่อจริงลงเงินเพิ่มไปอีก 3,990 บาท หลังจากนั้นมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงินเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ โดนการโดนหว่านล้อมด้วยเหตุผลต่าง ๆ จนท้ายที่สุด โอนเงินไปให้มิจฉาชีพรวมหนึ่งล้านหน้าหมื่นบาท ซึ่งเงินเหล่านั้น ส่วนหนึ่งเป็นเงินของญาติเหยื่อ

แต่การหลอก “ทำภารกิจ” ง่าย ๆ ไม่ได้มีเฉพาะงานกดไลท์กดแชร์ แต่มีกรณีเหยื่อถูกหลอกให้ทำงานแพคสบู่ หรือ แยกสีลูกปัด โดยมิจฉาชีพขอให้มีการวางเงินมัดจ่าสำหรับสินค้า เช่น สบู่ที่ให้ห่อ และลูกปัดที่ให้แยกสี โดยในระยะแรกเหยื่อจะวางเงินมัดจำจำนวนน้อย แต่จะได้ค่าตอบแทนสูงจากการทำภารกิจง่าย ๆ นี้ เหยื่อจึงตกหลุมพราง ถูกล่อให้ลงเงินมัดจำมากขึ้น เพื่อจะได้รับสบู่หรือลูกปัดมาทำงานมากขึ้น เมื่อเหยื่อส่งเงินจำนวนมากไปแล้ว ถึงได้พบว่าตนเองสูญเงินทั้งหมดไปกับกลลวง

ตำรวจไซเบอร์ จึงเตือนประชาชนให้ใช้วิจารณญาณก่อนหลวมตัวตกไปในกับดักมิจฉาชีพ โดยพิจารณาความเป็นจริงว่างานง่าย ๆ เหล่านี้จะมีอยู่จริงหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อได้รับภารกิจงาน ที่เป็นงานง่าย ๆ แต่มีรายได้สูง จุดสังเกตอีกจุดคือ หากผู้รับงานต้องลงทุน เช่น โอนเงินค่ามัดจำ ค่าสมัคร หรือค่าอื่น ๆ ให้พึงระมัดระวังว่าภารกิจนี้ อาจเป็นกลลวงมิจฉาชีพ

ที่มา : ตำรวจไซเบอร์ PCT Police

ข่าวปลอม : นำข้าวสวยหุงสุกแช่ตู้เย็น และอุ่นรับประทานอีกรอบช่วยลดปริมาณน้ำตาลในข้าว

ตามที่มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นสุขภาพเรื่องให้ประชาชนนำข้าวสวยหุงสุกแช่ตู้เย็น และอุ่นรับประทานอีกรอบช่วยลดปริมาณน้ำตาลในข้าว นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

รองศาสตราจารย์ ดร.ขนิษฐา ธนานุวงศ์ ได้ระบุว่า การนำข้าวสวยไปเก็บไว้ในตู้เย็นแล้อุ่นใหม่เพื่อรับประทานอีกรอบไม่สามารถทำให้ลดปริมาณน้ำตาลในข้าวสวยได้ เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการยืนยัน ในการกลับกันในนำข้าวสวยที่แช่เย็นไปอุ่นใหม่ แป้งบางส่วนก็จะแปรสภาพกลับมาเป็นน้ำตาลดั่งเดิม

ที่มา : AFP ประเทศไทย

เตือนภัย : 3 จุดสังเกต มิจฉาชีพกู้เงินออนไลน์

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) แจ้งเตือนมีมิจฉาชีพหลอกลวงประชาชน ด้วยการโฆษณาให้กู้เงินผ่านทางออนไลน์เป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะมีการจูงใจ สร้างความน่าเชื่อถือ จนเหยื่อหลงเชื่อ ดำเนินการตามขั้นตอน แต่ภายหลังกลับไม่ได้รับเงินกู้ตามที่ตกลง

ตำรวจสอบสวนกลาง มี 3 จุดสังเกตพฤติกรรมของมิจฉาชีพ ซึ่งหากเราพบการกระทำในลักษณะนี้ ขอให้พึงระวังไว้ก่อนเลยว่า เราอาจจะถูกมิจฉาชีพหลอกให้กู้เงินออนไลน์ มีดังนี้

จุดที่ 1 เร่งให้โอนเงิน ค่าค้ำประกันหรือค่าทำสัญญามาก่อนได้รับสินเชื่อ

จุดที่ 2 อ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้บริหารระดับสูง ช่วยให้กู้ผ่านได้ง่ายขึ้น

จุดที่ 3 พยายามสร้างความน่าเชื่อถือ เช่น การแสดงเอกสารสัญญาที่มีตราหน่วยงานรัฐ

ที่มา: ตำรวจสอบสวนกลาง

เตือนภัย : มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นผู้บริหาร สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ติดต่อช่องผู้ประกอบการผ่านช่องทางออนไลน์ส่วนตัว

ตามที่มีกระแสวงการผู้ประกอบการเกี่ยวกับเรื่อง ผู้บริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ติดต่อกับผู้ประกอบการผ่านช่องทางออนไลน์ส่วนตัว เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้ออกมาระบุว่า สสว. ไม่มีนโยบายให้ผู้บริหารทุกระดับ ติดต่อกับผู้ประกอบการผ่านช่องทางสื่อสารออนไลน์เป็นการส่วนตัว

ในทางกลับกันกรณีผู้ประกอบท่านใดเห็นหรือมีหลักฐานเกี่ยวกับการแอบอ้างเป็นผู้บริหาร สสว. ไปแสวงหาผลประโยชน์ สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เลขที่ 21 อาคารทีเอสที ชั้น G,17, 18, 23 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900. โทร. 1301 แฟกซ์ 0-2273-8850.

ที่มา : สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 29 สิงหาคม 2565

ข่าวปลอม : โปรตุเกสรับสมัครแรงงานไทยอาชีพเก็บผลไม้ป่า

กรณีที่มีการเผยข้อความเกี่ยวกับประเด็นเรื่องโปรตุเกสรับสมัครแรงงานไทยอาชีพเก็บผลไม้ป่า ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้ชี้แจงว่ากรมการจัดหางานมีการอนุมัติการเดินทางไปเก็บผลไม้ป่าใน 2 ประเทศ คือ ประเทศฟินแลนด์ และประเทศสวีเดน โดยเดินทางไปทำงานในลักษณะนายจ้างพาไปทำงาน และแจ้งการเดินทางไปทำงานด้วยตัวเอง ซึ่งคนงานที่ไปเก็บผลไม้ป่าส่วนใหญ่จะไปซ้ำหลายครั้ง เนื่องจากงานเก็บผลไม้ป่าจ่ายค่าตอบแทนตามปริมาณการเก็บ (เก็บมากได้มาก) ซึ่งต้องใช้ความชำนาญและทักษะค่อนข้างสูง นายจ้างจึงนิยมใช้คนที่มีประสบการณ์

อย่างไรก็ตาม จะเริ่มรับสมัครคนงานเก็บผลไม้ป่าช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคมของทุกปี เพื่อเดินทางไปทำงานช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายนของทุกปี ในส่วนประเทศโปรตุเกสนั้น กรมการจัดหางานมีการอนุมัติการเดินทางไปทำงานภาคเกษตร งานฟาร์ม ซึ่งไม่เคยได้รับแจ้งการเดินทางไปเก็บผลไม้ป่าในโปรตุเกส

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และติดตามข่าวสารจาก กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.doe.go.th/ หรือโทร. 02 247 9423

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

เตือนภัย : กรมขนส่ง เปิดให้ประชาชนทำใบขับขี่ ผ่านไลน์

ตามที่มีกระแสสังคมออนไลน์แชร์เรื่อง กรมขนส่ง เปิดให้ประชาชนผู้สนใจทำใบขับขี่ ผ่านช่องทางไลน์ส่วนบุคคล นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ กรมขนส่ง ระบุว่า กรมฯ ไม่มีนโยบายให้ประชาชนทำใบขับขี่และต่ออายุ ผ่านช่องทางไลน์ เนื่องจากประชาชนที่ทำการขอใบขับขี่จะต้องผ่านการอบรมและทดสอบด้วยตัวเองทุกขั้นตอนที่สำนักงานขนส่ง

อย่างไรก็ตาม ประชาชนสามารถจองคิวทำใบขับขี่ล่วงหน้าได้ที่แอปพลิเคชัน DLT Smart Queue สำหรับการต่ออายุใบอนุญาตขับรถ สามารถอบรมภาคทฤษฎีออนไลน์ผ่านระบบ e-Learning ทางเว็บไซต์ www.dlt-elearning.com เพื่อนำผลผ่านการอบรมมาติดต่อที่สำนักงาน ลดขั้นตอนและลดระยะเวลาในการติดต่อ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://tkooning

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

5 วิธี ง่าย ๆ ห่างไกล SMS ดูดเงิน

  1. ผู้บริโภคไม่ควรดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเถื่อน
  2. ผู้บริโภคไม่ควรเข้าเว็บไซต์ที่มีความสุ่มเสียงไม่คุ้นเคยมาก่อน
  3. ผู้บริโภคไม่ควรกดยืนยันข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับจากการส่ง SMS ควรศึกษาก่อนเพื่อความแน่ใจ
  4. ผู้บริโภคมั่นตรวจสอบใบเสร็จค่าโทรศัพท์ทุกเดือน ว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรนอกเหนือจากที่ใช้
  5. หากตรวจสอบทราบพบว่ามีค่าใช้จ่ายจาก SMS ให้กด *137 เพิ้อยกเลิกฟรีทันที

ที่มา : กองปราบปราม

ข่าวปลอม : สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ประกาศเลขหวยล็อก งวดที่ 1 กันยายน 2565 ได้แก่ เลขบน-ล่าง หมายเลข 17 18 097 098

ตามที่มีกระแสข่าวถูกใจผู้บริโภคคอหวยเกี่ยวกับเรื่อง สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ประกาศเลขหวยล็อก งวดที่ 1 กันยายน 2565 ได้แก่ เลขบน-ล่าง หมายเลข 17 18 097 098 นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ระบุว่า สำนักงานฯ ไม่มีนโยบาย ประกาศเลขหวยล็อก วันที่ 1 กันยายน 2565 ตามที่มีการกล่าวอ้าง เนื่องจากการจะรู้เลขลอตเตอรี่ ประจำงวดที่ 1 กันยายน 2565 จะต้องรู้วันที่ออกเลข ไม่มีผู้ใดสามารถทราบเลขได้ล่วงหน้า

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://4PYGH

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 28 สิงหาคม 2565

เตือนภัย : เกาหลีใต้ เปิดรับสมัครคนไทย 3,000 คน เข้าทำงาน รายได้ 70,000 บาท/เดือน

ตามที่มีกระแสข่าวบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นร้อนเรื่องประเทศเกาหลีใต้ ใจดีเปิดรับสมัครคนไทย 3,000 อัตรา รายได้สูง 70,000 บาท/เดือน นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ กรมจัดหางาน ระบุ นายจ้างเกาหลีใต้มีความต้องการแรงงานไทยจริง จำนวน 1,300 อัตรา โดยบริษัทจัดหางานภาคเอกชนสามารถดำเนินการได้ โดยต้องขออนุญาตรับสมัครล่วงหน้า (จต.2) เสียก่อน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://4PYGH

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

เตือนภัย : ผลิตภัณฑ์อันตราย 4 อย่าง

  1. ยามหัศจรรย์ อ้างสามารถรักษาหายทุกโรค
  2. ผลิตภัณฑ์ลดความอ้วน อ้างสามารถลดได้แม้ดื้อยา ผอมจริง พิสูจน์มาแล้ว
  3. ผลิตภัณฑ์ให้ขาวใส อ้างสามารถขาวออร่าได้ แม้กรรมพันธ์ดำ
  4. ผลิตภัณฑ์เพิ่มขนาดอวัยวะเพศชาย อ้างใหญ่กว่าเดิม เพิ่มขนาดได้ดั่งใจ ทำจากสมุนไพร

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 27 สิงหาคม 2565

3 วิธีสังเกต แก๊งมิจฉาชีพ SMS ส่งลิงก์ธนาคารปลอม ดูดเงินหมดบัญชี

  1. ผู้บริโภคควรสังเกตเว็บไซต์จริงจะมีสัญลักษณ์ 🔒 (ตัวล็อก) เสมอ
  2. ผู้บริโภคควรสังเกตว่าเว็บไซต์จริงจะไม่ให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคลอีกเป็นครั้งที่ 2 เช่น วันเดือนปี OTP
  3. ผู้บริโภคควรสังเกตว่าธนาคารไม่มีนโยบายในการข้อข้อมูลส่วนบุคคลผ่านช่องทาง SMS Line และ Facebook

ที่มา : ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

ข่าวปลอม : รัฐบาลเตรียมขึ้นค่าไฟ 28 เท่า ในเดือนกันยายน 2565

จากการที่มีข่าวประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนบนโลกออนไลน์ทราบเกี่ยวกับประเด็น รัฐบาลมีนโยบาลเตรียมขึ้นค่าไฟ 28 เท่า ในเดือนกันยายน 2565 นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ระบุว่า กกพ. มีมติในที่ประชุมที่ผ่านมาปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (FT) ในรอบเดือนกันยายน – ธันวาคม 2565 จำนวน 93.43 สตางค์/หน่วย รวมกับค่าไฟเป็น 4.72 บาท/หน่วย ไม่ใช่ 28 เท่า ตามที่มีการกล่าวอ้าง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://3789

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

4 ข้ออ้าง มิจฉาชีพอ้างตัวเป็นธนาคาร ส่งข้อมูลผ่าน SMS อีเมล

  1. มิจฉาชีพจะอ้างตัวเป็นธนาคารส่งลิงก์ให้ผู้บริโภคช่องทาง SMS อีเมล คลิกลิงก์เพื่อปรับปรุงระบบความปลอดภัยและยืนยันตัวตนผู้บริโภค
  2. มิจฉาชีพจะอ้างตัวเป็นธนาคารส่งลิงก์ให้ผู้บริโภคช่องทาง SMS อีเมล คลิกลิงก์เพื่อปรับปรุงและยืนยันสถานะบัญชีของผู้บริโภค
  3. มิจฉาชีพจะอ้างตัวเป็นธนาคารส่งลิงก์ให้ผู้บริโภคช่องทาง SMS อีเมล คลิกลิงก์เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลและยืนยันข้อมูลผู้บริโภค

ที่มา : ธนาคารกรุงไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 26 สิงหาคม 2565

