ข่าวผู้บริโภค
ดูทั้งหมด >>ปักธง! วันสิทธิผู้บริโภคสากล 68 ชง 7 นโยบายคุ้มครองผู้บริโภค ยั่งยืนและเป็นธรรม
Copayment ร่วมจ่าย 30-50% กระทบเด็ก-คนแก่
ลดอุบัติเหตุเป็นศูนย์ ! รถนักเรียน “ต้องปลอดภัย”
แผ่นดินไหว ห้องพักร้าว ผู้เช่ายกเลิกสัญญาได้ หากไม่ปลอดภัย
ผนึกกำลัง ระบบแจ้งเตือนภัย อาหาร-ยา-ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
Copayment ร่วมจ่าย 30-50% กระทบเด็ก-คนแก่
ผนึกกำลังร่วม ETDA คุมเข้มแพลตฟอร์มดิจิทัล ปกป้องสิทธิผู้บริโภค
หยุด กสทช. ประมูลคลื่นความถี่ ก่อนรับฟังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ข้อเสนอนโยบายคุ้มครองผู้บริโภค
ดูทั้งหมด >>- 1. เป็นนโยบาย
- 2. วางแผน
- 3. ติดตามใน
- 4. ดำเนินงาน
- 5. ประเมินผล
ข้อเสนอล่าสุด
ดูทั้งหมด >>
เหตุการณ์แผ่นดินไหวเปิดช่องโหว่อาคารสูง สภาผู้บริโภคเผยผู้เช่าเลิกสัญญาได้หากไม่ปลอดภัย แนะเช็กสิทธิผู้บริโภคหลังตึกร้าว จากกรณีเกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 68 โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเมียนมา ขนาด 8.2 แมกนิจูด ลึก 10 กิโลเมตร แรงสั่นสะเทือนส่งผลให้บางอาคารสูงและคอนโดมิเนียมในไทยได้รับความเสียหาย บางแห่งปรากฏรอยร้าวที่อาจส่งผลต่อโครงสร้างและความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย สิทธิของผู้เช่าเมื่อเกิดความเสียหายจากแผ่นดินไหว วันที่ 3 เมษายน 68 โสภณ หนูรัตน์ หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค สภาผู้บริโภค ให้ข้อมูลว่า ผู้เช่าสามารถบอกเลิกสัญญาเช่าได้ในกรณีที่เหตุการณ์แผ่นดินไหวทำให้ห้องเช่าไม่มีสภาพความอยู่อาศัย ไม่สามารถใช้งานได้ รวมถึงกรณีที่ผู้ให้เช่าไม่สามารถรับรองความปลอดภัยในห้องเช่านั้นได้ ผู้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญา และได้เงินมัดจำคืน ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2562 โดยต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงไม่น้อยกว่า 30 วัน ซึ่งประกาศนี้จะหมายถึง ห้องพัก บ้าน อาคารชุด อพาร์ตเม้นท์ หรือสถานที่พักอาศัย ที่เรียกชื่ออื่น ที่จัดขึ้นสำหรับการให้เช่าเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย แต่ไม่รวมถึงหอพัก และโรงแรม สิ่งที่ควรระวังในสัญญาเช่า โสภณ ให้ข้อมูลสำหรับผู้เช่าเพิ่มเติมว่า นอกจากรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจ ผู้เช่า และทรัพย์สินที่ให้เช่าแล้วในสัญญาเช่า ผู้ประกอบธุรกิจต้องส่งใบแจ้งหนี้ พร้อมจัดทำหลักฐานการตรวจรับสภาพอาคาร และรายละเอียดที่ห้ามระบุลงในสัญญาเช่า คือ ข้อสัญญาที่กำหนดให้ผู้เช่าต้องรับผิดในความเสียหายต่ออาคาร ทรัพย์สิน และอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ ในเหตุที่ใช่ความผิดของผู้เช่า และในเหตุสุดวิสัย เช่น เหตุจากภัยธรรมชาติ อย่างแผ่นดินไหว สิทธิของผู้ซื้อคอนโดที่ได้รับความเสียหาย ส่วนกรณีผู้ซื้อนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ หากยังอยู่ในระยะเวลาตรวจคอนโดก่อนโอนกรรมสิทธิ์ สามารถปฏิเสธได้ ที่จะรับโอนห้องและขอเงินคืน แต่หากเป็นกรณีเข้าอยู่อาศัยแล้วจะไม่สามารถยกเลิกสัญญาได้...

