หน่วยประจำจังหวัดร้อยเอ็ดของสภาองค์กรของผู้บริโภคเปิดยอดผู้บริโภคที่ได้รับการช่วยเหลือตลอด 1 ปี เกือบ 300 ราย พบปัญหายา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สินค้าออนไลน์ เอสเอ็มเอส เป็นต้น โดยมีผู้บริโภคชาวร้อยเอ็ดร้องเรียนมากที่สุด
อาภรณ์ อาทะโส หัวหน้าหน่วยประจำจังหวัดร้อยเอ็ด สภาองค์กรของผู้บริโภค เปิดเผยรายงานการรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผู้บริโภค ในระยะ 1 ปี (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – เดือนกรกฎาคม 2565) ว่ามีจำนวนผู้ร้องเรียนทั้งหมด 289 ราย
โดยประเภทของปัญหาที่ได้รับร้องเรียนมากที่สุด ได้แก่ ด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีจำนวนผู้จ้องเรียน 121 ราย ซึ่งมีทั้งปัญหา ผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากร้านค้าในชุมชนจัดจำหน่ายยาปฏิชีวะนะ ที่สร้างผลกระทบด้านสุขภาพต่อผู้บริโภค และการเฝ้าระวังทางแอปพลิเคชัน Lazada และ Shopee ซึ่งจำหน่ายสินค้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ยกเลิกเลขสาระบบแล้ว
รองลงมา เป็นประเด็นด้านสื่อและโทรคมนาคม จำนวน 62 ราย โดยพบปัญหาข้อความเอสเอ็มเอสจากมิจฉาชีพใช้ข้อความลวง ประเด็นเงินกู้ การพนันออนไลน์ และแก๊งคอลเซนเตอร์อ้างสินค้าตกค้าง ที่ไปรษณีย์ เป็นต้น และอันดับที่ 3 ได้แก่ ด้านสินค้าและบริการทั่วไป มีผู้ร้องเรียนจำนวน 60 ราย ประเด็นปัญหาที่พบ คือ ได้รับสินค้นไม่ตรงปก สินค้าออนไลน์ที่ไม่ได้แจ้งราคา รวมทั้ง การบริการของร้านอาหาร และบริษัทขนส่ง ทำให้สินค้าชำรุด
หัวหน้าหน่วยประจำจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวถึงแนวทางการจัดการปัญหาผู้บริโภคว่า สำหรับปัญหาเรื่องอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ หน่วยฯ มีการเฝ้าระวัง และนำข้อมูลส่งไปยังสาธารณะสุขจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อดำเนินการตรวจสอบ
และ มีการนำข้อมูลจากการสำรวจร้านค้าในชุมชนที่จัดจำหน่ายยาปฏิชีวะนะมาประชุมกับคณะทำงานบูรณาการจังหวัดเพื่อกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนระดับจังหวัด เพื่อเสนอต่อ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด และกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะโดย มีภาคีความร่วมมือในระดับพื้นที่ คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล / องค์การบริหารส่วนตำบล / กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค และเภสัชสาธารณสุขระดับอำเภอ (คบส.) / อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
ส่วนประเด็นปัญหาสื่อและโทรคมนาคม มีการประสานงานเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาไปยังคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในส่วนปัญหาด้านสินค้าและบริการทั่วไป มีการให้คำแนะนำ วิธีการ รวบรวมหลักฐานเพื่อแจ้งความที่สถานีตำรวจ มีการแจ้งเตือนภัย ในเพจ และในกลุ่มไลน์ แนะนำผู้ เพื่อเฝ้าระวัง สินค้าออนไลน์ในเพจต่างๆ และมีการใช้รวบรวมข้อมูล หลักฐาน เพื่อประสานงานไปยังสำนักงานพานิชย์จังหวัด เพื่อให้ข้อมูล เครือข่ายผู้บริโภคในพื้นที่
ทั้งนี้ รายงานสรุปสถานการณ์ปัญหาการรับเรื่องร้องเรียน ปี 2565 จะนำไปขับเคลื่อนงานคุ้มผู้บริโภคในปีหน้าต่อไป
หากผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อสินค้า และบริการสามารถแจ้งได้ที่ หน่วยประจำจังหวัดร้อยเอ็ด เลขที่ 687 หมู่ 16 ต.รอบเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด 45000 | โทรศัพท์ : 080-015-9440