เตือนภัย : ต้องลบทิ้งทันที 17 แอปพลิเคชัน มัลแวร์ขโมยเงินและข้อมูลส่วนตัวของผู้บริโภค

  1. Call Recorder APK (com.caduta.aisevsk)
  2. Rooster VPN (com.vpntool.androidweb)
  3. Super Cleaner- hyper & smart (com.j2ca.callrecorder)
  4. Document Scanner – PDF Creator (com.codeword.docscann)
  5. Universal Saver Pro (com.virtualapps.universalsaver)
  6. Eagle photo editor (com.techmediapro.photoediting)
  7. Call recorder pro+ (com.chestudio.callrecorder)
  8. Extra Cleaner (com.casualplay.leadbro)
  9. Crypto Utils (com.utilsmycrypto.mainer)
  10. FixCleaner (com.cleaner.fixgate)
  11. Just In: Video Motion (com.olivia.openpuremind)
  12. com.myunique.sequencestore
  13. com.flowmysequto.yamer
  14. com.qaz.universalsaver
  15. Lucky Cleaner (com.luckyg.cleaner)
  16. Simpli Cleaner (com.scando.qukscanner)
  17. Unicc QR Scanner (com.qrdscannerratedx)

ที่มา : Thai Ware

เตือนภัย : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เชิญชวนประชาชนให้ลงทุน 1,000 บาท ได้ผลตอบแทน 25,000 บาท

ตามที่มีกระแสสังคมในการลงทุนมิติใหม่กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในการลงทุนแค่ 1,000 บาท ได้ผลตอบแทนสูง 25,000 บาท นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ระบุว่า SET ไม่มีนโยบายในการลงทุนมิติใหม่ใช้เงิน 1,000 บาท ได้ผลตอบแทนสูง 25,000 บาท ในทางกลับกันการนำตราสัญลักษณ์ของ SET ไม่ใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนเข้าใจผิด

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://linh.flkg

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

เตือนภัย : อย่าดาวน์โหลดเว็บไซต์กรมสรรพากรปลอม

ตามที่มีกระแสบนช่องทางออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องมีการประชาสัมพันธ์ดาวน์โหลดเว็บไซต์กรมสรรพากรใหม่ นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ตำรวจสอบสวนกลาง ออกมาระบุว่า ตามที่มีการออกมาเชิญชวนให้ดาวน์โหลดเว็บไซต์กรรมสรรพากรใหม่ เป็นการสร้างเว็บไซต์ของแก๊งมิจฉาชีพ และอาจเป็นมัลแวร์ขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค แนะนำหากเป็นเว็บไซต์กรมสรรพากรของจริง คือ www.rd.go.th เท่านั้น!

ที่มา : ตำรวจสอบสวนกลาง

ข่าวปลอม : 29 จังหวัดเตรียมรับมือพายุไลออนร็อก และ พายุคมปาซุ

จากกระแสข่าวเตือนภัยสภาพอากาศแปรปรวน เรื่อง กรมอุตุนิยมวิทยา เตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ 29 จังหวัดต้องระวังพายุไลออนร็อก และ พายุคมปาซุ เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า การประชาสัมพันธ์นั้นกล่าวไม่เป็นความจริง กรมฯ ไม่ได้เผยแพร่ หากมีพายุจริง กรมฯ จะประกาศให้ประชาชนทราบอย่างน้อยล่วงหน้า 3 วัน ในทางกลับกันสภาพอากาศช่วนวันที่ 27 – 29 สิงหาคม 2565 มีฝนตกลดลง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/55ffh32G

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 25 สิงหาคม 2565

ข่าวดี ๆ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เปิดให้ลงทะเบียนล้างแอร์ช่วยชาติ ครั้งที่ 2

  1. ผู้บริโภคต้องลงทะเบียนภายใน 30 กันยายน 2565 ณ ห้างสรรพสินค้า ที่เข้าร่วมโครงการล้างแอร์ช่วยชาติ ครั้งที่ 2
  2. ต้องเป็นมีเครื่องปรับอากาศแบบติดผนังขนาดไม่เกิน 24,000 BTU
  3. ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯจะได้สิทธิ์ 1คน/สิทธิ์/ครัวเรือน
  4. ประชาชนจ่ายเพียงแค่ 300 บาท ที่เหลือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จ่ายให้ 300 บาท รวมเป็นเงิน 600 บาท
  5. ผู้เข้าร่วมโครงฯ จะต้องเป็นผู้ไม่เคยเข้าร่วมโครงการล้างแอร์ช่วยชาติ ครั้งที่ 1

ที่มา : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

เตือนภัย : ธนาคารออมสินใจป้ำปล่อยกู้เงิน 5,000 – 500,000 บาท ผ่านช่องทางไลน์ส่วนบุคคล

ตามที่มีกระแสบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นร้อนเรื่องธนาคารออมสินใจดีป้ำ ปล่อยกู้สินเชื่อให้กับประชาชนวงเงิน 5,000 – 500,000 บาท ผ่านช่องทางไลน์ส่วนบุคคล เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ ธนาคารออมสิน ระบุว่า ธนาคารไม่มีบริการให้ประชาชนกู้สินเชื่อผ่านช่องทางไลน์ตามที่มีการกล่าวอ้าง ในทางกลับกันธนาคารขอให้ประชาชนระวังเนื่องจากมิจฉาชีพมักนำตราสัญลักษณ์ไปสร้างความเข้าใจผิดในวงกว้าง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/32G

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

เตือนภัย : ธนาคารกรุงไทย ปล่อยกู้ให้ประชาชน 200,000 บาท ไม่ต้องมีคนค้ำ สมัครง่าย ผ่านไลน์ส่วนตัว

ตามที่มีการประชาสัมพันธ์บนช่องทางโลกออนไลน์เรื่องธนาคารกรุงไทย ใจดีปล่อยกู้ให้ประชาชนวงเงินสูงถึง 200,000 บาท ผ่านไลน์ส่วนตัว นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ ธนาคารกรุงไทย ระบุว่า ธนาคารไม่มีนโยบายปล่อยกู้สินเชื่อทุกประเภทผ่านช่องทางไลน์ส่วนบุคคลตามที่มีการแอบอ้าง รวมถึงมีการประชาสัมพันธ์ใช้ตราสัญลักษณ์ของกรุงไทยทำให้ประชาชนเกิดความสับสน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3Q3JL2G

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

3 ข้อ มีติดตัวไว้ห่างไกลมิจฉาชีพเสนอขายประกัน

  1. อย่าหลงเชื่อ การเสนอขายประกันที่ค่าเบี้ยประกันถูก คุ้มครองสูงกว่าปกติ
  2. เช็คข้อมูลก่อนโอน ตรวจสอบรายละเอียดให้ถูกต้อง เช่น ชื่อ นามสกุล ของผู้ทำประกัน กรมธรรม์ ฯลฯ
  3. ตรวจสอบใบอนุญาต ใบอนุญาตตัวแทนขายประกัน ผ่าน www.oic.or.th

ที่มา : นวกิจประกันภัย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 24 สิงหาคม 2565

ผู้บริโภคต้องรู้ ซื้อยาช่องทางออนไลน์น่ากลัวกว่าที่คิด

  1. การซื้อยาบนช่องทางออนไลน์ผิดกฎหมาย เพราะ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ไม่อนุญาตให้มีการขายยาผ่านช่องทางออนไลน์
  2. ถูกหลอก เพราะอาจจะได้ยาที่ไม่ได้คุณภาพ หรือยาปลอม
  3. อันตราย เพราะไม่ได้รับยาที่จัดโดยบุคลากรทางการแพทย์

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ข่าวจริง : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ปล่อยกู้สินเชื่อดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือน ช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้ผลกระทบน้ำท่วม

ตามที่มีกระแสบนโลกออนไลน์จำนวนมากเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ปล่อยกู้สินเชื่อดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือน ช่วยเหลือเกษตรกร ที่ได้ผลกระทบน้ำท่วม นั้น เป็นข้อมูลจริง

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ระบุว่า ธนาคารมีนโยบายช่วยเหลือเกษตรที่ประสบปัญหาน้ำท่วมจากพายุมู่หลาน โดยมีการปล่อยกู้สินเชื่อให้กับเกษตรที่ประสบปัญหาดังกล่าว ในอัตราดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือน รวมทั้งปล่อยสินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://kingpamyuuuu

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม : เปิดโทรศัพท์มือถือช่วงเวลา 00.30 – 03.30 น. ทำให้มีปัญหาต่อสุขภาพ เนื่องจากรังสีคอสมิกเข้าใกล้โลก

ตามที่มีกระแสบนสังคมออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องเตือนภัยห้ามให้ประชาชนเปิดโทรศัพท์มือถือช่วงเวลา 00.30 – 03.30 น. ทำให้มีปัญหาต่อสุขภาพ เนื่องจากรังสีคอสมิกเข้าใกล้โลก นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ระบุว่า ไม่มีการทำนายการเกิดของรังสีคอสมิกที่จะเกิดขึ้นในช่วง 00:30 – 03:30 น. และรังสีดังกล่าวเป็นเพียงเศษส่วนเล็กของปริมาณรังสีที่มนุษย์ได้รับประจำปี ไม่ได้ส่งผลเสียต่อสุขภาพของมนุษย์

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://3JL2G

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

รู้ไว้ดีกว่าไม่รู้ 3 กลโกงของมิจฉาชีพ SMS

  1. อ้างว่าผู้บริโภคได้รับโบนัสเงินฟรี ก่อนเป็นลิงก์เชิญชวนให้เล่นพนันออนไลน์
  2. อ้างว่าผู้บริโภคได้รับเงินช่วยเหลือ ก่อนเป็นเป็นลิงก์ไวรัส
  3. อ้างว่าผู้บริโภค ได้รับการชักชวนให้สมัครงานกับบริษัทชื่อดัง ก่อนเป็นการหลอกให้ทำงานแชร์ลูกโซ่

ที่มา : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 23 สิงหาคม 2565

เตือนภัย : หลอกลงทุน หุ้น คริปโต ธุรกิจ สุดท้ายสูญเงิน

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัย “มิจฉาชีพ” ไม่ได้มีแค่ “แก๊งคอลเซ็นเตอร์”ที่กำลังระบาด แต่ยังแฝงอยู่ในทุกวงการ ไม่เว้นแวดวงการลงทุนทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนหุ้น, ลงทุนคริปโทฯ และลงทุนธุรกิจต่าง ๆ ที่มักจะมีข้อเสนอสุดจูงใจชวนให้อยากร่วมลงทุน เข้าเส้นทางรวยฟ้าผ่า รวยเร็วแบบพลิกฝ่ามือกับเขาสักครั้ง

การหลอกลงทุนมักจะเอาผลตอบแทนสูงในระยะสั้นๆ มาจูงใจ และตั้งแต่โซเชียลมีเดียแพร่หลายในช่วงหลังๆ เหล่ามิจฉาชีพก็สร้างความน่าเชื่อถือผ่านการนำเสนอข้อมูลปลอม

วิธีสังเกตการหลอกลวงลงทุน

การแอบอ้างชื่อผู้มีชื่อเสียงเพื่อชักชวนลงทุน , แก๊งมิจฉาชีพใช้ชื่อบริษัท ที่น่าเชื่อถือ และโลโก้แอบอ้างลวงคนร่วมลงทุนผ่านระบบ Line Official เพจ Facebook และช่องทางอื่นๆ, ใช้โลโก้ ก.ล.ต. เปิดเพจเพื่อหลอกให้ประชาชนร่วมลงทุน เป็นต้น

การเปิดเพจชวนลงทุนผลตอบแทนสูง เป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่ทำให้หลายคนตัดสินใจร่วมลงทุน เพราะหวังผลตอบแทนสูงลิบ โฆษณาว่ารวยได้ง่ายๆ หรือลงทุนแล้วจะไม่ต้องลำบากอีกต่อไป โดยสิ่งที่ทำให้หลายคนหลงเชื่อคือ การให้ข้อมูลที่ตอบคำถามที่หลายคนมักตั้งข้อสังเกตก่อนตัดสินใจลงทุน เช่น ทำไมต้องมาเทรดให้ เทรดให้แล้วจะได้เงินจริงหรือไม่ หลายคนเมื่อได้คำตอบและเชื่อก็ตัดสินใจร่วมลงทุน นอกจากนี้ยังมีการใช้โซเชียลมีเดียในการอัปเดตข้อมูลที่อ้างว่าได้กำไรสูง ที่ทำให้คนที่กำลังลังเลอยากลองลงทุนดูสักครั้ง

คนร้ายเปิดเพจที่มักจะใช้โลโก้ของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน เพื่อสร้างน่าเชื่อถือ หรือให้คนเข้าใจผิด เช่น โลโก้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ก.ล.ต. เป็นต้น

แอบอ้างคนที่มีชื่อเสียงในแวดวงการลงทุน เช่น ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์, อิก บรรพต ธนาเพิ่มสุข พิธีกรด้านการเงินการลงทุน, พอล ภัทรพล ดารานักแสดงและยูทูบเบอร์ด้านการลงทุนและพัฒนาตัวเอง หรือแม้แต่ตัวกระทรวง ก็เคยถูกแอบอ้างชื่อไปหลอกคนอื่นมาลงทุนเช่นกัน

ทำอินโฟกราฟิกให้ข้อมูล เช่น ชวนลงทุนผลตอบแทนสูง เริ่มต้นได้ด้วยเงินจำนวนไม่มาก หรือทำเอกสาร บลจ. ปลอม แต่ให้โอนเงินเข้าบัญชีส่วนตัวโดย ให้โอนเงินเข้า “บัญชีม้า” ซึ่งเป็นบัญชีที่ถูกซื้อมาจากคนที่รับเปิดบัญชีขาย เงินจะถูกโอนต่อไปเรื่อยๆ หลายบัญชี บางครั้งปลายทางคือ ต่างประเทศ หรือไปเปลี่ยเป็นคริปโทฯ ซึ่งสืบสาวได้ยาก ยากต่อการจับกุม หรือส่วนใหญ่จับได้แต่คนรับจ้างเปิดบัญชีที่เป็นด่านแรกเท่านั้น

การลงทุนหุ้นปัจจุบันสามารถทำได้ด้วยตัวเอง โดยการลงทุนหุ้นหรือสินทรัพย์ที่ต้องใช้เงินในการลงทุน ควรจะลงทุนผ่านบริษัทที่ ก.ล.ต. กำกับและตรวจสอบได้ และมีตัวตนจริง