การคุ้มครองผู้บริโภคเป็นภารกิจที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เพื่อสร้างระบบที่เข้มแข็งและสามารถตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ หนึ่งในตัวอย่างที่โดดเด่นคือการดำเนินงานของหน่วยงานประจำจังหวัดสตูล สภาองค์กรของผู้บริโภค ภายใต้การนำของ นางสาวอนัญญา แสะหลี หรือ “พี่รมณ์” หัวหน้าหน่วยงานประจำจังหวัดสตูล ซึ่งได้ทุ่มเทและผลักดันให้เกิดเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคที่มีความแข็งแกร่ง ด้วยแนวทางการทำงานที่อาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย บทความนี้จะพาไปสำรวจหลักแนวคิดสำคัญ 6 ข้อที่เป็นหัวใจของความสำเร็จ 1. วางแผนและมีเป้าหมายร่วมกัน จุดเริ่มต้นของการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคของจังหวัดสตูล คือ การหยิบยกปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่มานำเสนอให้ผู้บริโภคได้รับรู้และสามารถรับมือกับปัญหาเหล่านั้นได้ รวมถึงยังมีการแนะนำแนวทางการคุ้มครองตัวเองในฐานะผู้บริโภคให้กับคนในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น การนำเสนอปัญหาการใส่สีในใบชาสำหรับชงดื่ม ซึ่งหากใส่สีเกินเกณฑ์ที่กำหนดจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค หรือการเตือนผู้บริโภคเกี่ยวกับปัญหาของเครื่องสำอางที่มีสารอันตรายปนเปื้อน เป็นต้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 พี่รมณ์เริ่มสร้างเครือข่ายในการคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัด จนถึงทุกวันนี้มีเครือข่ายครอบคลุมทั้ง 7 อำเภอ พี่รมณ์เล่าว่าการสร้างเครือข่ายเป็นสิ่งที่ไม่ง่าย แต่การที่เราจะทำให้เครือข่ายเข้มแข็งและยั่งยืนนั้นเป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่า การทำงานวางแผนร่วมกันจึงเป็นแนวทางหลักที่พี่รมณ์ดำเนินการมาตลอด โดยคำนึงถึงประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคในจังหวัดสตูล แต่ละเดือนหน่วยงานประจำจังหวัดสตูลจะวางแผนกิจกรรมล่วงหน้าและเปิดโอกาสให้สมาชิกกำหนดเป้าหมายร่วมกัน เพื่อให้เครือข่ายได้เตรียมความพร้อมและหากเครือข่ายต้องการจัดกิจกรรมที่ต้องใช้งบประมาณ ทางหน่วยงานจะให้นำเสนอและช่วยวางแผนให้กิจกรรมดำเนินงานได้อย่างเหมาะสม 2. สร้างพันธมิตร ขยายขอบเขตการทำงาน ตัวอย่างความร่วมมือที่เห็นผลชัดเจน คือ การทำงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) จังหวัดสตูล ซึ่งมีการดำเนินงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความเชื่อมั่นระหว่างหน่วยงาน และสามารถประสานงานได้อย่างราบรื่น ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นนี้ไม่เพียงช่วยให้ทั้งสองฝ่ายสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังเอื้อต่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวทางการทำงานที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับทั้งสองหน่วยงานอีกด้วย และล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา หน่วยงานประจำจังหวัดสตูลได้จัดเวทีความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในบทบาทและความสำคัญของการคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค รวมถึงการพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคที่ยั่งยืนในระดับท้องถิ่น เวทีนี้ยังมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือระหว่าง อปท. หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง และภาคประชาสังคมในการร่วมกันจัดการปัญหาคุ้มครองผู้บริโภคในท้องถิ่น ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ที่มอบหมายให้รักษาการท้องถิ่นเป็นประธานกล่าวเปิดงาน งานดังกล่าวได้รับความสนใจจากผู้บริหารท้องถิ่นกว่า 40 แห่ง รวมถึงนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี และนายกอบต. ที่ร่วมเข้าร่วมในกิจกรรม นอกจากนี้ยังมีการเสวนาที่มีนางสุภาพร ถิ่นวัฒนากูล รองเลขาธิการสำนักงานฯ...

สภาผู้บริโภค ชี้ กกพ. ควรแสดงจุดยืน โดยการ ลดค่า Ft สำหรับงวดเดือน พฤษภาคม – สิงหาคม 2568 ลง 17 สตางค์ ให้ประชาชนใช้ไฟฟ้าในราคาที่เป็นธรรม และผลัดดันโซลาร์ภาคประชาชน จากกรณีที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ประกาศตรึงค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (ค่า Ft) สำหรับงวดเดือน พฤษภาคม – สิงหาคม 2568 และล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบกรอบราคาค่าไฟเป้าหมายที่ 3.99 บาทต่อหน่วย แต่ยังไม่มีมติอนุมัติให้ปรับลดค่าไฟฟ้า ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยยังคงอยู่ที่ 4.15 บาท/หน่วย นั้น (อ่านรายละเอียดได้ที่ : กกพ. ไม่ลดค่า Ft เข้าหน้าร้อนค่าไฟยังคงที่ 4.15 บาท , เปิดมติ ลดค่าไฟ 3.99 บาท ครม.ยังไม่อนุมัติแค่รับทราบราคาเป้าหมาย) ล่าสุด รสนา โตสิตระกูล กรรมการนโยบายสภาผู้บริโภค ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านบริการสาธารณะ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กกพ. ควรดำเนินการตามขอบเขตอำนาจที่ทำได้เพื่อทำให้ราคาค่าไฟฟ้ามีความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น และแสดงจุดยืนตามข้อเสนอที่เคยเสนอไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน* ผ่านการ ลดค่า Ft สำหรับงวดเดือน พฤษภาคม – สิงหาคม 2568 ลง 17 สตางค์ต่อหน่วยซึ่งจะส่งผลให้ค่าไฟ้ฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.98 บาทต่อหน่วย โดยแก้ไขประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง กรอบหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าไฟฟ้า (Electric Tariff...

