![](https://www.tcc.or.th/wp-content/uploads/2025/02/11022025_TCC-News-Law-Full-02-1200x675.png)
ผศ. ปริญญา ทวงถาม คำพิพากษาฉบับเต็ม กรณีระหว่าง อ. พิรงรอง และทรูไอดี หลังจากศาลมีคำสั่งจำคุกสองปีโดยไม่รอลงอาญา ทั้งที่เป็นการทำงานเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมตั้งคำถามต่อขบวนการยุติธรรมของประเทศ
จากกรณีที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้มีคำพิพากษาลงโทษ กสทช. พิรงรอง รามสูต มีความผิดในมาตรา 157 โดยให้จำคุกสองปีโดยไม่รอลงอาญา นั้น
ผศ. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล นักวิชาการด้านกฏหมายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสำนักข่าวไทยพีบีเอสว่า เห็นว่ากรณีนี้ทำให้เกิดข้อกังขาในประชาชนหลายกลุมรวมทั่งตนเอง ว่าการทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคจะมีความผิดถึงขนาดที่ต้องมีการลงโทษติดคุกสองปีโดยไม่รอลงอาญาได้อย่างไร ซึ่งคำตอบเหล่านั้นจะมีได้ต่อเมื่อได้มีการนำคำพิพากษาฉบับเต็มที่จะมีการรายงานรายละเอียดต่อคำให้การของพยานและหลักฐานที่เกิดขึ้นในศาล มาวิเคราะห์ว่า เหตุใดศาลจึงเชื่อว่าจำเลยมีความผิดขั้นรุนแรงและการลงโทษสมน้ำสมเนื้อกับความผิดหรือไม่ แต่เหตุใดเมื่อมีการพิพากษาจบแล้ว แต่คำพิพากษาฉบับเต็มยังไม่สามารถนำออกมาให้สังคมได้รับรู้ถึงขบวนการในศาลต่อคดีนี้
“ตามปกติหลังจากที่ได้มีการพิพากษาที่จบไปแล้ว คำพิพากษาฉบับเต็มควรต้องออกมาพร้อมกับการพิพากษา” อ.ปริญญากล่าว “แต่นี่ผ่านมาหลายวันแล้ว คำพิพากษาฉบับเต็มยังไม่ออกมา ผมคิดว่าระบบในกระบวนการของเรามีอะไรบางอย่างที่ต้องตั้งคำถาม ยิ่งคดีอาญามีโทษจำคุกแปลว่าทุกอย่างจบหมดแล้ว เป็นสิ่งที่พิพากษาไปแล้วไม่ใช่พิพากษาก่อนค่อยมาเขียนคำพิพากษทีหลัง” อ.ปริญญาตั้งข้อสังเกต
ข้อสังเกตต่อมา คือประเด็นหนังสือแจ้งเตือนที่กสทช.นำส่งต่อผู้รับใบอนุญาติกรณีทรูไอดีนำเอาเนื้อหาไปใช้และมีการแทรกโฆษณาทำให้ผู้บริโภคนำเรื่องมาร้องเรียนต่อกสทช. ซึ่งต่อมากลายเป็นหลักฐานสำคัญที่โจทย์นำมาใช่ในการฟ้องร้องว่า เป็นการทำให้บริษัททรูเสียหายนั้น อ.ปริญญากล่าวว่า “แปลว่าในข้อเท็จจริงจะต้องมีพยานหลักฐานที่ทำให้ศาลเชื่อได้อย่างไร ซึ่งผมรออ่านอยู่ แต่ดูเหมือนว่าศาลจะฟังน้ำหนักของพยานโจทย์มาก แสดงว่าพยานโจทย์ต้องมีน้ำหนักมาก”
อ.ปริญญาชี้เพิ่มเติมว่าหนังสือฉบับนี้ไม่ได้ลงนามโดยกสทช.พิรงรอง แต่เป็นการลงนามโดยรักษาการเลขาธิการกสทช. ซึ่งต่อมาได้ให้คำให้การว่าเป็นคำสั่งของกสทช.พิรงรอง ซึ่งแปลว่าศาลต้องได้ข้อเท็จจริงที่เชื่อได้เป็นเช่นนั้นจริง “อะไรที่ศาลทำให้เชื่อว่ารองเลขาธิการถูกกสทช.พิรงรองสั่งจริง”
อีกประเด็นหนึ่งที่ปรากฏในเอกสารข่าวของคดีนี้ คือประเด็นการทำรายงานการประชุมเท็จ ซึ่งประเด็นนี้ อ.ปริญญากล่าวว่า ตามหลักการประชุม จะมีคนบันทึกการประชุม และมีการนำเสนอบันทึกนั้นในการประชุมครั้งต่อไป เพื่อตรวจทานเพื่อให้เป็นไปตามขั้นตอนการประชุมหรือไม่ “ตรงนี้ ผมสงสัยว่ามีการนำสืบกันอย่างไรจึงกลายมาเป็นการทำรายงานเท็จ“
ประเด็นถัดมาคือมีการพูดในที่ประชุม อ.ปริญญาเห็นว่าการพูดนั้นไม่ใช่เอกสารด้วยซ้ำแต่เป็นคำพูด “อะไรที่ทำให้ศาลรับฟังว่าจำเลยมีเจตนาทุจริต” อ.ปริญญาเห็นว่าต่อให้การกระทำนั้นเป็นเจตนาที่จะกลั่นแกล้งจริง แต่ความเสียหายเกิดขึ้นได้ขนาดไหนจากคำพูดและจากหนังสือฉบับเดียวได้จริงหรือไม่ เมื่อศาลได้สั่งลงโทษจำคุกกสทช. พิรงรองสองปีโดยไม่รอลงอาญา จึงได้เกิดคำถามในสังคมที่ว่า ความผิดกับการลงโทษได้สัดส่วนกันหรือไม่ โดยอ.ปริญญาเน้นว่า ทั้งหมดนี้ต้องรอดูฉบับเต็มที่ที่ควรจะออกมาแล้ว
ในทางกฏหมาย ความผิดในมาตรา 157 จะมีองค์ประกอบสองประการคือ หนึ่ง มีการใช้อำนาจโดยมิชอบ สอง โดยเจตนาทุจริต หรือมิชอบ อ.ปริญญากล่าว “แต่ในเอกสารข่าวยังไม่มีชัดเจนเพียงพอ”
หากมีคำพิพากษาฉบับเต็มจะทำให้สาธารณะชนที่เฝ้าดูอยู่ได้ทราบถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนพิจารณาในศาลได้อย่างชัดเจน