ทั้งนี้ ผู้ลงทุนสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น ตรวจสอบผ่านแอปพลิเคชัน “SEC Check First” ที่จะรวบรวมรายชื่อผู้ให้บริการในตลาดทุนที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. รวมถึงค้นหาผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตเพื่อช่วยในการตัดสินใจลงทุน (หลักทรัพย์/สินทรัพย์ดิจิทัล)

วิธีป้องกันตัวจากมิจฉาชีพหลอกลงทุน

– ศึกษาอย่างลึกซึ้งก่อนลงทุน

“ไม่ใช่ศึกษาแบบผิวเผิน แต่ต้องศึกษาแบบลึกซึ้ง และต้องดูว่าแต่ละผลิตภัณฑ์ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

#ไม่ว่าจะการันตีผลตอบแทนแบบไหนคนในวงการจะรู้ว่าเราการันตีผลตอบแทนกันไม่ได้การลงทุนมีความเสี่ยงด้วยตัวของมันเองโดยเฉพาะลงทุน 3,000 ได้ 30,000 #ทำไมเขาถึงไม่ใช้เงินของเขาทำเอง

– ติดต่อกับ บลจ. ที่มีใบอนุญาต จาก ก.ล.ต. โดยตรงด้วยตัวเอง นอกนั้นเชื่อไม่ได้

คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยพลาดกับมิจฉาชีพที่โทรมาจากข้างนอก แต่พลาดกับคนรู้จักที่มาแนะนำ ทั้งคนที่ไม่รู้ตัวว่าถูกหลอก และคนที่ตั้งใจมาหลอกเพราะได้ค่านายหน้า ดังนั้นต้องศึกษาด้วยตัวเองให้เข้าใจและใช้วิจารณญาณก่อนตัดสินใจลงทุน จะได้ไม่เสียใจในภายหลังนั่นเอง

ที่มา : ตำรวจไซเบอร์ PCT POLICE

เตือนภัย : โชว์สลิปโอนเงินล่วงหน้าตอนซื้อของ แล้วลบออกลับหลัง

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยวิธีการใหม่ของมิจฉาชีพโกงร้านค้าคือการใช้วิธีโชว์สลิปโอนเงินบนหน้าจอโทรศัพท์ แต่แท้ที่จริงเป็นหน้าสลิปของการโอนเงินล่างหน้า เพื่อยืนยันการจ่ายเงินซื้อของ แต่พอออกพ้นร้าน มิจฉาขีพก็กดยกเลิกการโอนเงินนั้น ทำให้ร้านค้าเสียหาย โดยตำรวจไซเบอร์ แนะให้ใช้วิธีดังต่อไปนี้

1. หากหน้าสลิปที่ลูกค้าโชว์การโอนเงิน ไม่มีคิวอาร์โค้ด (QR code) แปลว่ายังไม่มีการโอนเงินเข้าจริง

2. ให้ธนาคารส่งสลิปการรับเงินผ่านระบบเอสเอ็มเอส (SMS) ธนาคารออนไลน์ หากมีเงินโอนเข้ามาจริง ผู้ขายก็จะได้รับข้อความการโอนเงินจริง

ที่มา : ตำรวจไซเบอร์ PCT Police

ข่าวปลอม : อาหารเสริมเดโดซี สามารถช่วยฟื้นฟูร่างกายได้

ตามที่มีกระแสข่าวบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับอาหารเสริมเอโดซี สามารถช่วยฟื้นฟูร่างกาย รักษาอาการเส้นเลือดสมองตีบ นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุว่า เอโดซี เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม จมูกข้าวสาลีผงโปรตีนจากถั่วเหลือง ฯลฯ และผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่มีการขอยื่นข้อมูลประสิทธิภาพในการรักษาโรคตามที่มีการกล่าวอ้าง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3Q3JL2G

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 22 สิงหาคม 2565

เตือนภัย : ออมสินปล่อยสินเชื่อให้กู้ยืม 3 หมื่นบาท ผ่านไลน์ส่วนตัว

ที่มีกระแสบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ข้อมูลช่วยเหลือประชาชนการที่ธนาคารออมสิน ใจดีปล่อยสินเชื่อให้กู้ยืม 30,000 บาท ผ่านช่องทางไลน์ส่วนตัว นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ ธนาคารออมสิน ระบุว่า ธนาคารไม่มีนโยบายเปิดกู้สินเชื่อผ่านช่องทางไลน์ส่วนตัว และมิจฉาชีพจะมีการใช้ตราสัญลักษณ์ของธนาคารไม่ได้รับอนุญาต

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/Yj48e

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

4 วิธีรับมือ Ransomware

มัลแวร์ คือ เมื่อเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์แล้วจะทำการล็อกรหัสการเข้าถึงไฟล์ข้อมูล ทำให้เจ้าของระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถเข้าถึงไฟล์ภายในระบบของตนเองได้ เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคตกเป็นเหยื่อ ตำรวจสอบสวนกลาง มีวิธีรับมือง่าย ๆ 4 วิธี ดังนี้

  1. ผู้บริโภคไม่ควรดาวน์โหลดไฟล์หรือโปรแกรมที่ไม่น่าเชื่อถือ
  2. ผู้บริโภคต้องรีบลบ Website link file ที่ไม่น่าเชื่อถือให้ลบทิ้งทันที
  3. ผู้บริโภคควรทำการสำรองข้อมูลที่สำคัญอยู่เสมอ เพื่อปกป้องกันการตกเป็นเหยื่อ Ransomware
  4. ผู้บริโภคมั่นติดตามข่าวสาร และวิธีรับมือตลอดเวลา เพื่อให้รู้เท่าทันมัลแวร์

ที่มา : ตำรวจสอบสวนกลาง


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 21 สิงหาคม 2565

ผู้บริโภคต้องรู้ข้อมูลดี ๆ ช่องทางออนไลน์แจ้งเรื่องล่วงละเมิดต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต

ตามที่มีกระแสบนออนไลน์จำนวนมากที่มีแนวโน้มล่วงละเมิดต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต

สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี  สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จึงได้ร่วมมือกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน มูลนิธิ เปิดช่องทางร้องเรียนการล่วงละเมิดต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต

ผ่าน www.คลิปหลุดทำไง.com หรือ www.help.ticac.org สำหรับช่วยเหลือล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต แก่เด็กและผู้ปกครองขึ้น

ที่มา : สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี

ข่าวปลอม : รัฐบาลใจดีแจ้งเงินพิเศษให้กลุ่มประชาชนเปราะบาง

ตามที่มีกระแสข่าวบนโลกออนไลน์มากมายเกี่ยวกับประเด็นการเยี่ยวยาของรัฐบาลเรื่อง รัฐบาลใจป้ำ ใจดี โอนเงินพิเศษให้สำหรับกลุ่มประชาชนเปราะบาง นั้น เป็นข่าวปลอม

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงไปยัง กรมบัญชีกลาง ระบุว่า การประชาสัมพันธ์ข้อมูลดังกล่าวมีการบิดเบือนให้เกิดความเข้าใจผิด แต่ในทางกลับกันเนื้อหามีความถูกต้องเนื่องจากรัฐบาลได้มีการอนุมัติโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ระยะเป็นเวลา 2 เดือน ตั้งแต่กันยายน – ตุลาคม 65

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://4PYGH

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 20 สิงหาคม 2565

ผู้บริโภคต้องรู้ การนำภาชนะโฟม พลาสติก เข้าอุทยานแห่งชาติ มีโทษ

ตามที่มีกระแสบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ข้อมูลห้ามนำภาชนะโฟม พลาสติก เข้าอุทยานแห่งชาติ เพราะเสี่ยงมีโทษ นั้น เป็นเรื่องจริง

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ระบุว่า ห้านนักท่องเที่ยวห้ามนำภาชนะที่ทำด้วยโฟมและบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง เข้าไปในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศ 

ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

รวมข้ออ้างกลโกงแก๊งมิจฉาชีพออนไลน์ยอดฮิต 3 ข้อ

  1. มิจฉาชีพจะอ้างว่าตัวเป็นพนักงานบริษัทต่าง ๆ แจ้งว่าผู้บริโภคเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัลที่มีมูลค่าสูง ต้องโอนค่าภาษีรางวัลให้มิจฉาชีพก่อนถึงได้รับรางวัล
  2. มิจฉาชีพจะอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร ติดต่อผู้บริโภคว่าโอนเงินผิดบัญชี ให้ผู้บริโภคโอนเงินคืนโดยให้ติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมทางไกลในการควบคุมและโอนเงินผู้บริโภคจนหมดบัญชี
  3. มิจฉาชีพจะอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากร หลอกผู้บริโภคว่าได้รับเงินคืนภาษี โดยให้ยืนยันรายการคำบอกที่ตู้เอทีเอ็ม ที่จริงแล้วนั้น เป็นการโอนเงินให้มิจฉาชีพ

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 19 สิงหาคม 2565

เตือนภัย : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เชิญชวนให้ประชาชนลงทุนมิติใหม่ใช้เงินแค่ 1,000 บาท ได้รับผลตอบแทนสูงถึง 20,000 บาท/เดือน

ตามที่มีการประกาศเชิญชวนให้ประชาชนหันมาลงทุนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในเงื่อนไขง่าย ๆ แค่ประชาชนลงทุนแค่ 1,000 บาท ได้รับผลตอบแทนสูงถึง 20,000 บาท/เดือน นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงไปยัง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ระบุว่า การประชาสัมพันธ์มูลดังกล่าวที่มีบนโลกออนไลน์เป็นข้อมูลที่มีไม่ความจริง และในทางกลับกันมีการใช้ตราสัญลักษณ์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยไม่ได้รับอนุญาต

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://4PYGH

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

เคล็ดลับ ง่าย ๆ สังเกตมิจฉาชีพกู้เงินออนไลน์ แค่ 3 วิธี

  1. เร่งให้โอนเงิน ค่าค้ำประกันหรือค่าทำสัญญามาก่อนได้รับสินเชื่อ
  2. อ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้บริหารระดับสูง ช่วยให้กู้ผ่านได้
  3. พยายามสร้างความน่าเชื่อถือ โดยเอกสารสัญญา ที่มีตราหน่วยงานรัฐ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

ใส่หน้ากากอนามัยไว้ใต้คาง โดยไม่ปิดจมูกอันตรายกว่าที่คิด

1. การดึงหน้ากากอนามัยไว้ใต้คางโดยไม่ปิดจมูก ไม่สามารถป้องกันเชื้อโรคได้

2. หากดึงหน้ากากอนามัยมาไว้ที่ใต้คางโดยไม่ปิดจมูก จะทำให้หน้ากากอนามัยเกิดการปนเปื้อนเชื้อโรค

3. เมื่อดึงหน้ากากอนามัยกลับมาใส่ปกติ จะทำให้ได้รับเชื้อโรคผ่านทางปากและจมูก

4. หากต้องการถอดหน้ากากอนามัย ควรมีอุปกรณ์สำหรับเก็บหน้ากากอนามัย

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข

5 โรคน่ากลัวสำหรับผู้บริโภคติดโซเซียลมากเกินไป

1.โรคซึมเศร้า เนื่องจากการเล่นโซเซียลมากจนเกินไป มักใช้ช่องทางออนไลน์ในการระบายความรู้สึกส่วนตัวเองมากขึ้น

2.โรคละเมอแชท เป็นอาการติดแชทมากกว่าปกติทั่วไป แม้ขณะกำลังหลับยังละเมอตอบแชทในความฝัน

3.โรคโนโมโฟเบีย เป็นสภาวะการกลัวไม่มีโทรศัพท์มือถือใช้

4.โรควุ่นในตาเสื่อมสภาพ เป็นอาการการเล่นมือถือเวลานานทุก ๆ วัน จะทำให้วุ่นตาเสื่อมสภาพ ทำให้เห็นภาพเป็นคราบดำ ๆ เมื่อมองไปที่แสงสว่าง

5. โรคออฟฟิศซินโดรม เนื่องจากการเล่นมือถือเวลานาน ทำให้สรีระร่างกายก้มมองหน้าจอนานกว่าปกติ จนทำให้ปวดเมื่อยที่ต้นคอและลามถึงบริเวณบ่า ไหล่

ที่มา : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 18 สิงหาคม 2565

เตือนภัย : มิจฉาชีพอ้างว่าแอปพลิเคชันเป๋าตัง ให้กู้เงินสูงสุด 45,000 บาท ง่าย ๆ เพียงติดต่อผ่านไลน์ส่วนตัว

จากเหตุการณ์ที่น่าตกใจของชาวเน็ตที่มีการอ้างถึงเรื่องแอปพลิเคชันเป๋าตัง ใจดีให้ผู้บริโภคกู้เงินสูงสุด 45,000 บาท ง่าย ๆ เพียงติดต่อผ่านไลน์ส่วนตัว นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงไปยัง ธนาคารกรุงไทย ผู้ดูแลแอปพลิเคชันเป๋าตัง ระบุว่า ธนาคารไม่มีนโยบายปล่อยกู้สินเชื่อผ่านแอปพลิชันเป๋าตัง ในทางกลับกันขอให้ผู้บริโภคระวังมิจฉาชีพแอบอ้างในการให้ติดต่อผ่านช่องทางออนไลน์ส่วนตัวในการปล่อยสินเชื่อที่ใช้ตราสัญลักษณ์ของเป๋าตังค์ หรือ กรุงไทย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://4PYGH

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม : รักษาหวัดด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลน่าสนใจกับวิธีทางเลือกการรักษาอาการหวัดง่าย ๆ เพียงแค่ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ 50% วางบนสะดือ หรือ หน้าผาก นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกมาระบุว่า การรักษาหวัดด้วยวิธีใช้ สำลีชุบแอลกอฮอล์ วางบนสะดือ หรือ หน้าผาก ไม่สามารถทำให้หายจากโรคหวัด ไข้ตัวร้อน อาการไอ ปวดท้อง

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

รู้ไว้ ดีกว่าไม่รู้ ก่อนถูกหลอกจากแอปพลิเคชันเงินกู้ผิดกฎหมาย

ตามที่มีกระแสบนโลกออนไลน์จำนวนมากเกี่ยวกับการโดนหลอกให้กู้เงินผ่านแอปพลิเคชันกู้เงินผิดกฎหมาย ประสบกับปัญหาดอกเบี้ยสูงกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด นั้น

เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคถูกหลอก ธนาคารแห่งประเทศไทย มีวิธีดี ๆ ง่าย ๆ เพียงแค่ ‘ตรวจสอบแหล่งเงินกู้’ ที่ได้รับอนุญาต ดังนี้