สภาผู้บริโภค แนะ กสทช. เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเฉพาะกลุ่มให้รอบด้านก่อน ประมูลคลื่นความถี่ รอบใหม่ พร้อมเสนอให้เพิ่มเงื่อนไขด้านการเตือนภัยพิบัติในใบอนุญาต หวั่นการประมูลกระทบการแข่งขันและสิทธิผู้บริโภค วันที่ 1 เมษายน 2568 สภาผู้บริโภคยื่นหนังสือต่อประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อเรียกร้องให้มีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเฉพาะกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงทุกกลุ่ม ก่อนเปิด ประมูลคลื่นความถี่ สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่ในย่านความถี่ 850 MHz, 1500 MHz, 1800 MHz, 2100 MHz, 2300 MHz และ 26 GHz ซึ่งปัจจุบัน กสทช. อยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม ถึง 4 เมษายน 2568 สุภิญญา กลางณรงค์ ประธานคณะอนุกรรมการด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาผู้บริโภค กล่าวว่าประเด็นสำคัญประการที่สภาผู้บริโภคจะนำไปเสนอต่อ กสทช. ในงานเวทีรับฟังความคิดเห็นคือข้อเสนอให้ระบุเงื่อนไขการเตือนภัยพิบัติ ให้เป็นข้อบังคับในใบอนุญาตการใช้คลื่นความถี่ โดยต้องมีการสำรองคลื่นเพื่อรองรับเหตุฉุกเฉิน และกำหนดมาตรการด้านเทคนิคที่ชัดเจน เพื่อให้โครงข่ายโทรคมนาคมสามารถรับมือกับภัยพิบัติในยุค 6G ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข่าวที่เกี่ยวข้อง ก่อนประมูลคลื่นความถี่ จี้ กสทช. ฟังเสียงประชาชน ยื่น กสทช. เบรกประมูลคลื่นความถี่ หวั่นตกในมือรายใหญ่ ไร้หลักประกันผู้บริโภค ประธานคณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารฯ สภาผู้บริโภค ยังแสดงความกังวลว่าการ ประมูลคลื่นความถี่ ครั้งนี้อาจไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะเมื่อเหลือผู้ให้บริการรายใหญ่เพียงสองราย ได้แก่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)...
อินโฟกราฟิก
ดูทั้งหมด >>วีดีโอ
ดูทั้งหมด >>ตั้งธนาคารหน่วยกิต เปิดองค์ความรู้ใหม่ให้การศึกษาไทย
สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการกล่าวว่ากระทรวงศึกษาธิการเปิดธนาคารหน่วยกิตเพื่อให้สถานศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ นำเอาองค์ความรู้เข้ามาเพิ่มเติมในการศึกษาของไทย ทั้งนี้ทางกระทรวงศึกษาธิการพยายามลดภาระงานของครูตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้ครูได้มีเวลาสอนเด็กและพัฒนาตนเองมากขึ้น โดยทางกระทรวงพยายามให้ระบบมีความเสถียรและอยู่ในขั้นตอนปรับลดตัวชี้วัดที่ไม่เป็นจำเป็นและเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา นอกจากนี้มีการแนะแนวให้เด็กได้ค้นหาตัวเองได้รวดเร็วขึ้นและการดูแลสุขภาวะโดยรวมของเด็กในสถานศึกษา #ผู้บริโภค #สภาผู้บริโภค #สภาองค์กรของผู้บริโภค#การศึกษา #ประเทศไทย #นักเรียน #การศึกษาไทย
พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติยังไม่ทันโลก
เทวินฏฐ์ อัครศิลาชัย เลขาธิการสมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย ตั้งคำถาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ ที่กำลังจะเสนอให้สภาผู้แทนราษฏรเข้าพิจารณา ยังไม่ทันโลก และ ตัดหัวใจการศึกษาของภาคประชาชนออกไป…
พ.ร.บ.การศึกษาต้องให้สิทธิผู้เรียน -กระจายอำนาจ
พรรคก้าวไกล เตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติโดยมีเนื้อหาให้ควาสำคัญกับ สิทธิผู้เรียน และสิทธิผู้จัดการการเรียนการสอน พริษฐ์ วัชรสินธุ โฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวว่า ร่าง…