สภาองค์กรของผู้บริโภค ลงพื้นที่สนับสนุนการทำงาน ‘เครือข่ายองค์กรของผู้บริโภคภาคอีสาน’

สภาองค์กรของผู้บริโภค ลงพื้นที่สนับสนุนการทำงาน ‘เครือข่ายองค์กรของผู้บริโภคภาคอีสาน’ สร้างความร่วมมือหน่วยงานรัฐ – วางแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ เพื่อพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภค

วันที่ 25 – 27 สิงหาคม 2565 สภาองค์กรของผู้บริโภค ลงพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อสนับสนุนการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคขององค์กรสมาชิกและองค์กรผู้บริโภคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีการจัดเวทีเสวนา “เส้นทางการทำงานผู้บริโภค และความท้าทายในการคุ้มครองผู้บริโภคยุคดิจิทัล” เพื่อแลกเปลี่ยนการทำงานหาแนวทางความร่วมมือในการคุ้มครองผู้บริโภค ระหว่างองค์กรผู้บริโภค หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรภาคประชาชนอื่น ๆ ทั้งยังมีการประชุมสมาชิกสภาองค์กรของผู้บริโภค พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อแลกเปลี่ยนปัญหา ประสบการณ์การทำงานในพื้นที่ และร่วมกันหาแนวทางการแก้ไขปัญหา ยกระดับงานคุ้มครองผู้บริโภค

วันที่ 25 สิงหาคม 2565 คณะกรรมการนโยบาย สภาองค์กรของผู้บริโภค เดินทางไปยังสำนักงานของหน่วยงานประจำจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อหารือและเยี่ยมชมการทำงาน โดยองค์กรผู้บริโภคในพื้นที่ได้นำเสนอต้นแบบ ‘โครงการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค’ จำนวน 3 โครงการที่ได้รับงบสนับสนุนจากสภาองค์กรของผู้บริโภค มีทั้งโครงการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนน โครงการเฝ้าระวังและการจัดการยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่เหมาะสม เพื่อแก้ปัญหายาชุดในพื้นที่ และโครงการเฝ้าระวังและเตือนภัยสินค้าออนไลน์

จากนั้นเป็นการนำเสนอผลงานการคุ้มครองผู้บริโภคของหน่วยงานประจำจังหวัด อาภรณ์ อะทาโส หัวหน้าหน่วยงานประจำจังหวัดร้อยเอ็ด สภาองค์กรของผู้บริโภค ระบุว่า หน่วยงานประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนและแก้ไขปัญหา ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ เตือนภัยแก่ผู้บริโภค โดยมีการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกับหน่วยงานรัฐในจังหวัด นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่สนับสนุนองค์กรผู้บริโภคภายในจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดใกล้เคียงด้วย

จากนั้นเป็นการนำเสนอผลงานการคุ้มครองผู้บริโภคของหน่วยงานประจำจังหวัด อาภรณ์ อะทาโส หัวหน้าหน่วยงานประจำจังหวัดร้อยเอ็ด สภาองค์กรของผู้บริโภค ระบุว่า หน่วยงานประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนและแก้ไขปัญหา ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ เตือนภัยแก่ผู้บริโภค โดยมีการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกับหน่วยงานรัฐในจังหวัด นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่สนับสนุนองค์กรผู้บริโภคภายในจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดใกล้เคียงด้วย

สำหรับผลงานการรับเรื่องร้องเรียนและแก้ไขปัญหาผู้บริโภค ของหน่วยงานประจำจังหวัดร้อยเอ็ด อาภรณ์ ระบุว่า ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ได้รับเรื่องร้องเรียนจำนวนทั้งสิ้น 201 เรื่อง ดำเนินการแก้ไขปัญหาจนแล้วเสร็จ 186 เรื่อง และอยู่ระหว่างดำเนินการอีก 15 เรื่อง โดยเรื่องร้องเรียนที่หน่วยฯ ได้รับก็มีหลากหลาย ทั้งปัญหาสินค้าแพง ปัญหาเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย เช่น ผู้บริโภคไม่ได้รับมัดจำหอพักคืน ปัญหาระบบขนส่งมวลชน เช่น กรณีช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียหายจากอุบัติเหตุรถทัวร์ ทั้งนี้ คนที่เข้ามาร้องเรียนมีทั้งผู้บริโภคในจังหวัดร้อยเอ็ด รวมถึงจังหวัดอื่น ๆ ในภาคอีสานด้วย


ส่วน วันที่ 26 สิงหาคม 2565 สภาองค์กรของผู้บริโภคผู้บริโภค (สอบ.) ได้จัดเวทีประชุมสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคในการทำงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเวทีเสวนา ‘เส้นทางการทำงานผู้บริโภค และความท้าทายในการคุ้มครองผู้บริโภคยุคดิจิทัล’ โดยผู้เข้าร่วมเวทีมีทั้งผู้บริโภค หน่วยงานภาครัฐ และนักวิชาการ ซึ่งสะท้อนปัญหาไปในทิศทางเดียวกันว่า นอกจากความรู้ความเข้าใจในเรื่องดิจิทัลแล้ว ความรวดเร็วก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่เปิดช่องให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบและการฉ้อโกงรูปแบบใหม่ ๆ ที่เฝ้าระวังและจัดการได้ยากขึ้น

ผู้บริโภคสามารถอ่านข่าวเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ในเวทีเสวนาได้ที่ เวทีภาคอีสานเห็นพ้อง งานคุ้มครองผู้บริโภคต้องรวดเร็ว – ทันที – ไร้รอยต่อ หรือติดตามรายละเอียดเวทีเสวนาได้ใน เฟซบุ๊กไลฟ์ เวทีเสวนา “เส้นทางการทำงานผู้บริโภค และความท้าทายในการคุ้มครองผู้บริโภคยุคดิจิทัล”


และ วันที่ 27 สิงหาคม 2565 หน่วยงานประจำจังหวัดร้อยเอ็ด และสมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นหน่วยงานเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสภาองค์กรของผู้บริโภค ได้ร่วมกันจัดการประชุมสมาชิกของสภาองค์กรของผู้บริโภค พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อสะท้อนปัญหาและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ โดยมีตัวแทนองค์กรของผู้บริโภค 80 องค์กร จาก 20 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าร่วมการประชุม

สำหรับประเด็นที่ถูกหยิกยกขึ้นมาพูดคุยในเวทีนั้น จะเป็นการวางแนวทางในการทำงานร่วมกันซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยองค์กรส่วนใหญ่มองไปในทิศทางเดียวกันว่า สิ่งสำคัญที่จะส่งผลให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น คือการสร้างให้ความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนัก ให้ผู้บริโภครวมถึงคนที่ทำงานด้านนี้ให้เห็นความสำคัญของการคุ้มครองผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่องการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภคที่ครอบคลุม และสามารถจัดการแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วมากขึ้น

#สภาองค์กรของผู้บริโภค #ผู้บริโภค