  1. ให้ผู้บริโภค กดไปที่ลิงก์ https://www.bot.or.th/Thai/ConsumerInfo/Fraud/Pages/BOTLicensedLoan.aspx นี้
  2. ให้คลิกไปที่ ‘สถานบันการเงินที่ได้รับอนุญาต
  3. แล้วพิมพ์ชื่อสถาบันการเงินที่ผู้บริโภคต้องการรู้ ที่ช่องค้นหา
  4. กดคำว่า ‘GO‘ เพื่อตรวจสอบข้อมูลของสถาบันการเงิน

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

อย่าหลงเชื่อ : คาลเมรอล แฮนด์ แอนด์ ฟุต ครีม สรรพคุณดีรักษาโรคผิวหนังภูมิแพ้ ได้

ตามที่มีการประชาสัมพันธ์ชวนเชื่อในช่องทางออนไลน์มากมายเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง หมอแนะนำ ผลิตภัณฑ์ คาลเมรอล แฮนด์ แอนด์ ฟุต ครีม สรรพคุณดีรักษาโรคผิวหนังภูมิแพ้ นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงไปยัง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุว่า ผลิตภัณฑ์ คาลเมรอล แฮนด์ แอนด์ ฟุต ครีม มีชื่อการค้าว่า คาลเมรอล (CALMEROL) ผลิตโดย บริษัท พอช เมดิก้า ไลฟ์เทค จำกัด ประเภทเครื่องสำอาง เป็นครีมบำรุงผิวใช้ทามือ เท้า ไม่ได้มีสรรพคุณรักษาโรคผิวหนังภูมิแพ้ ตามที่มีการกล่าวอ้างแต่อย่างใด

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3Slncbk

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 17 สิงหาคม 2565

ข่าวปลอม : วันที่ 18 – 19 สิงหาคม 2565 ไทยตอนบนเตรียมรับมือฝนตกถล่มทลาย

ตามที่มีการแชร์ข่าวบนโลกออนไลน์เกี่ยวประเด็นร้อนต้องฟังเรื่องวันที่ 18 – 19 สิงหาคม 2565 ประเทศไทยตอนบนต้องระวังฝนตกถล่มทลาย นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงไปยัง กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระบุว่า ข้อมูลดังกล่าวที่มีการกล่าวอ้างไม่ได้มาจากกรมอุตุฯ แต่ในทางกลับกันช่วงวันที่ 18 – 19 สิงหาคม 2565 ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/4PYGH

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

เตือนภัย : ธนาคารออมสิน ปล่อยสินเชื่อเงินสดทันใจ ช่วยประชาชน ให้กู้สูงถึง 10,000 บาท ผ่อนต่ำแค่ 150 บาท

ตามที่มีข้อมูลน่าสนใจเผยแพร่เต็มโลกออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ธนาคารออมสินใจป้ำ ปล่อยสินเชื่อเงินสดทันใจ ช่วยประชาชน ให้กู้สูงถึง 10,000 บาท ผ่อนต่ำแค่ 150 บาท/เดือน นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงไปยัง ธนาคารออมสิน ได้ออกมาชี้แจ้งว่า ธนาคารไม่มีบริการสินเชื่อเงินสดทันใจ ช่วยประชาชน ให้กู้ 10,000 บาท ผ่อนต่ำแค่ 150 บาท/เดือน ตามที่มีการแอบอ้างใช้ตราสัญญาลักษณ์ให้ประชาชนเข้าใจผิด

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://s/4PYGH

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

วิธีสังเกต เพจ Facebook ปลอม ง่าย ๆ แค่ 2 วิธี

  1. ให้ผู้บริโภคสังเกตสัญลักษณ์ตรวจสอบยืนยัน (เครื่องหมายถูกต้องสีฟ้า) อยู่ด้านหลังชื่อเพจ Facebook หรือ คอมเมนต์
  2. ให้ผู้บริโภคสังเกตสัญลักษณ์ “ผู้เขียน” หรือ “Author” (เครื่องหมายไมโครโฟน) อยู่ด้านบนชื่อเพจ Facebook หรือ คอมเมนต์

ที่มา : ตำรวจสอบสวนกลาง


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 16 สิงหาคม 2565

ผู้บริโภคต้องรู้ 5 ข้ออ้าง ที่มิจฉาชีพอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย

1. อ้างว่าเป็นบริษัทตัวแทนของธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับอนุญาตให้ปล่อยกู้สินเชื่อให้กับประชาชน

2. อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นผู้อนุมัติวงเงินกู้ให้กับประชาชน

3. อ้างว่าผู้บริโภคได้รับเงินกู้จากธนาคารแห่งประเทศไทย

4. อ้างว่าผู้บริโภคติดหนี้จำนวนมากต้องชำระให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย

5. มิจฉาชีพมักใช้ตราสัญญาลักษณ์ธนาคารแห่งประเทศไทยและปลอมแปลงเอกสาร

สิ่งที่ผู้บริโภค ต้องรู้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่มีนโยบายการทำธุรกรรมทางการเงินโดยตรงกับประชาชน

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

กลโกงมิจฉาชีพหลอกให้รัก แล้วจากไป

  1. หลอกลวงว่าเป็นนักธุรกิจ คนมีฐานะ  ดารา ศิลปิน หรือแอบอ้างเป็นบุคคลอื่น
  2. หลอกให้รัก มิจฉาชีพหว่านล้อมผู้บริโภคด้วยคำหวาน ให้เชื่อใจ
  3. หลอกลวงให้ผู้บริโภคโอนเงินให้ แล้วตีตัวอออกหาก หรือบล็อกช่องทางติดต่อของผู้บริโภคทันที หลังได้เงิน

ที่มา : กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

ข่าวปลอม : อย่ารับวัคซีนเข็มที่ 4 ชนิดแปะผิวหนัง เพราะอาจกลายเป็นคนติดยาได้

ตามที่มีกระแสข่าวบนโลกออนไลน์ประเด็นร้อนด้านสุขภาพเกี่ยวกับเรื่อง การเชิญชวนไม่ให้รับวัคซีนเข็มที่ 4 ชนิดแปะผิวหนัง ฉีดตัวเองที่บ้าน จะกลายเป็นคนติดยา นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า วัคซีนที่เป็นชนิดแบบแผ่นแปะบริเวณผิวหนัง ให้ประสิทธิภาพในหนูทดลอง ยังไม่มีข้อมูลทางวิจัยยืนยันว่าหากใช้ในมนุษย์แล้วจะกลายเป็นคนติดยา และในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายรับรองให้ประชาชนซื้อใช้เองได้

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/4PYGH

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

3 สิ่งที่ไม่ควรทำช่วยกำจัดแก๊งคอลเซ็นเตอร์

  1. ไม่เชื่อ หากได้รับสายจากบุคคลอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ฯลฯ ควรว่างสายแล้วติดต่อหน่วยงานที่ถูกแอบอ้างโดยตรงเพื่อสอบถามข้อเท็จจริง
  2. ไม่รีบโอน หากมีการอ้างให้ผู้บริโภคโอนเงินให้เจ้าหน้าที่ของรัฐตรวจสอบ ห้ามโอนเงินเด็ดขาด เพราะไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
  3. ไม่ตื่นตระหนก หากมีโทรศัพท์แจ้งว่าท่านกระทำผิดอาญา จะถูกดำเนินคดี ให้คิดก่อนเลยว่าเป็นมิจฉาชีพ

ที่มา : ตำรวจสอบสวนกลาง


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 15 สิงหาคม 2565

เตือนภัย : อาหารเสริม Hafaz ลดความดันโลหิต และภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายของหลอดเลือดได้

ตามที่มีกระแสบนออนไลน์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารเสริม Hafaz ลดความดันโลหิต และลดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายของหลอดเลือด โดยมีการใช้ชื่อ แพทย์หญิง คุณหญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ เป็นผู้โปรโมทผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ 

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุว่า ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ฮาฟาส (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) / Hafaz (Dietary Supplement Product) เลข อย. 10-1-07561-5-0057 มีการแสดงคุณประโยชน์หรือสรรพคุณที่ไม่ได้รับอนุญาต และอาหารเสริมดังกล่าว ไม่มีผลในการบำบัด บรรเทา หรือรักษาโรค รวมถึงมีการใช้ชื่อแพทย์หญิง คุณหญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ โดยไม่ได้รับอนุญาต

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3uxMNUr

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

4 กลลวงโจรออนไลน์ อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร

  1. อ้างขอข้อมูลรหัส หรือ OTP เข้าแอปธนาคาร
  2. อ้างขอข้อมูลส่วนบุคคลทางแชทส่วนตัว
  3. ให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคลในลิงก์ ที่โจรกำหนด
  4. ให้อัปเดตแอปธนาคาร นอกเหนือจากวิธีปกติ

ที่มา : กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

ผู้บริโภค ต้องรู้มีเงินโอนเข้าบัญชีผิด ต้องทำยังไง ?

  1. ไม่นำเงินไปใช้ เพราะถ้าไม่คืนเงินเจ้าของเงินสามารถดำเนินคดีตามกฎหมายได้
  2. ห้ามโอนเงินคืนเอง เพราะอาจเป็นกลลวงของมิจฉาชีพ
  3. ให้ติดต่อธนาคารโดยด่วน เพื่อให้ตรวจสอบที่มาของเงินก่อนโอนเงินคืน

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลเสี่ยงกว่าที่คิด

  1. เสี่ยงถูกข้อมูลส่วนบุคคล
  2. เสี่ยงถูกใช้ประโยชน์ข้อมูลส่วนบุคคลที่ผิดกฎหมาย
  3. เสี่ยงถูกนำไปสร้างความเสียหายเดือดร้อน
  4. เสี่ยงถูกติดตามชีวิตประจำวัน

ที่มา : ตำรวจสอบสวนกลาง


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 14 สิงหาคม 2565

ข่าวปลอม : อย่าแชร์! กรมพัฒนาธุรกิจการค้า อนุญาต บริษัท ทิพวรรณ เงินด่วน จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

ตามที่มีการเผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า อนุญาต บริษัท ทิพวรรณ เงินด่วน จำกัด ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีการโพสต์ภาพเอกสารโดยระบุว่ากรมพัฒนาธุรกิจการค้า อนุญาต บริษัท ทิพวรรณ เงินด่วน จำกัด ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าจากการตรวจสอบเลขทะเบียน 0105560164975 ในฐานข้อมูลพบว่าชื่อ บริษัท สเปซแซ่บ จำกัด และไม่พบชื่อ บริษัท ทิพวรรณ เงินด่วน จำกัด ในฐานข้อมูลแต่อย่างใด

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.dbd.go.th/ หรือโทร 1570

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม อย่าแชร์! http://afdw7.com เป็นเว็บไซต์ทางการของกรมสรรพากร

ตามที่มีการบอกต่อข้อมูลในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับเรื่อง http://afdw7.com เป็นเว็บไซต์ทางการของกรมสรรพากร ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง กับกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ

กรมสรรพากร ได้ชี้แจงว่าเว็บไซต์ดังกล่าวมีการแอบอ้างเป็นเว็บไซต์ของกรมสรรพากร โดยใช้ชื่อ URL ว่า http://afdw7.com และมีปุ่มคลิกเพื่อดาวน์โหลดตรงมุมขวาหน้าเว็บไซต์ ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อกดลิงก์ดังกล่าวโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ท่านถูกขโมยข้อมูลสำคัญ

สำหรับเว็บไซต์ทางการที่แท้จริงของกรมสรรพากรนั้นจะมีชื่อ URL ว่า www.rd.go.th เท่านั้น ซึ่งหากเข้าไปแล้วจะไม่มีปุ่มคลิกเพื่อให้ดาวน์โหลดข้อมูลใด ๆ ทั้งสิ้น และขอให้สังเกตชื่อ URL ก่อนใช้บริการ

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมสรรพากร สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.rd.go.th หรือโทร. 02 272 9529

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม : น้ำกัญชาคั้นสดไม่ออกฤทธิ์ต่อประสาท ป้องกันและรักษาโรคได้ดีกว่าสารสกัดกัญชา

ตามที่มีข้อความแนะนำบนสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องน้ำกัญชาคั้นสดไม่ออกฤทธิ์ต่อประสาท ป้องกันและรักษาโรคได้ดีกว่าสารสกัดกัญชานั้น ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีคำแนะนำบนสื่อสังคมออนไลน์ที่ระบุถึงงานวิจัยน้ำคั้นจากใบสดกัญชา ช่วยป้องกันโรคและรักษาโรคได้ดีที่สุดเพราะการ ดื่มน้ำคั้นกัญชาสดไม่ทำให้ไม่เมา และเวลาป่วยสามารถดื่มในปริมาณที่มากพอเพื่อรักษาโรคได้ ทางสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูติดยาเสพติดแห่งชาติ ได้ชี้แจงว่าสารสำคัญในกัญชา THC ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท การรับประทานในรูปแบบใด ไม่ว่าจะเป็นทานสด ต้ม คั้นสด ก็ออกฤทธิ์ได้เช่นเดียวกับการเสพโดยผ่านความร้อนแต่ช้ากว่า หากได้รับในปริมาณมากเกินขนาดก็จะก่อให้เกิดอันตราย

ซึ่งการบริโภคกัญชาโดยการกินไม่ว่าจะเป็นการทานสด การต้ม การคั้นจะทำให้ได้รับสารจากจากกัญชาให้ปริมาณไม่แน่นอนในแต่ละครั้ง ทั้งสายพันธุ์กัญชาที่ใช้ แหล่งปลูกที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้ไม่สามารถคาดคะเนระดับสารสำคัญในกัญชา THC หรือ CBD ที่ร่างกายได้รับ นอกจากนี้ในกัญชายังมีสารประกอบอื่น ๆ ที่มีอยู่ในกัญชารวมอยู่ด้วย และร่างกายยังมีการแปลงสภาพสาร (Metabolite) ผ่านทางตับเป็นสารอีกหลายชนิด ในการทำวิจัยจำเป็นต้องรู้ว่ากำลังศึกษาสารเคมีใดปริมาณเท่าไร ดังนั้นการทำวิจัยย่อมทำให้ไม่สามารถสรุปผลได้ ซึ่งต่างจากสารสกัดกัญชาที่มีการควบคุมปริมาณสารสำคัญและแยกนำสารประกอบอื่น ๆ ออกก่อนทำการวิจัยทำให้มีผลการศึกษาที่สามารถมีความน่าเชื่อถือกัญชา​การออกฤทธิ์จะขึ้นกับชนิด ปริมาณของสารสำคัญ และการตอบสนองที่แตกต่างกันในแต่ละคน ควรใช้สารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์ให้ปริมาณที่เหมาะสมตามข้อบ่งชี้

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://www.pmnidat.go.th/ หรือโทร. 02-531-0080

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 13 สิงหาคม 2565

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ธ.กรุงไทย ธ.ออมสิน พร้อมอีก 6 ธนาคารไทย ปล่อยสินเชื่อ Piggybank ให้กู้ 10,000 บาท ผ่อน 660 บาท/เดือน

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลด้านการเงินในสื่อสังคมออนไลน์เรื่องธ.กรุงไทย ธ.ออมสิน พร้อมอีก 6 ธนาคารไทย ร่วมมือปล่อยสินเชื่อ Piggybank ให้กู้ 10,000 บาท ผ่อน 660 บาท/เดือน ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยธนาคารกรุงไทย และธนาคารออมสิน กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ธนาคารกรุงไทย และธนาคารออมสิน กระทรวงการคลัง ได้ชี้แจงว่า ได้มีการแอบอ้างนำโลโก้ของทั้ง 2 ธนาคารไปใช้ให้ประชาชนเกิดความสับสน โดยทั้ง 2 ธนาคารไม่มีส่วนเกี่ยวข้องตามที่แอบอ้างแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ธนาคารออมสินไม่ได้มีบริการเงินกู้ สินเชื่อ Piggybank ให้กู้ 10,000 บาท ผ่อน 660 บาท/เดือน ร่วมกับสถาบันการเงินต่างๆ ตามที่โซเชียลนำโลโก้มาแสดง

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือประชาชนให้งดแชร์หรือส่งต่อข้อมูลที่เป็นเท็จไปในช่องทางสื่อโซเชียลต่างๆ และเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนถูกสื่อโซเชียลโพสต์ข้อมูลหลอกลวง และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องจากเว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th หรือหากมีข้อสงสัยข้อมูลเกี่ยวผลิตภัณฑ์ธนาคารออมสิน โปรดสอบถาม GSB Contact Center โทร.1115 สำหรับธนาคารกรุงไทย สามารถตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้องได้ที่เว็บไซต์ www.krungthai.com เฟซบุ๊ก Krungthai Care หรือโทร Contact Center โทร 02-111-1111

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

รู้ทัน : ดูยังไง⁉️ ATK ไหนจริง ไหนปลอม

ช่วงนี้มีการลักลอบผลิตชุดตรวจ ATK ปลอม หลอกขายให้กับประชาชนผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นจำนวนมาก

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จึงขอแนะนำวิธีสังเกตเบื้องต้น ว่า ATK แบบไหนจริง ATK แบบไหนปลอม

โดยให้สังเกตหมายเลขล็อตที่กล่องชุดตรวจโควิด กับหมายเลขล็อตซองบรรจุภัณฑ์ด้านใน หากเป็นของจริง หมายเลขล็อตจะต้องตรงกัน‼️

ดังนั้นก่อนที่จะเลือกซื้อชุดตรวจโควิด – 19 ทุกครั้ง ขอให้ท่านตรวจสอบผลิตภัณฑ์ตามวิธีข้างต้น และควรเลือกซื้อจากแหล่งขายที่น่าเชื่อถือ หรือสั่งซื้อจากบริษัทผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าที่ได้รับอนุญาตนำเข้าถูกต้องจาก อย.

โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อชุดตรวจ ATK ที่ได้รับอนุญาตผ่านเว็บไซต์ https://www.fda.moph.go.th/sites/Medical/SitePages/test_kit_covid19.aspx

ที่มา : ตำรวจสอบสวนกลาง

รู้ทัน : กลโกง “หลอกลงทุน” ปี 2022

ตำรวจไซเบอร์เตือนภัยประชาชน กลโกงโจรออนไลน์ที่มาในรูปแบบการหลอกลงทุนวิธีการที่พบเห็นได้บ่อย คือ

  1. นำโลโก้ของหน่วยงานหรือบริษัทขนาดใหญ่มาทำเป็นเพจหรืออินโฟกราฟฟิก เพื่อความน่าเชื่อถือและสร้างความเข้าใจผิดให้แก่เหยื่อ

2.นำเอาภาพของคนมีเชื่อเสียงไม่ว่าจะเป็นดาราหรือนักลงทุน มาแอบอ้างเพื่อชักชวนให้เหยื่อมาลงทุนกับพวกมัน

3.ชวนให้ลงทุนโดยให้ผลตอบแทนที่สูง เริ่มต้นได้ด้วยจำนวนเงินไม่มาก โดยมิจฉาชีพจะทำเอกสารปลอมต่างๆ รวมถึงแอปพลิเคชั่น เพื่อให้เหยื่อเข้าใจว่าได้มีการลงทุนจริง

4.บัญชีที่เหยื่อโอนเงินไปนั้น จะเป็นบัญชีส่วนตัว (ส่วนใหญ่เป็นบัญชีม้า) ไม่ใช่บัญชีของบริษัทหรือถูกกล่าวอ้าง

📌วิธีป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อเบื้องต้น

1.ศึกษาการลงทุนอย่างจริงจังก่อนการลงทุน เพื่อจะได้มีความรู้ในการลงทุนที่ถูกต้อง

2.หากจะลงทุนให้เปิดพอร์ตลงทุนด้วยตนเอง ไม่ผ่านนายหน้าหรือคนที่อ้างว่าเป็นนายหน้า

3.ติดต่อกับผู้ให้บริการที่มีใบอนุญาตจาก ก.ล.ต. โดยตรงด้วยตนเอง

4.อย่าโอนเงินให้บุคคลอื่นเพื่อฝากเทรดหรือลงทุนเด็ดขาด

5.ควรลงทุนผ่านผู้ให้บริการภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. เท่านั้น ตรวจสอบได้โดยผ่านแอปพลิเคชั่น “SEC Check First”

📌สังเกตว่า เพจพวกนี้จะยังไม่มีผู้ติดตามมากเท่าไหร่นัก และจะใช้วิธียิงแอดรัวๆ โดยให้สังเกตคำว่า 👉👉”ได้รับการสนับสนุน”👈👈

ที่มา : เพจตำรวจไซเบอร์ PCT POLICE


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 12 สิงหาคม 2565

เตือนภัย : ระวังหลอกให้ลงทุน

ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย ประชาชน ระวังมิจฉาชีพหลอกลงทุน “ผ่านหน้าเฟซบุ๊ก” มักอ้างชื่อตลาดหลักทรัพย์ บริษัทยักษ์ใหญ่ ดารา นักการเงิน มีข้อเสนอสุดจูงใจชวนให้อยากร่วมลงทุน เข้าเส้นทางรวยฟ้าผ่า รวยเร็วแบบพลิกฝ่ามือ รับประกันผลตอบแทน และอ้างว่าไม่เสี่ยง ดังนั้น จึงต้องมีศึกษาข้อมูลให้ชัดเจนทุกครั้งก่อนลงทุน

วิธีตรวจสอบเบื้องต้น

  1. เครื่องหมายรับรองตัวตน
    ตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่แนะนำการลงทุน ผู้ประกอบธุรกิจ หรือหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต.เว็บไซต์ ก.ล.ต. www.sec.or.th
  2. จำนวนผู้กดไลค์ กดติดตามเพจ
  3. ดูความโปร่งใสของเพจ ระยะเวลาที่สร้างเพจ การเปลี่ยนชื่อเพจ

ที่มา : ตำรวจไซเบอร์ PCT POLICE

ข่าวปลอม อย่าแชร์! เพจเฟซบุ๊ก สำนักงาน กลต. แจกคริปโตเคอร์เรนซี

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเพจเฟซบุ๊ก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) มีลิงก์เชื่อมไปยังเว็บไซต์ที่แจกคริปโตเคอร์เรนซี ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักงาน ก.ล.ต. พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อออนไลน์ว่าเพจเฟซบุ๊ก สำนักงาน กลต. มีลิงก์เชื่อมไปยังเว็บไซต์ที่แจกคริปโตเคอร์เรนซี ทางสำนักงาน ก.ล.ต. ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่าพบว่าไม่ใช่เพจของสำนักงานแต่เป็นการสร้างเพจเลียนแบบโดยใช้โลโก้และแบนเนอร์ของสำนักงาน ก.ล.ต. โดยไม่ได้รับอนุญาต

ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ทั้งนี้ ก่อนตัดสินใจลงทุน หรือเมื่อถูกชักชวน สามารถตรวจสอบว่า ผู้ที่ชักชวน/ผู้ให้บริการ ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. หรือไม่ โดยตรวจสอบที่ www.sec.or.th/licensecheck หรือ ติดตั้งแอปพลิเคชัน SEC Check First เพื่อตรวจสอบข้อมูลได้ทันที และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจาก สำนักงาน ก.ล.ต. สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.sec.or.th หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ โทร 1207

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม : ไข่ปลอมระบาดในตลาดสด อ.สังขละ จังหวัดสุรินทร์

ตามที่มีการเผยแพร่ข่าวเรื่องตลาดสดใน อ.สังขะ พบไข่ปลอมระบาดนั้น ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีข้อมูลว่าประชาชนซื้อไข่ไก่ในพื้นที่ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ แจ้งว่ามีการซื้อไข่ไก่ราคาถูกผิดปกติ มีขนาดใหญ่มาก พบลักษณะภายนอก ภายใน รวมถึงลักษณะหลังทอดแล้ว แตกต่างจากไข่ไก่ทั่วไป เมื่อตอกดูพบไข่ขาวมีฟองฟู ไข่แดงเนื้อเหนียวเหมือนเคี้ยวแผ่นแป้ง จึงเข้าใจว่าเป็นไข่ปลอมนั้น ทางกรมปศุสัตว์ ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่าประเทศไทยไม่มีการผลิตไข่ปลอมซึ่งต้นทุกการผลิตแพงกว่าไข่จริงในไทย อีกทั้งประเทศไทยยังสามารถผลิตไข่ไก่ได้ในปริมาณมากเกินความต้องการของผู้บริโภคในประเทศ ไม่มีความจำเป็นต้องผลิตไข่ปลอมขึ้นมาหลอกขายแต่อย่างใด นอกจากนี้ กระแสข่าวไข่ปลอมยังเกิดขึ้นเป็นประจำ และจากการลงพื้นที่ตรวจสอบของเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ทุกครั้ง พบว่ามักเป็นไข่เก่าเสื่อมคุณภาพแทบทั้งสิ้น

สำหรับกรณีนี้ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอศรีณรงค์เข้าตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่าไข่ที่ซื้อมาน่าจะเป็นไข่เก่าเก็บ และได้ชี้แจงให้ผู้บริโภคได้เข้าใจเกี่ยวกับการเลือกซื้อไข่สดแล้ว โดยการเก็บไข่ไว้นานเกินไปหรือไข่ที่มีความเก่ามากจะปรากฎการเสื่อมสภาพตามข่าวที่ปรากฎบ่อยครั้ง ได้แก่ เหนียวหรือข้นเป็นวุ้นซึ่งมักเกิดจากการเก็บรักษาไข่ในอุณหภูมิต่ำเป็นระยะเวลานาน ทำให้โปรตีนในไข่ขาวและไข่แดงมีการเปลี่ยนสภาพโครงสร้างจากความเย็นทำให้กลายเป็นลักษณะคล้ายวุ้น หรือเมื่อผ่านความร้อนจะแข็งกลายเป็นยางเหนียวๆ เพราะโปรตีนที่เปลี่ยนแปลงจะสภาพเหมือนยางหรือซิลิโคน ซึ่งมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นไข่ปลอม

ส่วนวิธีการเลือกซื้อไข่สด ให้สังเกตุที่เปลือกไข่ ไข่สดจะมีนวลไข่คล้ายแป้งติดอยู่ เปลือกเรียบไม่ขรุขระ เปลือกไข่ภายนอกเป็นสีนวลตามสายพันธุ์ไก่ ไม่มีสิ่งสกปรก เปลือกไข่ไม่แตก บุบ ร้าว หากเขย่าจะไม่มีเสียงน้ำกระฉอกภายใน หรือสังเกตง่ายๆ ด้วยการดูที่วันผลิตและหมดอายุที่แสดงที่ฉลากของไข่ ส่วนการเก็บรักษาไข่ไก่ที่เหมาะสมคือ ควรเก็บในอุณหภูมิประมาณ 4 องศาเซลเซียสหรือก็คือเก็บในตู้เย็นในช่องเก็บไข่ ยิ่งหากเก็บไว้ในอุณหภูมิปกติแล้วเมื่อผ่านไป 7 วันยิ่งควรนำเข้าตู้เย็น แต่ไม่ควรเก็บในช่องแช่แข็งซึ่งจะทำให้โปรตีนไข่เปลี่ยนสภาพไป

ทั้งนี้ ในปัจจุบัน การผลิตไข่ไก่ในประเทศไทย ประมาณ 92 % ผลิตจากฟาร์มภายใต้มาตรฐาน GAP ที่ได้รับรองโดยกรมปศุสัตว์ มีการควบคุมดูแลการผลิตตั้งแต่แหล่งที่มาของแม่ไก่ไข่ การให้อาหาร การให้ยา การเฝ้าระวังโรค และส่วนใหญ่เลี้ยงภายใต้ระบบปิดอย่างเข้มงวด ทำให้ได้ไข่ที่สด สะอาด มีความปลอดภัยและปลอดสารตกค้าง โดยขอให้ประชาชนเลือกซื้อไข่ไก่สดจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น สถานที่จำหน่ายที่เป็นหลักแหล่งซึ่งสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของไข่ไก่ได้ หรือเพียงมองหาตราสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK” เพื่อให้มั่นใจได้ทันทีว่าสถานที่จำหน่ายไข่ไก่สดนั้นได้มาตรฐาน ผ่านการรับรองจากกรมปศุสัตว์

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 11 สิงหาคม 2565

ข่าวปลอม : หลอกว่าสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เผยเลขลับเฉพาะวงใน งวด 16 สิงหาคม 2565

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลบนสื่อออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เผยเลขลับเฉพาะ งวด 16 ส.ค. 65 ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กระทรวงการคลัง พบว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีการโพสต์ข้อความโดยระบุว่าเผยเลขลับเฉพาะ งวด 16 ส.ค. 65 ทางสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าจากที่มีการโพสต์รูปภาพเลขลับเฉพาะวงใน งวดวันที่ งวด 16 ส.ค. 65 ประกอบด้วยตัวเลขบน-ล่าง หมายเลข 40 42 50 52 นั้น มีการนำตราสัญลักษณ์ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลไปใช้โดยมิได้รับอนุญาต โดยที่การออกรางวัลของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ดำเนินการเป็นไปตามมาตรฐาน ISO 9001:2015 ที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ทุกขั้นตอน และไม่มีผู้ใดสามารถทราบผลรางวัลล่วงหน้าได้

ซึ่งพฤติกรรมการส่งข้อมูลว่า สามารถให้เลขที่ถูกรางวัลได้นั้นไม่เป็นความจริง จึงขอเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพที่ส่งจดหมายหลอกลวงหรือแอบอ้างผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียว่าสามารถให้ตัวเลขที่ถูกรางวัลได้ ทั้งนี้สำนักงานฯ ได้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

เตือนภัย : โดนหลอกทางโซเชียล ผ่านโพสต์ชิงโชค สูญเงินฟรี

ตำรวจสอบสวนกลางแจ้งเตือนว่า ปัจจุบันได้มีมิจฉาชีพสร้างโพสต์ในสื่อสังคมออนไลน์ หลอกให้มาร่วมสนุกตอบคำถามชิงรางวัล โดยเมื่อเหยื่อหลงเชื่อ ร่วมกิจกรรมและตอบคำถามถูกต้อง มิจฉาชีพจะส่งข้อความมาพูดคุยกับเหยื่อ เพื่อหลอกให้โอนเงินค่าภาษี หรือส่งข้อมูลส่วนบุคคลไปให้ โดยมักจะอ้างเหตุผล ดังนี้

  1. อ้างว่าต้องจ่ายค่าภาษี หรือค่าธรรมเนียมก่อนรับรางวัล หากหลงเชื่อโอนเงินไปแล้ว จะถูกบล็อกไม่สามารถติดต่อได้ในทันที
  2. อ้างว่าต้องส่งข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ข้อมูลบัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด เลขหลังบัตรประชาชน หมายเลขโทรศัพท์ และข้อมูลบัญชีธนาคาร เพื่อดำเนินการตรวจสอบก่อนรับรางวัล ซึ่งอาจก่อความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลได้
  3. จะมอบเงินรางวัลในรูปแบบของเครดิตในเว็บไซต์พนันออนไลน์ เพื่อหลอกล่อให้สมัครเข้าเล่นพนันออนไลน์ในเว็บไซต์ของมิจฉาชีพ

    ตำรวจสอบสวนกลาง จึงขอให้ประชาชนระมัดระวังโพสต์ หรือข้อความที่ชักชวนให้เล่นกิจกรรมลุ้นรับของรางวัล ควรดูความน่าเชื่อถือของผู้จัดกิจกรรมก่อนทุกครั้ง เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

ที่มา : ตำรวจสอบสวนกลาง

ระวัง : ข้อมูลส่วนบุคคลรั่ว เสี่ยงอะไรบ้าง

🔶 เสี่ยงถูกขโมยตัวตน หรือสวมรอยเป็นเรา เพื่อไปก่ออาชญากรรม หรือทำเรื่องผิดกฎหมาย
🔶 เสี่ยงถูกใช้ประโยชน์ โดยที่เราไม่ยินยอม เช่น นำไปใช้โฆษณาทางการตลาด
🔶 เสี่ยงถูกขายให้บุคคลที่ 3
🔶 เสี่ยงถูกนำไปสร้างความเดือดร้อนรำคาญ เช่น การส่ง SMS ก่อกวนมายังโทรศัพท์มือถือ หรืออีเมล
🔶 เสี่ยงถูกติดตาม สะกดรอย สอดแนม ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายได้

เพื่อเป็นการลดความเสี่ยง เราควรจะ
✅ คิดก่อนโพสต์ โดยคิดไว้เสมอว่า “ทุกสิ่งที่เราโพสต์หรือแชร์ไม่ได้เป็นเรื่องส่วนตัวอีกต่อไป” คนอื่นสามารถเห็นหรือส่งต่อได้
✅ ป้องกันตนเองด้วยการตั้งพาสเวิร์ดที่มั่นคง ปลอดภัย เช่น การใช้ MFA ยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัย (OTP, PIN) หรือ การใช้ 2FA การยืนยันตัวตน 2 ชั้น
✅ อ่านรายละเอียดให้ครบถ้วน ก่อนให้ข้อมูลส่วนบุคคลทุกครั้ง

ดังนั้น ก่อนที่เราจะเปิดเผย หรือให้ข้อมูลส่วนบุคคลแก่ผู้ใด เราควรที่จะคำนึงถึงความปลอดภัยก่อนทุกครั้ง เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นมาในภายหลัง

ที่มา : ตำรวจสอบสวนกลาง

ข่าวปลอม : อย่าแชร์ ! ขายหมูต้องนำหมูของซีพีมาขาย 50% ไม่อย่างนั้นจะผิดกฏหมาย

ตามที่มีการบอกต่อข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เรื่องขายหมูที่แผงตนเองตัวเอง 100% ถือว่าผิดกฎหมาย ต้องนำหมูของซีพีมาขาย 50% ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
กรมปศุสัตว์ ได้ชี้แจงว่าตามกฎหมายแล้วประชาชนสามารถเชือดหมูของตนเองเพื่อจำหน่ายได้ 100 % แต่ต้องทำที่โรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย โดยปัจจุบันกฎหมายที่กำกับดูแลการเชือดสัตว์เพื่อการจำหน่ายของประเทศไทย คือ พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 ซึ่งกำหนดให้การฆ่าสัตว์ต้องกระทำในโรงฆ่าสัตว์เท่านั้น ดังนั้น การเชือดสุกรเพื่อจำหน่ายที่บ้านตนเอง หรือสถานที่ไม่ใช่โรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับอนุญาตไม่ว่าสุกรนั้นจะเป็นสุกรที่เลี้ยงเองหรือว่าสุกรที่มาจากบริษัทจึงเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อกำกับดูแลเรื่องโรงฆ่าสัตว์เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค เนื่องจากโรงฆ่าสัตว์เป็นสถานที่ผลิตเนื้อสัตว์ก่อนจำหน่ายถึงผู้บริโภค จึงมีความจำเป็นที่ต้องกำกับดูแลให้สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของสัตว์มีชีวิต มีความสะอาดในกระบวนการผลิตและมีสวัสดิภาพสัตว์ และที่สำคัญต้องมีการตรวจสุขภาพสัตว์ก่อนฆ่าและเนื้อสัตว์หลังฆ่า โดยพนักงานตรวจโรคสัตว์ ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ หรือผู้ที่ได้รับการอบรมจากสัตวแพทยสภาหรือกรมปศุสัตว์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคระบาดจากสัตว์สู่คน (Zoonosis)

นอกจากนี้โรงฆ่าสัตว์ยังมีกฎหมายกำกับดูแลเพื่อป้องกันไม่ให้สร้างเหตุเดือดร้อนรำคาญให้แก่ประชาชนข้างเคียง เช่น พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พระราชบัญญัติผังเมือง เป็นต้น ทั้งนี้ เนื้อสัตว์ที่มาจากโรงฆ่าที่ไม่ได้รับอนุญาตนั้น จะไม่ทราบแหล่งที่มาของสัตว์ ไม่มีการตรวจสอบใดๆ ไม่ได้ผ่านการตรวจโรคมาก่อน และผ่านกระบวนการฆ่าสัตว์ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้มีความเสี่ยงที่เนื้อสัตว์ถูกชำแหละแล้วไปวางจำหน่ายให้กับผู้บริโภคปนเปื้อนเชื้อโรคสูง อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคระบาดที่สำคัญ หรืออันตรายจากสารตกค้าง เช่น สารเร่งเนื้อแดง ฮอร์โมน และยาปฏิชีวนะ เป็นต้น

โดยการฆ่าสัตว์นอกโรงฆ่าสัตว์มีความผิดตามมาตรา 15 แห่ง พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 คือประกอบกิจการฆ่าสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และยังมีโทษตามมาตรา 31 แห่ง พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 คือฆ่าสัตว์โดยไม่แจ้งการฆ่าต่อพนักงานท้องถิ่น ซึ่งมีโทษปรับตามรายตัวสุกร ตัวละไม่เกิน 2 หมื่นบาท

ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนเลือกซื้อเนื้อสัตว์ที่มาจากโรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับอนุญาตเพื่อเป็นการส่งเสริมโรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย โดยสามารถสังเกตตราสัญลักษณ์ปศุสัตว์ OK ซึ่งเป็นตราสัญลักณ์ที่กรมปศุสัตว์ให้การรับรองร้านจำหน่ายเนื้อสัตว์ว่านำเนื้อสัตว์มาจากโรงฆ่าสัตว์ที่ได้อนุญาตตามกฎหมาย

ที่มา : ศูนย์ต่อค้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 10 สิงหาคม 2565

ข่าวจริง : หากปล่อยที่ดินทิ้งร้างนานเกิน 10 ปี จะโดนรัฐบาลยึดคืน

ตามที่มีข้อมูลปรากฏในสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องหากปล่อยที่ดินทิ้งร้างนานเกิน 10 ปี จะโดนรัฐบาลยึดคืน ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

ตามมาตรา 6 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน บัญญัติว่านับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ ใช้บังคับบุคคลใดมีสิทธิในที่ดินตามโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หากบุคคลนั้นทอดทิ้ง ไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน หรือปล่อยที่ดินให้เป็นที่ร้างว่างเปล่าเกินกำหนดเวลาดังต่อไปนี้

สำหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน เกิน 10 ปีติดต่อกัน
สำหรับที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เกิน 5 ปีติดต่อกัน ให้ถือว่าเจตนาสละสิทธิในที่ดินเฉพาะส่วนที่ทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ หรือที่ปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า เมื่ออธิบดีได้ยื่นคำร้องต่อศาล และศาลได้สั่งเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินดังกล่าว ให้ที่ดินนั้นตกเป็นของรัฐเพื่อดำเนินการตามประมวลกฎหมายนี้ต่อไป ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้วางระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินที่ถูกทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าให้ตกเป็นของรัฐ พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2522 ว่าการพิจารณาว่าที่ดินแปลงใดมีผู้ทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าให้พิจารณาถึงการทำประโยชน์ เพียงแต่ล้อมรั้วหรือเสียภาษีบำรุงท้องที่ แต่ไม่ทำประโยชน์ ย่อมถือว่าเป็นการทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า สำหรับที่ดินซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านหรือในเมือง แม้จะยังไม่ได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยแต่เจ้าของยังมีเจตนาถือเพื่อตนอยู่ ก็ให้ถือว่าที่ดินนั้นเป็นที่ดินที่ได้ทำประโยชน์แล้วโดยสภาพ

ซึ่งภายในเดือนมกราคมของทุกปีจังหวัดจะสำรวจว่ามีที่ดินแปลงใดบ้างที่มีผู้ทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าเกินกำหนดเวลา 10 ปีติดต่อกัน สำหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน หรือ 5 ปีติดต่อกันสำหรับที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และรายงานกระทรวงมหาดไทยทราบ ซึ่งก่อนส่งเรื่องให้กระทรวงมหาดไทยจะมีขั้นตอนการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้

จังหวัดหรืออำเภอจะทำหนังสือแจ้งให้เจ้าของที่ดินที่ทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า จัดการหรือเร่งรัดให้มีการทำประโยชน์ภายในเวลา 3 เตือนนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง เมื่อครบกำหนดแล้วยังไม่จัดการให้มีการทำประโยชน์ให้จังหวัดตั้งกรรมการเพื่อพิจารณาว่ามีการทอดทิ้ง ไม่ทำประโยชน์ในที่ดินหรือปล่อยที่ดินให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าเกินกำหนดเวลาจริงหรือไม่เพียงใด

เมื่อคณะกรรมการมีความเห็นว่ามีการทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน หรือปล่อยที่ดินให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าเกินกำหนดเวลาจริง ให้จังหวัดทำความเห็นส่งกรมที่ตินเพื่อพิจารณาดำเนินการส่งเรื่องให้อัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งเพิกถอนหนังสือแสตงสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวให้ตกเป็นของรัฐต่อไป

ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมที่ดิน สามารถติดตามได้ที่ www.dol.go.th หรือโทร. 02 1415555

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

เตือนภัย : ปลอมเพจกรมการขนส่ง หลอกทำใบขับขี่ออนไลน์ ไม่ต้องสอบ

ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องเพจกรมการขนส่ง รับทำใบขับขี่ออนไลน์ ไม่ต้องสอบและอบรม ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีผู้โพสต์ข้อความผ่านสื่อสังคมออนไลน์ว่าเพจกรมการขนส่ง รับทำใบขับขี่ออนไลน์ ไม่ต้องสอบและอบรม ทางกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าปัจจุบันมีกลุ่มมิจฉาชีพแอบอ้างว่า รับทำและจัดหาใบอนุญาตขับรถบนโลกออนไลน์ โดยไม่ต้องอบรมหรือทดสอบ เพียงแค่จ่ายเงินก็รอรับใบอนุญาตขับรถที่บ้านได้เลย ซึ่งไม่เป็นความจริง อย่าหลงเชื่อ สำหรับการขอรับใบอนุญาตขับรถทุกชนิดมีมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ คือ ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถต้องดำเนินการด้วยตนเองทุกขั้นตอนที่สำนักงานขนส่ง ตั้งแต่การตรวจสอบเอกสาร การทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย การอบรม การทดสอบข้อเขียน การทดสอบขับรถ และการถ่ายรูปเพื่อออกใบอนุญาตขับรถ ดังนั้น หากพบเห็นการโฆษณารับทำใบอนุญาตขับรถ โดยไม่ต้องมีขั้นตอนการอบรมหรือทดสอบ ขอให้สันนิษฐานว่าเป็นมิจฉาชีพ และอย่าหลงเชื่อโอนเงินไปให้กลุ่มมิจฉาชีพโดยเด็ดขาด ซึ่งขณะนี้กรมการขนส่งทางบกได้ให้เจ้าหน้าที่รวบรวมหลักฐานเพื่อดำเนินการแจ้งความดำเนินคดี กับมิจฉาชีพที่มีพฤติกรรมดังกล่าว

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม อย่าแชร์! กินแล้วนอน ทำให้เสี่ยงเกิดโรคมะเร็งหลอดเลือด

ตามที่ได้มีข้อมูลปรากฏในสื่อออนไลน์ในประเด็นเรื่องกินแล้วนอน ทำให้เสี่ยงเกิดโรคมะเร็งหลอดเลือด ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีการเผยแพร่ข้อมูลว่าหากกินแล้วนอนบ่อย ๆ ทำให้เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งหลอดเลือดนั้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สืบค้นข้อมูลและชี้แจงว่ายังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันแน่ชัดว่าการกินแล้วนอนเสี่ยงเกิดเป็นโรคมะเร็งหลอดเลือด ซึ่งพฤติกรรมกินแล้วนอน เป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายด้าน โดยเฉพาะอาการแสบร้อนกลางอกและอาการกรดไหลย้อน


อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้เกิดจากภาวะที่หูรูดบริเวณส่วนปลายของหลอดอาหาร (Lower Esophageal Sphincter – LES) ทำงานผิดปกติ ทำให้กรดหรือน้ำย่อยภายในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในบริเวณหลอดอาหาร ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองและอักเสบเรื้อรังบริเวณหลอดอาหารและบริเวณกล่องเสียงได้ นอกจากนี้ พฤติกรรมกินแล้วนอนอาจส่งผลให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคนอนไม่หลับ โรคอ้วน เป็นต้น จึงควรปรับพฤติกรรมโดยเว้นระยะเวลาการรับประทานอาหารและการนอนให้ห่างกันอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง

ดังนั้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจาก กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.anamai.moph.go.th หรือโทร. 02 5904000

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

เตือนภัย : “พัสดุตกค้าง” ยังมีคนตกเป็นเหยื่อ

ตำรวจโซเบอร์ แจ้งเตือนประชาชน ระวังตกเป็นเหยื่อโดนแจ้งพัสดุตกค้าง โดยแจ้งรายละเอียดกลโกงว่า คนร้ายจะแอบอ้างว่าเป็นตัวแทนจากไปรษณีย์ไทยแจ้งไปยังผู้ใช้บริการว่า มีพัสดุตกค้างและให้กด 9 เพื่อรับรายละเอียดเพิ่มเติม โดยให้แจ้งชื่อ ที่อยู่ และเลขที่บัตรประชาชน พร้อมให้โอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร (บัญชีม้า) เพื่อนำพัสดุออกจากที่ทำการไปรษณีย์ ตำรวจไซเบอร์ได้รับการยืนยันจากบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ว่า “ไปรษณีย์ไทย” จะไม่โทรแจ้งและมีระบบให้กด 9 และไม่มีนโยบายการเรียกเก็บเงินผ่านบัญชีธนาคารเพื่อนำ “พัสดุตกค้าง” ออกจากที่ทำการไปรษณีย์ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น

👉สำหรับมาตรการการรับสิ่งของที่ฝากส่งทางไปรษณีย์นั้น หากพบว่าผู้รับปลายทางไม่อยู่บ้าน หรือสิ่งของที่ฝากส่งไม่สามารถนำจ่ายได้ เจ้าหน้าที่นำจ่ายจะออก
“ใบแจ้งให้มารับสิ่งของ” ณ ที่ทำการไปรษณีย์ ซึ่งรองรับสำหรับผู้ใช้บริการที่ฝากส่งสิ่งของในไปรษณียภัณฑ์แบบมีหลักฐานเท่านั้น เช่น บริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษในประเทศ (EMS) บริการส่งด่วนทั่วโลก (EMS World) บริการไปรษณีย์ลงทะเบียน เป็นต้น โดยเอกสารดังกล่าวจะระบุรายละเอียดการขอรับไปรษณียภัณฑ์ดังนี้ สาเหตุที่ “ไปรษณีย์ไทย” ไม่สามารถนำจ่าย “พัสดุตกค้าง” ได้ หมายเลขสิ่งของจำนวน 13 หลัก ประเภทของไปรษณียภัณฑ์ วัน – เวลาที่เจ้าหน้าที่ไปนำจ่าย และวัน – เวลาที่ประชาชนสามารถไปติดต่อขอรับได้ ณ ที่ทำการฯ อย่างชัดเจน

✅หากผู้ใช้บริการมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ THP Contact Center 1545 หรือที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศ

ที่มา : เพจตำรวจไซเบอร์ PCT Police


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 9 สิงหาคม 2565

ข่าวปลอม : ทานเนื้อวัว นมวัวประจำ เลือดมักเป็นกรด จะทำให้เชื้อไวรัสโควิด 19 เจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นด้านสุขภาพเรื่องทานเนื้อวัว นมวัวประจำ เลือดมักเป็นกรด จะทำให้เชื้อไวรัสโควิด 19 เจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีการเผยแพร่ข้อมูลว่าผู้ที่ทานเนื้อวัว นมวัวเป็นประจำทำให้เลือดในร่างกายเป็นกรด ซึ่งเมื่อเจอกับเชื้อไวรัสโควิด 19 ทำให้เชื้อเติบโตได้เป็นอย่างดีนั้น ทางสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่าความเป็นกรดด่างของเลือด ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายด้วยการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียว ระบบการทำงานร่างกายจะมีกลไกการควบคุมอวัยวะในร่างกายให้ทำงานได้ตามปกติ การกินอาหารที่เป็นกรดหรือด่าง จึงไม่สามารถที่จะลดหรือทำลายไวรัสโควิดในร่างกายได้

โดยข้อมูลข้างต้นไม่เป็นความจริง และทำให้เกิดความเข้าใจผิดในการรับประทานอาหาร เนื้อวัวและนมวัว ซึ่งควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย ปริมาณ สัดส่วนที่เหมาะสม มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน เพียงพอ มีสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ผู้บริโภค ต้องรู้ 4 วิธี ชาร์จแบตมือถือให้ปลอดภัย

  1. ผู้บริโภคควรเลือกใช้ตัวแท่นชาร์จ (อแดปเตอร์) หรือ สายชาร์จที่ได้มาตรฐาน
  2. ผู้บริโภคอย่าใช้ตัวแท่นชาร์จ (อแดปเตอร์) หรือ สายชาร์จ ที่เปียกน้ำ
  3. ผู้บริโภคไม่ควรเล่นมือถือระหว่างชาร์จ
  4. ผู้บริโภคไม่ควรชาร์จแบตมือถือใกล้ตัวเวลานอน

ที่มา : การไฟฟ้านครหลวง

ข่าวปลอม อย่าแชร์! 5 ประเทศในอาเซียนรวมไทย ยกเลิกใช้เงินดอลลาร์ในการชำระเงินระหว่างประเทศ เริ่มวันที่ 1 พ.ย. 65

ตามที่มีข้อมูลปรากฏในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง 5 ประเทศในอาเซียนรวมไทย ยกเลิกใช้เงินดอลลาร์ในการชำระเงินระหว่างประเทศ เริ่มวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีผู้โพสต์ระบุว่า 5 ประเทศในอาเซียนรวมไทย ยกเลิกใช้เงินดอลลาร์ในการชำระเงินระหว่างประเทศ เริ่มวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 ทางธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง ชี้แจงว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง เนื่องจากประเทศในอาเซียนมีการพัฒนาระบบการชำระเงินด้วย QR Code ร่วมกัน เป็นการเพิ่มทางเลือกและความสะดวกในการชำระเงินระหว่างประเทศมากขึ้น ไม่เกี่ยวข้องกับการยกเลิกใช้ดอลลาร์แต่อย่างใด
ดังนั้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.bot.or.th หรือโทร. 02 283 5353

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 8 สิงหาคม 2565

ข่าวปลอม : หลอกกู้ด่วนบนเพจสินเชื่อธนาคารออมสินปลอม

ตามที่มีข้อมูลปรากฏเกี่ยวกับประเด็นเรื่องเพจสินเชื่อธนาคารออมสินเป็นเพจสินเชื่อทางการของธนาคารออมสิน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยธนาคารออมสิน กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีนี้ ธนาคารออมสิน ชี้แจงว่าเพจเฟซบุ๊กดังกล่าวไม่ได้เป็นของธนาคารออมสิน และธนาคารไม่มีเพจเฟซบุ๊กสำหรับการให้ยื่นขอสินเชื่อแต่อย่างใด สำหรับเพจดังกล่าวโพสต์ข้อความเชิญชวนกู้เงินด่วนและโน้มน้าวด้วยการอนุมัติเร็ว พร้อมกับวางลิงก์ไว้เพื่อให้ง่ายต่อการกดเข้าไปใช้บริการเงินกู้ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังใช้ตราสัญลักษณ์ ภาพสื่อโฆษณา และภาพอดีตผู้บริหารของธนาคารออมสินมาประกอบเพื่อสร้างความน่าเชื่อถืออีกด้วย ถือว่าอันตรายต่อประชาชนอย่างยิ่งที่อาจถูกหลอกลวง ซึ่งไม่ทราบว่าเพจดังกล่าวมีเจตนาใด และประชาชนอาจตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

ดังนั้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือประชาชนให้งดแชร์หรือส่งต่อข้อมูลที่เป็นเท็จไปในช่องทางสื่อโซเชียลต่าง ๆ หากมีข้อสงสัยข้อมูลเกี่ยวผลิตภัณฑ์ธนาคารออมสิน โปรดสอบถาม GSB Contact Center โทร.1115

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวจริง : รพ. กทม. เปิดช่องทางลงทะเบียนรับยาผู้ป่วยโควิด 19 ทุกสิทธิการรักษา ผ่าน QR Code

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เปิดช่องทางการลงทะเบียนรับยาผู้ป่วยโควิด 19 ผ่านทาง QR Code เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการมารับยาที่โรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อลดความแออัด ลดการรอคอยในขณะที่มารับยาที่โรงพยาบาล สำหรับผู้ป่วยโควิด 19 ทุกสิทธิการรักษา ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3Q3JL2G

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข้อควรระวัง ! ในโลกออนไลน์

ตำรวจไซเบอร์เตือน 5 ข้อควรระวังของโจรในโลกออนไลน์❌

  1. ปลอมเป็นเพื่อน ขโมยรหัสผู้ใช้งาน และสวมรอยติดต่อเพื่อน และหลอกว่าเดือดร้อนให้โอนเงินด่วน
  2. มัลแวร์ หลอกให้คลิกลิงก์หรือดาวน์โหลดโปรแกรมที่แฝงมัลแวร์เพื่อขโมยข้อมูลของเหยื่อ
  3. ร้านค้าปลอม หลอกขายสินค้าออนไลน์เพื่อให้เหยื่อโอนเงิน
  4. เว็บไซต์ปลอม ส่งอีเมลแนบลิงก์ปลอมที่คล้ายกับของธนาคารจริง เพื่อหลอกเอาข้อมูลต่าง ๆ ของเหยื่อ
  5. หลอกให้รัก โดยจะโอนเงินให้ก่อนแต่หลอกให้เหยื่อโอนกลับ

ที่มา : เพจตำรวจไซเบอร์ PCT POLICE


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 7 สิงหาคม 2565

ข่าวปลอม : หลอกขายหน่วยลงทุน AOT หน่วยละ 1,050 บาท

ตามที่มีการโฆษณาเกี่ยวกับการเงินในสื่อออนไลน์ประเด็นเรื่องบริษัท ท่าอากาศยานไทย (AOT) เปิดให้ลงทุนหน่วยละ 1,050 บาท ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยธนาคารกรุงไทย พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ทอท. กระทรวงคมนาคม ชี้แจงเพิ่มเติมว่าทางบริษัท ไม่ได้โฆษณาเชิญชวนให้มีการลงทุนเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวแต่อย่างใด

ดังนั้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ทอท. กระทรวงคมนาคม สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.mot.go.th/index.html หรือโทร. 0 2283 3000

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

เตือนภัย : ควันไฟจากสาเหตุไฟไหม้เป็นอันตรายต่อชีวิต

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า จากข่าวไฟไหม้ผับแห่งหนึ่งที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นเหตุเตือนใจให้ประชาชนที่ไปเที่ยวควรระวังและมีความรู้ในการป้องกันตัวให้เพียงพอ สิ่งหนึ่งที่ควรทำเวลาไปสถานที่ใด ๆ คือต้องหาทางหนีไฟว่าอยู่บริเวณใด แต่ยังมีสิ่งอื่น ๆ ที่ทำได้อีกเช่น ถ้าเกิดไฟไหม้ในอาคารปิด และเราอยู่ในห้องอย่าเปิดประตูเข้าไปเลย ลองเอามืออังดูก่อนว่าประตูร้อนหรือไม่ ซึ่งแสดงว่ามีไฟไหม้หลังประตูนั้น ถ้ารู้สึกร้อนหาทางออกอื่น ถ้าไม่มีทางออกให้ปิดรูรอบ ๆประตูและทางระบายอากาศที่มีอยู่ ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำเปียกมาอุดช่องใต้ประตูเพื่อไม่ให้ควันไฟเข้า ถ้ารู้สึกหายใจลำบาก ให้ก้มตัวต่ำลง เพราะบริเวณด้านล่างจะมีออกซิเจนมากกว่า และอย่าตกใจ พยายามหายใจสั้น ๆ เพราะจะเอาก๊าซพิษเข้าไปน้อยกว่า

นายแพทย์เกรียงไกร นามไธสง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี เปิดเผยว่า ควันจากไฟไหม้ ประกอบด้วยคาร์บอนมอนออกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ และอนุภาค (PM หรือเขม่า) ซึ่งประกอบด้วยสารเคมีต่าง ๆ ควันไฟมีสารเคมีหลายชนิด เช่น อัลดีไฮด์ ก๊าซที่มีคุณสมบัติเป็นกรด ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ โพลีซัยคลิก อโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (PAHs) เบนซีน โทลูอีน สไตรีน โลหะ และไดออกซิน ซึ่งเกิดจากโฟม สี หรือวัสดุต่าง ๆ ที่ถูกเผาไหม้

ถ้าหายใจควันไฟเป็นจำนวนมาก จะต้องไม่ออกแรงมาก โดยเฉพาะในคนที่ไม่แข็งแรงอยู่แล้ว เช่น คนที่มีโรคประจำตัว เป็นโรคหัวใจหรือทางเดินหายใจจะทำให้หัวใจและปอดทำงานมากขึ้น ส่วนใหญ่ประชาชนที่ติดอยู่ในสถานที่ซึ่งเกิดไฟไหม้จะมีความตื่นตระหนก และพยายามวิ่งหนี โดยเฉพาะถ้าไฟดับก็จะทำให้ยิ่งตื่นตระหนก ทำให้หายใจเร็วขึ้น ทำให้ยิ่งหายใจก๊าซพิษเข้าไปมากขึ้น การหายใจควันไฟในระยะแรกจะเกิดผลเฉียบพลัน โดยควันจะระคายเคืองตา จมูก คอ และกลิ่น จะทำให้คลื่นไส้ ปอดทำงานลดลง ทำให้ออกซิเจนในร่างกายน้อยลง มีสาร 2 ชนิดในควันไฟที่มีผลต่อสุขภาพมาก คือ ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์และอนุภาคขนาดเล็ก ๆ เช่น PM2.5 หรือ อนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า ซึ่งมองด้วยตาไม่เห็น เมื่อหายใจคาร์บอนมอนออกไซด์เข้าไป ร่างกายจะใช้ออกซิเจนไม่ได้ ทำให้เกิดอาการขาดออกซิเจน ได้แก่ ปวดศีรษะ ลดความตื่นตัว และทำให้เกิดอาการของหลอดเลือดหัวใจ เช่น เจ็บหน้าอก นอกจากนี้ อนุภาคยังเข้าไปยังทางเดินหายใจโดยตรง ทำให้ไอ หายใจลำบาก และทำให้คนที่เป็นโรคมีอาการรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะคนที่ไปเที่ยวผับ บาร์ จะสูบบุหรี่ ทำให้สมรรถภาพปอดเลวลงอีก เมื่อหนีออกมาได้ อาการก็จะลดล งแต่จะยังคงอยู่อีก 2-3 วัน คนที่ติดอยู่ภายในและหายใจควันไฟมาก ๆ ก็จะทำให้ขาดออกซิเจน และอาจหมดสติ ถ้าช่วยออกมาไม่ได้ก็จะถึงแก่กรรมในสถานที่นั้น ข้อปฏิบัติของคนที่หนีออกมาจากผับได้คือต้องเฝ้าระวังตนเองว่ามีอาการหายใจผิดปกติหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจควรมาตรวจร่างกาย

นอกจากประชาชนแล้วยังมีผู้ได้รับผลกระทบจากควันไฟอีก ได้แก่ พนักงานดับเพลิงและหน่วยกู้ภัย ซึ่งต้องเข้าไปดับเพลิงบ่อย ๆ ทำให้หายใจเข้าไปซ้ำ ๆ กัน ทั้งนี้ ควันไฟที่เห็นก็อันตราย แต่ส่วนที่อันตรายกว่าคือ อนุภาค (PM) ที่มองไม่เห็น การเข้าไปดับเพลิงแม้ในระยะสั้นบ่อย ๆ ก็จะทำให้เกิดผลต่อสุขภาพระยะยาวได้ เช่น ในพนักงานดับเพลิงอาจจะเกิดมะเร็ง โรคปอด และโรคของหัวใจและหลอดเลือด

ที่มา : กรมการแพทย์

ข่าวปลอม : อย่าเชื่อข้อมูลพบ อสม. เสียชีวิตเดือนละ 600 ราย จากการฉีดวัคซีนโควิด 19

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลสุขภาพในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องพบ อสม. เสียชีวิตเดือนละ 600 ราย จากการเป็นตัวอย่างฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีนี้ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ชี้แจงว่าการกล่าวอ้างจากแหล่งข่าวว่าเกิดจากการฉีดวัคซีนนั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด และเรื่องการเสียชีวิตของ อสม. ทั่วประเทศ เกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันไป ส่วนใหญ่เกิดจากการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ เช่น โรคชรา อุบัติเหตุ เป็นต้น

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 6 สิงหาคม 2565

เตือนภัย : ระวังเว็บไซต์แอบอ้างจากกระทรวงการคลัง หลังตรวจสอบพบมีเว็บไซด์กระทรวงการคลังปลอม ‼️

กระทรวงการคลังเตือนภัยประชาชน ระวังโดนหลอกเข้าเว็บไซต์กระทรวงการคลังปลอม โดยเว็บไซต์ปลอมนี้ ใช้ชื่อโดเมนว่า “https://acwc9.com/” ซึ่งเป็นการเลียนแบบ/ปลอมเว็บไซต์ หรือฟิชชิง (Phishing) ที่มาในรูปแบบของการปลอมหน้าเว็บไซต์กระทรวงการคลัง

รวมถึงการปลอมอีเมลของกระทรวงการคลัง และพบการร้องเรียนจากประชาชนผ่านเพจ เฟซบุ๊ก กระทรวงการคลัง (https://www.facebook.com/MoFNewsStationThailand) ว่ามีการหลอกลวงทางแอปพลิเคชันไลน์เพื่อให้ประชาชนกดลิงก์ เข้าสู่เว็บไซด์กระทรวงการคลังปลอมดังกล่าว โดยอ้างว่าการยื่นภาษีมีปัญหา หรือมีการค้างชำระ

ข้อสังเกตของเว็บไซต์กระทรวงการคลังปลอมดังกล่าวมีจุดสังเกตดังนี้

  1. URL ของเว็บไซต์กระทรวงการคลังปลอม https://acwc9.com แตกต่างจากเว็บไซต์กระทรวงการคลังของจริง https://www.mof.go.th/
  2. มีปุ่มให้ Download ทางด้านขวาบน ซึ่งไม่ควรคลิกเข้าไปเด็ดขาด เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการโดนขโมยข้อมูล และการโจมตีทางไซเบอร์
  3. ไฟล์ดาวน์โหลดดังกล่าวเป็นไฟล์นามสกุล APK หรือเป็น ไฟล์ android application ซึ่งจะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น หากกดผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android)
  4. เว็บไซต์กระทรวงการคลังปลอมจะไม่ Update ข้อมูลแบบ real time ซึ่งแตกต่างจากเว็บไซต์จริงที่จะมีการ update ข้อมูลอยู่ตลอดเวลา

ที่มา : เพจตำรวจไซเบอร์ PCT Police

เตือนภัย : อย่าซื้อยาไม่มี อย.อาจเสี่ยงกับสุขภาพ

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย. ) ย้ำ ประชาชนควรรับยาจากช่องทางที่ถูกกฎหมาย ผ่านการนำเข้าหรือผลิตยาจากผู้รับอนุญาตเท่านั้น เพื่อยืนยันความปลอดภัย อย่าซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ ลดความเสี่ยงได้รับยาปลอมหรือยาที่ไม่มีคุณภาพ ปัจจุบัน อย. อนุมัติทะเบียนยาที่ใช้รักษาโควิด-19 ให้แก่ผู้รับอนุญาตหลายราย ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นบริษัทเอกชน

ที่มา : เพจ อย. FDA Thai


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 5 สิงหาคม 2565

ข่าวบิดเบือน : 8 อาการ บ่งบอกเสี่ยงเป็นไซนัสอักเสบ

จากที่มีการบอกต่อเกี่ยวกับ 8 อาการ บ่งบอกเสี่ยงเป็นไซนัสอักเสบนั้น กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า ผู้อ่านควรปรึกษาแพทย์หากมีอาการดังกล่าว อย่าเพิ่งปักใจเชื่อทุกข้อความ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3bro9hV

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม : กรุงไทยปล่อยกู้ 100,000 ผ่อนนาน 2 ปี ผ่านไลน์ สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

จากที่มีโฆษณาด้านการเงินเกี่ยวกับกรณีกรุงไทยปล่อยกู้ 100,000 บาท ผ่อนนาน 2 ปี ผ่านไลน์ สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เรื่องข้างต้นนั้น ทางธนาคารกรุงไทย ชี้แจงว่าธนาคารยังไม่มีนโยบายปล่อยสินเชื่อสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแต่อย่างใด

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3Slncbk

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 4 สิงหาคม 2565

เตือนภัย : ธนาคารกรุงไทย ปล่อยกู้ง่าย ๆ ผ่าน ตู้ ATM

ตามที่มีกระแสบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นธนาคารกรุงไทยใจดีปล่อยให้กู้สินเชื่อง่าย ๆ ผ่านตู้ ATM ช่วยเหลือวงเงินสูงถึง 30,000 บาทนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับ ธนาคารกรุงไทย ระบุว่า กรุงไทยไม่มีการปล่อยให้กู้สินเชื่อผ่านตู้ ATM ตามที่มีกระแสกล่าวอ้างกันบนโลกออนไลน์

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3Slngb2

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม : อาการเตือนการติดเชื้อโควิด 19 แบบวันต่อวันจากกระทรวงสาธารณสุข

จากกรณีที่มีการบอกต่อถึงกรณีที่ กระทรวงสาธารณสุขแจ้งอาการเตือนการติดเชื้อโควิด 19 แบบวันต่อวันนั้น สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่าเป็นการนำข่าวปลอมเดิมกลับมาปรับแต่งแล้วแชร์ใหม่ โดยกระทรวงสาธารณสุขไม่ได้เป็นผู้ให้ข้อมูลดังกล่าว อีกทั้งปัจจุบันการระบาดส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์โอมิครอน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3SngxgN

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 3 สิงหาคม 2565

ข่าวปลอม : งดใช้ตู้ ATM ที่ไม่มีไฟกะพริบตรงที่เสียบบัตร เสี่ยงโดนแฮ็กข้อมูล

จากกรณีที่มีการส่งต่อข้อความงดใช้ตู้ ATM ที่ไม่มีไฟกะพริบตรงที่เสียบบัตร เสี่ยงโดนแฮ็กข้อมูล ธนาคารกรุงไทย ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นจริง โดยระบบตู้ ATM ของธนาคารมีความปลอดภัยสูง และมีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการคัดลอกข้อมูล ประกอบกับบัตรเดบิตของธนาคารที่เป็นบัตรชิปการ์ดทั้งหมด มีระบบป้องกันการคัดลอกข้อมูล

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3Slngb2

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ผู้บริโภค ต้องรู้ 4 วิธี ทำธุรกรรมออนไลน์อย่างปลอดภัย

  1. ผู้บริโภคไม่ควรตั้งรหัสที่คาดเดาง่าย เช่น วันเดือนปีเกิด เบอร์โทรศัพท์
  2. ผู้บริโภคไม่ควรตอบอีเมล หรือข้อความ ที่ไม่รู้จัก
  3. ผู้บริโภคไม่ควรป้อนรหัสผ่าน ผ่านลิงก์หน้าเว็บไซต์ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ
  4. ผู้บริโภคห้ามส่งรหัสผ่านหรือแชร์รหัสผ่านให้กับใคร

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 2 สิงหาคม 2565

ข่าวปลอม : สถานีกลางบางซื่อนำวัคซีนโมเดอร์นาหมดอายุมาฉีดให้ประชาชน

จากกรณีที่มีการบอกต่อในเรื่องการนำวัคซีนโมเดอร์นาหมดอายุมาฉีดให้ประชาชนที่สถานีกลางบางซื่อนั้น

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่าบริษัทผู้ผลิตวัคซีนโมเดอร์นาประกาศแจ้งปรับขยายวันหมดอายุใหม่ จาก 7 เดือน เป็น 9 เดือน โดยการขยายอายุนี้เป็นไปตามหลักวิชาการ ข้อกำหนดตามมาตรฐานการวิเคราะห์ยา ไม่ได้ส่งผลกระทบถึงคุณภาพวัคซีนแต่อย่างใด และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอนุมัติขยายอายุวัคซีนโมเดอร์นาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ :  https://bit.ly/3zgtD6V

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม : 9 สัญญาณ เตือนโรคไทรอยด์เป็นพิษ

จากกรณีที่มีการส่งต่อข้อความเรื่อง 9 สัญญาณเตือนโรคไทรอยด์เป็นพิษนั้น โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงข้อเท็จจริงว่าอาการไทรอยด์เป็นพิษต้องรับการตรวจเลือดไทรอยด์เพื่อยืนยันว่าเป็นโรคหรือไม่ ซึ่งไม่ได้อาศัยอาการใด อาการหนึ่งเท่านั้น การรักษาต้องพบแพทย์เพื่อที่จะได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง และต้องได้รับการติดตามอาการและผลการตรวจเลือดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการรักษามีหลายวิธี

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3Q4TO7e

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 1 สิงหาคม 2565

เตือนภัย : ก่อนสแกน QR Code ตรวจสอบก่อน ‼️

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยประชาชน ระมัดระวังการสแกนคิวอาร์โค้ด (QRCode) โดยเตือนว่าการสแกนคิวอาร์โค้ด อาจทำให้เงินในบัญชีถูกโอนไปให้กับคนร้ายได้

โดยแจ้งว่า

1. QR Code ดังกล่าว นำไปสู่หน้าเว็บไซต์ธนาคารปลอมเพื่อหลอกเอาข้อมูลชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านในการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง (Internet Banking) ทำให้คนร้ายสามารถทำธุรกรรมทุกอย่างโดยเฉพาะการถอนเงิน โอนเงินจากบัญชีเหยื่อได้

2. QR Code ดังกล่าว เป็น QR Code รับโอนเงินเข้าบัญชีคนร้าย แต่คนร้ายจะหลอกว่าให้เหยื่อสแกน เพื่อจะโอนเงินค่าสินค้าหรือบริการคืนให้กับเหยื่อ

3. QR Code ดังกล่าว นำไปสู่หน้าเว็บไซต์เพื่อดาวน์โหลดมัลแวร์ หรือไวรัสคอมพิวเตอร์ หากไม่ดูให้ดีแล้วดาวน์โหลดไฟล์มาติดตั้งในเครื่องก็อาจทำให้เสี่ยงต่อการถูกขโมยข้อมูล บัญชีผู้ใช้งาน หรือรหัสผ่านได้

จึงเตือนภัยมาว่า ต้องตรวจสอบดี ๆ ก่อนถึงความน่าเชื่อถือ หรือที่มาของ QR Code ก่อนการสแกน

ที่มา : เพจตำรวจไซเบอร์ PCT POLICE

รู้หรือไม่ เชื้อโควิด19 อยู่ได้นานแค่ไหน

  • อยู่ในละอองน้ำมูก เสมหะ น้ำลาย น้ำตาและอากาศได้ 5 นาที
  • อยู่ในน้ำได้ 4 วัน
  • อยู่บนวัสดุ เช่น พื้น โต๊ะ ลูกบิดประตู ได้ 7-8 ชั่วโมง
  • อยู่บนโต๊ะ พื้นเรียบได้ 24-48 ชั่วโมง
  • อยู่ในผ้า กระดาษทิชชู ได้ 8-12 ชั่วโมง
  • อยู่บนตู้เย็นที่มีอุณหภูมิต่ำว่า 4 องศาเซลเซียสอาจอยู่ได้ถึง 1 เดือน

ดังนั้น ให้ทุกคนยึดมาตรการ DMHTT คือ สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสโควิด19

ที่มา : กรมควบคุมโรค

#สภาองค์กรของผู้บริโภค #ผู้บริโภค